np
คุณ ปราณี p ประไพวัชรพันธ์

ปราณี ประไพวัชรพันธ์


แนวคิดครอบครัวอยู่ดีมีสุข
แนวคิด ครอบครัวอยู่ดีมีสุข             ครอบครัวอยู่ดีมีสุข หมายถึง สภาพครอบครัวพี่พึงประสงค์อันเกิดจากการรวมตัวในรูปแบบที่หลากหลายของบุคคลที่มาดำเนินชีวิตร่วมกันอย่างมีจุดหมาย สามารถทำบทบาทหน้าที่ได้อย่างเหมาะสมและรักษาสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน พึ่งพาตนเองได้อย่างต่อเนื่อง สามารถปรับตัวได้อย่าง สร้างสรรค์ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคม และเป็นส่วนหนึ่งที่เกื้อกูลสังคมอย่างมีคุณธรรม จากกรอบแนวคิดดังกล่าวได้จำแนกองค์ประกอบของครอบครัวอยู่ดีมีสุขเป็น 5 ด้าน ได้แก่                        1) รูปแบบครอบครัว หมายถึง ลักษณะโครงสร้างที่มีความหลากหลายของการรวมตัวของสมาชิกที่มีจุดหมายในการสร้างครอบครัวร่วมกัน                2) บทบาทหน้าที่ของครอบครัว หมายถึง การทำหน้าที่ของครอบครัวที่จะดูแลความต้องการ และพัฒนาคุณภาพของสมาชิกอย่างเป็นองค์รวม ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจ ด้านความเป็นอยู่ทั้งร่างกายและจิตใจด้านการพัฒนา ปลูกฝังความเป็นมนุษย์ที่ดี เป็นแหล่งที่เอื้อต่อการเรียนรู้และถ่ายทอดวัฒนธรรม                3) สัมพันธภาพในครอบครัว หมายถึง การเกี่ยวข้องปฏิสัมพันธ์ของสมาชิกในครอบครัวที่เพิ่มความผูกพัน เคารพรักและเอื้ออาทรต่อกัน ซึ่งประเมินได้จากพฤติกรรม การสื่อความหมายมีส่วนร่วมปรึกษาหารือ ตัดสินใจ และทำกิจกรรมในบรรยากาศที่สงบสุข                4) การพึ่งพาตนเอง หมายถึง ความสามารถของครอบครัวที่อยู่รอดโครงสร้างทำหน้าที่และรักษาสัมพันธภาพที่ดี โดยสมาชิกทั้งหญิงและชายช่วยกันปรับตัวในกระแสสังคมที่เปลี่ยนแปลง ซึ่งประเมินได้จากการดูแลตนเองได้ทางด้านเศรษฐกิจการจัดการชีวิตความเป็นอยู่สุขภาพ การเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร และบริการทางสังคม

                5) การเกื้อกูลสังคมอย่างมีคุณธรรม หมายถึง การมีส่วนร่วมของครอบครัวในกิจกรรมที่สร้างสรรค์ และ/หรือช่วยเหลือสังคม โดยไม่เป็นผู้ก่อให้เกิดความเดือดร้อน หรือสร้างปัญหาสังคม

 
คำสำคัญ (Tags): #สม.4
หมายเลขบันทึก: 76183เขียนเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2007 05:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท