วันนี้เป็นวันที่ผมเกือบจะไปไม่ทันซะแล้วครับ คือผมไปถึง 9 โมงเช้าพอดี ซึ่ง อาจารย์วิจิตร ก็ได้เริ่มสอนเกี่ยวกับเรื่องต่างๆพอดี ซึ่งเรื่องแรกที่ อาจารย์ สอนก็คือเรื่องมุมภาพพื้นฐาน ซึ่งอาจารย์ได้สอนว่าเราควรจะเรียงมุมภาพยังไง เช่น Ls - Ms - Cu หรือ Cu - Ms - Ls ซึ่งการเรียงมุมภาพนั้นควรจะต้องเรียงให้เหมาะสมกับเนื้อเรื่อง ซึ่ง Ls = long shot , Ms = medium shot , Cu = close up ครับ ซึ่ง 3 มุม นี้จะถือว่าเป็นมุมพื้นฐานของการถ่ายภาพเคลื่อนไหวนะครับ
และอาจารย์ยังได้สอนเกี่ยวกับเรื่อง File Mpeg ว่าเป็นอะไรมีกี่แบบ ซึ่ง Mpeg นั้นย่อมาจาก Movie Picture Expert Group แปลว่ากล่มผู้เชี่ยวขาญด้านภาพเคลื่อนไหว โดยแบ่งได้ดังนี้
1. Mpeg 1 นั้นจะใช้กับไฟล์ที่เป็น Cd อย่างเดียว
2. Mpeg 2 นั้นจะเป็นไฟล์ที่เป็น DvD
3. Mpeg 4 นั้นจะใช้บีบอัดข้อมูลในระบบเครือข่ายทาง Computer
4. Mpeg 7 จะใช้กำหนดข้อมูลที่จะใช้กับเครือข่าย
5. Mpeg 21 อยู่ในช่วงกำลังพัฒนา
...แล้วต่อจากนั้นอาจารย์วิจิตรก็ได้สอนต่อในเรื่องการ Pan และ Tile กล้องครับ ซึ่งการ Pan กล้องนั้นคือการหันหรือหมุนกล้องไปในแนวระนาบในทางซ้ายไปขวาหรือทางขวาไปซ้าย ส่วนการ Tile นั้นคือการ ถ่ายโดยแหงนกล้องขึ้นจากข้างบนลงข้างล่าง หรือ จากข้างล่างขึ้นข้างบนครับ ซึ่งการใช้เทคนิกทั้ง 2 อย่างนี้ จะต้องมีจุดหมายในการถ่าย คือเราต้องกำหนดว่าเราจะถ่ายจากตรงไหนไปยังตรงไหน และ เห็นลายละเอียดที่ชัดเจนครับ และภาพที่ Pan หรือ Tile นั้นไม่ควรจะนานจนเกินไปและควรจะหยุดภาพให้ผู้ที่ชมได้เห็นด้วยว่าภาพที่ถ่ายมานั้นคืออะไรนะครับ แล้วต่อจากนั้นก็สอนเรื่อง Axis Line ซึ่งเป็นกฏพื้นฐานของการถ่ายภาพเคลื่อนไหว ซึ่ง Axis Line นั้นจะเป็นเส้นสมมติ ในการถ่ายทำโดยจะเป็นเส้นที่ตั้งฉากกับกล้องและอยู่ในแนวเดียวกับวัตถุที่จะถ่ายโดยเราสามารถจะตั้งกล้องถ่ายได้ในมุม 180 องศาครับ
---- พักกินข้าวครับ ----
...พอกินข้าวเสร็จ อาจารย์วิจิตร ก็ได้สอนพื้นฐานการใช้กล้อง Beta ครับ โดยอาจารย์ได้ให้ทดลองถ่ายกันด้วยครับโดยก่อนจะถ่ายเราจะต้องทำการเช็ค White Balance ของกล้องเพื่อที่จะได้ไม่ทำให้สีที่ได้มานั้นไม่ผิดไปจากสีจริงนะครับ การเช็ค White Balance นั้นก็ทำไม่ยากครับ โดยการหันกล้องไปทางวัตถุที่มีสีขาวแล้วทำการ Zoom in เข้าไปให้ทั้งแฟรมมีแต่สีขาว จากนั้นจึงให้กดปุ่ม White Balance กล้องก็จะทำการปรับเองอัตโนมัติครับ จากนั้นเราก็จะเริ่มทำการถ่ายโดยเราจะต้องทำการปรับโฟกัสก่อน โดยการ Zoom in ไปยังวัตถุที่เราต้องการจะถ่ายครับจากนั้นจึงทำการปรับโฟกัสให้ชัด จากนั้นเราจึง Zoom out ออกมาที่มุมภาพที่เราต้องการ ที่ต้องทำอย่างนี้ก่อนก็เพื่อ ภาพที่ได้จะได้มีความชัดที่สม่ำเสมอ ถ้าหากเราไม่ซูมไปที่วัตถุก่อนแต่ปรับโฟกัสเลย เวลาเราถ่ายแล้วเราซุมเข้าไป โฟกัสจะไม่ทำการปรับให้อัตโนมัติครับ แล้วจากนั้นก็ทำการใส่เทปลงไปครับ ซึ่งก่อนการอัด อาจารย์ ได้บอกให้ทำการเปิดแถบ Colour Bar และให้อัด Colour Bar ก่อนประมาณ 30 วินาที เพื่อที่จะไว้ใข้เปิดหัวม้วนครับ ซึ่งการเปิดแถบ Colour Bar นั้นเราจะเปิด Switch ที่อยู่ข้างกล้องนะครับ จากนั้นจึงเริ่มการฝึกถ่ายทีละคนครับ.....