การประเมินทักษะทางภาษา (6)


แนวคิดและความสำคัญของการประเมินทางภาษา ในการจัดการเรียนการสอนภาษาตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร

กรอบแนวคิดในการทดสอบสมรรถภาพในการสื่อสาร (Communication Competence)  มีประเด็นที่เป็นกรอบแนวคิด  ในการทดสอบสมรรถภาพในการสื่อสารที่ครูผู้สอนควรรู้  และควรทำความเข้าใจหลายเรื่อง 

ประเด็นต่างๆได้แก่   การทดสอบสมรรถภาพในการสื่อสาร ซึ่งท่านสนใจและอ่านได้ในบันทึกนี้ค่ะ การประเมินทักษะทางภาษา (5)

คราวนี้ในบันทึกนี้  ครูอ้อยจะกล่าวถึง  เกณฑ์ในการสร้างแบบทดสอบสมรรถภาพในการสื่อสาร  ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าสนใจและครูผู้สอนหลายๆท่านยังไม่เคยจัดทำค่ะ  มาเรียนรู้ไปพร้อมๆกับครูอ้อยนะคะ 

การทดสอบสมรรถภาพในการสื่อสาร  จำเป็นต้องมีเกณฑ์ที่รัดกุม ต้องมีการทดสอบสมรรถภาพ  ด้านไวยากรณ์และด้านประพจน์  ด้านภาษาศาสตร์สังคม  และด้านวิธีการใช้คำพูดเฉพาะตน  พอๆกับสมรรถภาพด้านยุทธศาสตร์  มีรายละเอียด  ดังนี้ค่ะ 

1.  เริ่มต้น จากหลักการ (Principles)  แบบทดสอบควรสร้างจากความรู้และหลักการที่มีอยู่  นั่นคือ  ต้องยึดกรอบตามทฤษฎี 

2.  มุ่งเน้นที่เนื้อหา (Content)  แบบทดสอบจำเป็นต้องมีเนื้อหาน่าสนใจ  จูงใจและมีสาระ  แบบทดสอบที่มุ่งเน้นเนื้อหา  ต้องบูรณาการและทำให้เกิดปฏิสัมพันธ์การบูรณาการเป็นการสร้าง  " บริบท "  หรือ  " สถานการณ์ "  ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของการสื่อสาร   และโดยการขอความคิดเห็น  และแสดงความคิดเห็นของตนเอง  ซึ่งจะทำให้เกิดการปฏิสัมพันธ์ 

3.  มุ่งสู่การปฏิบัติที่ดีที่สุด  (Bias for best)  แบบทดสอบต้องสามารถดึงเอาการปฏิบัติจริงที่ดีที่สุดออกมาจากตัวผู้เรียนให้ได้  ผู้เรียนจะสามารถทำได้ดีที่สุด  เท่าที่จะทำได้  ถ้าความกระวนกระวายของนักเรียนลดลง  หรือ  ถ้ามีเวลามากพอที่จะทำภาระงานให้เสร็จสมบูรณ์  รวมทั้งถ้ามีความรู้สึกว่า  สามารถประสบความสำเร็จได้จริง เสนอแนะว่า  นักเรียนจะปฏิบัติได้ดีที่สุด  ถ้าแบบทดสอบแบ่งออกเป็น 4 ตอน  ดังนี้

-  Warm Up  เป็นช่วงที่ทำให้นักเรียนคุ้นเคยกับลักษณะของข้อทดสอบ

-  Level check  เป็นช่วงที่ทำให้ครูมั่นใจว่า  ตรงกับประเด็นที่ตั้งไว้

-  Probe  เป็นช่วงที่ทำให้เกิดความแน่ใจในขีดจำกัดของข้อความสามารถของคน  โดยใช้ข้อสอบที่ยากและท้าทาย

-  Wind down  เป็นช่วงที่นักเรียนผ่อนคลาย  ด้วยคำถามที่ง่ายขึ้น 

4.  เป็นการสะท้อนผลย้อนกลับ (Washback)  แบบทดสอบต้องมีผลสะท้อนต่อการสอนในชั้นเรียน  เราสามารถใช้แบบทดสอบเป็นเครื่องมือการสอนได้  และขณะเดียวกัน  ก็เป็นเครื่องมือสะท้อนย้อนกลับไปให้นักเรียนปรับปรุงสมรรถภาพการสื่อสาร ครูอ้อยกำลังศึกษาอยู่  และคิดว่าจะทดลองใช้ในปีการศึกษาหน้า  ภาคเรียนที่1 

หมายเลขบันทึก: 75438เขียนเมื่อ 31 มกราคม 2007 06:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 พฤษภาคม 2014 15:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
แวะมาทักทายค่ะ  Communication Competence  ได้แก่  Principles   Content   Bias for best   Washback
น่าสนใจมาก...และก็ต้องนำไปใช้แน่ๆเร็วๆนี้
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท