มะเขือ(เทศ)ไม่พอ ขอเพิ่มบรอกโคลี


เราๆ ท่านๆ คงไม่อยากให้ตัวเอง หรือคนที่เรารักเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก ซึ่งเป็นมะเร็งที่พบบ่อยมากในผู้ชายอายุยืน วันนี้มีข่าวดีสำหรับท่านที่ชอบมะเขือเทศ และบรอกโคลีครับ…

Hiker

เราๆ ท่านๆ คงไม่อยากให้ตัวเอง หรือคนที่เรารักเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก ซึ่งเป็นมะเร็งที่พบบ่อยมากในผู้ชายอายุยืน

วันนี้มีข่าวดีสำหรับท่านที่ชอบมะเขือเทศ และบรอกโคลีครับ…

อาจารย์คริสที คานีน-อะดัมส์ นักศึกษาปริญญาเอก มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ และคณะทำการทดลองในหนูพบว่า

การกินพืชผักหลายชนิดผสมผสานกัน เช่น มะเขือเทศ + บรอกโคลี ดีกว่าการผักชนิดเดียว และดีกว่าผงสกัดไลโคพีน (สารพฤกษเคมีสีแดงในมะเขือเทศ) ฯลฯ

อาจารย์ท่านแบ่งหนูเป็นกลุ่มย่อยๆ เช่น หนูบางกลุ่มถูกตอนเป็นหนูขันที (ตัดอัณฑะ – บาปจัง) เพื่อลดปริมาณฮอร์โมนเพศชาย ซึ่งมีส่วนทำให้ต่อมลูกหมาก และมะเร็งต่อมลูกหมากโต

หนูบางกลุ่มถูกป้อนยาต้านฮอร์โมนเพศชาย (ฟินาสเทอไรด์) ฯลฯ

ท่านแบ่งหนูเหล่านี้เป็นกลุ่มย่อยๆ

  • บางกลุ่มให้สารสกัดไลโคพีน (สารพฤกษเคมีสีแดงในมะเขือเทศ)
  • บางกลุ่มให้ผงมะเขือเทศ หรือผงบรอกโคลีอย่างเดียว
  • บางกลุ่มให้ผงมะเขือเทศ และผงบรอกโคลีพร้อมๆ กัน

หลังจากนั้นฉีดเนื้องอกเข้าไปในตัวหนู (บาปอีกแล้ว) และติดตามผล ซึ่งเข้าใจว่า คงจะต้องฆ่าหนู เพื่อชั่งน้ำหนักเนื้องอก (บาปหนักยิ่งขึ้น)

ผลปรากฏว่า เนื้องอกโตช้าที่สุดในหนูที่ถูกตอนหรือหนูขันที รองลงไปเป็นหนูที่ได้กินผงมะเขือเทศ 10% พร้อมกับผงบรอกโคลี 10%

อาจารย์คริสทีกล่าวว่า การศึกษาที่ผ่านมาพบว่า การกินอาหารไม่ขัดสี เช่น ข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีท (whole wheat – ขนมปังสีรำ) ฯลฯ ผัก และผลไม้มีส่วนช่วยป้องกันมะเร็งต่อมลูกหมากได้

การศึกษานี้ก็ให้ผลคล้ายๆ กัน กล่าวคือ

  1. การกินพืชผักหลายๆ ชนิดร่วมกันช่วยชะลอการเติบโตของเนื้องอกได้ดีกว่าการกินผักชนิดเดียว
  2. การกินพืชผักดีกว่าการกินสารสกัดจากพืชผัก

อาจารย์คริสทีอธิบายว่า กลไกการออกฤทธิ์ของสารพฤกษเคมีในพืชผักเป็นการออกฤทธิ์แบบ "ช่วยเหลือเกื้อกูล (synergistic)" กัน

การกินสารเคมีชนิดเดียว เช่น ไลโคพีน ฯลฯ จึงออกฤทธิ์ยับยั้งการเติบโตของเนื้องอกได้ไม่ดี

ถ้าเทียบขนาดในคนเราจะเทียบเท่า…

  • การกินมะเขือเทศเชอรี่ประมาณ 2.5 ถ้วย (1 ถ้วย = 240 มิลลิลิตร) มะเขือเทศขนาด 3 นิ้ว 2 ผล หรือซอสมะเขือเทศวันละ 1 ถ้วย (= 240 มิลลิลิตร)
  • และบรอกโคลี 1.5 ถ้วย (= 360 มิลลิลิตร หรือประมาณมากกว่ากระป๋องน้ำอัดลมเล็กน้อย) วันละ 1 ครั้ง

    อาจารย์คริสทีกล่าวว่า การกินมะเขือเทศร่วมกับบรอกโคลี 3-5 ครั้งต่อสัปดาห์ช่วยลดความเสี่ยงมะเร็งต่อมลูกหมากได้ประมาณ 30%

ผู้เขียนขอเรียนเสนอว่า ถ้าไม่ชอบมะเขือเทศ หรือบรอกโคลี… เปลี่ยนเป็นน้ำมะเขือเทศ น้ำบรอกโคลี แตงโม หรือจะเปลี่ยนเป็นซอสมะเขือเทศก็ได้ครับ…

    แหล่งที่มา:                                                 

หมายเลขบันทึก: 75057เขียนเมื่อ 29 มกราคม 2007 10:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

   ผมทาน brocoly 3 วันรวด ซื้อมาจาเขาค้อครับ

  • ถ้าทานผักทุกวัน วันละอย่าง
  • กับทานผัก 3 อย่าง ทุกวัน

   เมื่อเทียบกันแล้วปริมาณหรือน้ำหนักเท่ากัน..ทานแบบหลังคงดีกว่านะครับ

ขอขอบคุณอาจารย์ Beeman และท่านผู้อ่านทุกท่าน...