อืมเกือบลืมครับก่อนถ่ายเราจะต้องเซ็ตขาตั้งกล้องให้ดีครับโดยที่ขาตั้งกล้องนั้น จะมีหยดน้ำบอกว่ามันตรงรึยัง ขนานกับพื้นรึยังโดยดูว่าหยดน้ำอยู่ตรงกลางรึยังครับ จากนั้นก็นำกล้องขึ้นไปติดตั้งและดูว่ากล้องนั้นได้ความสมดุลรึยังเราจึงจะ เริ่มถ่าย...พอลองถ่ายเสร็จอาจารย์ก็ได้ลองเปิดให้ดูว่าภาพที่ออกมาเป็นยังไงครับ....เอ่อแล้วอาจารย์ยังได้ถามว่ารู้ไหมว่าทำไมภาพในกล้องจึงเป็นภาพขาวดำ ที่ภาพมันเป็นขาวดำนั้นก็เพื่อจะเห็นรายละเอียดที่ชัดเจนกว่า ภาพที่เป็นสีและภาพที่เป็นสีนั้นเวลาถ่ายไปนานๆจะทำให้สายตาเราเกิดอาการล้าได้ครับ....
หลังจากนั้น อาจารย์วิจิตร ก็ได้พาเข้าไปยังห้อง Control เพื่อที่จะให้ดูอุปกรณ์ต่างๆในห้องว่ามีอะไรบ้าง ซึ่งก็มี Mixer , แผงควบคุมไฟ , เครื่องตัดต่อ , Switching ฯลฯ ซึ่งอาจารย์ได้บอกว่าเดี่ยวเราค่อยๆเรียนรู้กันไป แล้วสุพัชชาก็ได้ถามเกี่ยวกับเรื่อง Blue screen ซึ่งอาจารย์วิจิตร ก็ได้อธิบายว่า เป็นการซ้อนภาพบุคคลและวัตถุ การเจาะสีจาก Back ground ทั่วไปแล้วใส่ฉากใหม่แทน ซึ่งในปัจจุบันนั้นไม่จำเป็นฉากสีฟ้าครับ
และต่อจากนั้นอาจารย์ก็ได้พาไปดูห้อง Studio และก็ได้กลับขึ้นมาที่ห้อง Control อีกครั้งหนึ่ง โดยอาจารย์วิจิตร ได้สอนเกี่ยวกับหัวไมโครโฟน ว่ามีอะไรบ้างโดยอาจารย์ได้ยกตัวอย่างมา 2 ชนิด คือ 1. แบบ Omni คือจะสามารถรับเสียงได้จากรอบทิศทาง และ 2. แบบ Cadeod จะเป็นการรับเสียงแบบรูปหัวใจหรือประมาณ 3 ทิศทางนั่นเอง
......ต่อมาอาจารย์วิจิตร ก็ได้ให้ลองตัดต่องานด้วยโปรแกรม DPS Velocity ด้วยครับ โดยก่อนการเปิดโปรแกรมเราจะต้องทำการเช็ค Disk ก่อนด้วยการเข้าไปที่ DPS Hardware ก่อน มาที่ SCSI Tab เลือก Volume 1 ถ้ามีมากกว่า 1 ให้เช็คทีละลูก กดที่ Speed Test เครื่องก็จะทำการเช็คให้อัตโนมัติ เมื่อเช็คเสร็จ กดที่ SCSI Devices เลือก Volume 2 กด Speed Test เมื่อเช็คเสร็จก็กด OK....จากนั้นก็คลิกเข้าโปรแกรม และเลือก New Project เครื่องก็จะให้เราตั้งค่าว่าเราต้องการจะเซฟงานไว้ที่ Disk ไหนจากนั้นก็เสร็จเรียบร้อย แล้วเราก็ทำการ Capture งานที่เราต้องการมาไว้ในช่อง Gallery แล้วลากงานมาไว้ใน Time Line จากนั้นเราจึงจะเริ่มตัดต่องานที่เราต้องการ ซึ่งโปรแกรมนี้จะมีระบบ Auto Fade เมื่อเรานำภาพมาวางซ้อนกันครับ แล้วผมจะลองศึกษาโปรแกรมนี้ต่อไปครับ
จากนั้นจึงแยกไปทำงานส่วนตัวพอถึงเวลาจึงแยกย้ายกันกลับบ้านไปลอยกระทงครับ
ไม่มีความเห็น