  • ขอขอบคุณที่กรุณาให้เกียรติติดตามอ่านบันทึก และแวะมาเยี่ยมเยียน

การทานผัก 3 อย่างทุกวันดีกว่าทานผักทุกวันๆ ละ 1 อย่างครับ...

  • เหตุผล...                                                        

(1). การทานอาหารหลากหลายทำให้ได้โปรตีนครบ เต็ม และพอดีกับความต้องการของร่างกาย

  • การสร้างโปรตีนมีกฏพื้นฐานว่า ให้สร้างไปโดยลำดับ ถ้าสร้างไปแล้วขาดโครงสร้างย่อย (กรดอะมิโน) ให้ทำลายโปรตีนนั้นทิ้งไป (protein = amino acid sequence)
  • การกินอาหารหลากหลายทำให้ได้กรดอะมิโนหลายๆ ชนิดพร้อมๆ กัน ทำให้การสร้างโปรตีนมีประสิทธิภาพสูง โดยเฉพาะท่านที่ทานมังสวิรัติ
  • ถ้าทานข้าวกล้อง ถั่ว งา... จะได้โปรตีนสมดุล ไม่ขาดโปรตีนแน่นอน

(2). การทานอาหารหลากหลายทำให้ได้วิตะมิน แร่ธาตุ สารพฤกษเคมี (phytochemicals) และสารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidants) ครบเครื่อง

  • วิตะมิน แร่ธาตุ สารพฤกษเคมี และสารต้านอนุมูลอิสระมีแนวโน้มจะออกฤทธิ์ "เสริมกัน (synergistic)" คล้ายคนหมู่มากที่มีความพร้อมเพรียงกัน สามัคคีกัน ไม่ได้ออกฤทธิ์แบบต่างคนต่างทำ หรือตัวใครตัวมัน
  • นี่เป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้สารสกัดอัดเม็ดออกฤทธิ์ในคนได้ไม่ดีเท่าอาหารจากธรรมชาติ

(3). ร่างกายคนเราเป็น "ระบบนิเวศ (ecosystem)" ไม่ได้มีแต่เซลล์ของคนเราเท่านั้น...

  • คนเราอยู่ร่วมกับสิ่งมีชีวิตอื่นอีกมาก โดยเฉพาะ "เชื้อท้องถิ่น (normal flora)" หรือ "เจ้าบ้าน" บนผิวหนัง เยื่อบุที่ต่อกับภายนอก ทางเดินอาหาร
  • ตัวอย่างที่ชัดมากได้แก่ แบคทีเรียชนิดดีในลำไส้ เช่น แลคโทบาซิลลัส ฯลฯ ช่วยป้องกันโรคจากเชื้อโรคหลายอย่าง
  • การทานอาหารหลากหลายมีส่วนทำให้ "เชื้อท้องถิ่น" มีอาหาร และสิ่งแวดล้อมเหมาะสม ไม่ล้มหายตายจากไปมากเกิน
  • การมีเชื้อท้องถิ่นดี... เปรียบคล้ายมีเพื่อนบ้านดีๆ จำนวนมาก ช่วยกันสอดส่อง ดูแล ทำให้คนแปลกหน้า หรือโจรทำร้ายเราได้ยากขึ้น

สรุปคือ...                                                                 

  • คนเรา "อาศัยความหลากหลาย (diversity) จึงดำรงอยู่ได้อย่างผาสุก และยืนนาน"
  • คนเรา "เป็นระบบนิเวศ (ecosystem)" หรือเป็น "ป่า (forests)" ไม่ใช่เป็นต้นไม้ (ต้นเดียว) หรือสิ่งมีชีวิตเพียงลำพัง

อาจารย์ Beeman กล่าวไว้ถูกต้องแล้ว...                

  • ผัก 3 อย่างทุกวันดีกว่าผัก 1 อย่างทุกวัน
  • คิด 3 ทาง (ให้ทางเลือกกับการแก้ปัญหา) ทุกวันดีกว่าคิด 1 อย่าง (คิดแบบ all-or-none หรือไม่มีทางเลือก เช่น ได้กับไม่ได้ ฯลฯ) ทุกวัน

ขอขอบคุณครับ...

  • แนะนำให้ท่านอาจารย์หมอวัลลภ เอาข้อคิดเห็นข้างต้นไปทำเป็นอีกหนึ่งบันทึก..เพื่อ Share คนอื่นครับ..
  • รู้สึกชอบใจข้อเขียนแบบนี้มาก..
  • เป็นการเขียนแบบบูรณาการ..ไม่อ้างตำรางครับ

ขอขอบพระคุณอาจารย์ Beeman และท่านผู้อ่านทุกท่าน...

  • ขอขอบพระคุณสำหรับคำแนะนำดีๆ
  • ได้บันทึกใหม่ฟรีๆ แล้วเรา

ขอขอบพระคุณครับ...

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท