การสร้างกรอบ


และระเบียบปฏิบัติควรมีความยืดหยุ่นเปิดช่องให้คนที่คิดแตกต่างมีที่ยืนร่วมในสังคมด้วย เพราะมีโอกาสเสมอๆ ที่จะมีคนคิดนอกกรอบออกไป การสร้างระเบียบถ้ามากไปก็กลายเป็นปิดกั้นการพัฒนาความคิดสติปัญญาของคนได้เหมือนกัน

     อ่านบันทึกเรื่อง มนุษย์ตู้ปลา ของ ดร. แสวง รวยสูงเนิน ที่กล่าวถึงกรอบ ระเบียบ และบันทึก ปัญหาสังคม : ความก้าวร้าว...กระทบ กรอบ” (5) ของ อาจารย์ Vij ที่ก็กล่าวถึงการมีกรอบเพราะมีความก้าวร้าว ประกอบกับเรื่องของลุงที่มาทำงานให้วันนี้ ที่ กินข้าวตามเงื่อนไขของเวลา แล้วอดย้อนคิดถึงตัวเองไม่ได้ค่ะ ว่า ทำไมถึงชอบเป็นปลาที่กระโดดออกนอกตู้ ถึงอยู่ในลำธารของ อาจารย์ vij ก็คอยจะหนีไซอยู่เรื่อย ทั้งๆที่ถ้ายอมอยู่ในตู้ปลาสบายดีออก ไม่ต้องหากินเอง เดี๋ยวๆก็มีคนเอาอาหารมาหย่อน มีคนมาเปลี่ยนน้ำให้ แป๊บๆก็ตายล่ะ ไม่ต้องคิดอะไรมาก ปล่อยไปตามเงื่อนไขอะไรก็ได้ที่คนอื่นคิดไว้ให้ เช่นปล่อยให้นาฬิกาเป็นตัวมากำหนดความหิวหรือไม่หิว แล้วก็ทำตามไปเรื่อยๆ คงสบายกว่านี้ เอาสมองไปคิดเรื่องดูหนังฟังเพลงไปน่าจะสบายกว่ากันเยอะเลย 

 แต่คิดว่าคงไม่ใช่เป็นคนที่ชอบกระโดดออกนอกกรอบอยู่คนเดียวหรอกคะ  

เพราะดูแล้ว แม้แต่ ครูบา สุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์ ก็ยังชักชวนให้ แหกค่ายมฤตยู ภาค 2 กันเลยนี่คะ จริงไหมคะ 

       เรื่องการทำอะไรไม่ค่อยได้ตามกรอบของผู้ใหญ่นี่ มีเรื่องเล่า สมัยเป็นนักเรียนชั้นประถมค่ะ  มีวิชาของคนยุคนั้นคือ อ่านเอาเรื่อง เดี๋ยวนี้ไม่ทราบมีอยู่ไหม เรื่องที่อ่านคือขุนช้างขุนแผนตอนนางพิมพิลาไลยเปลี่ยนชื่อเป็นนางวันทอง ในวิชาที่เรียนก็จบแค่ตอนเปลี่ยนชื่อ แต่เนื่องจากว่าเป็นคนชอบอ่านนิยายมาแต่เด็กก็เลยไปหาอ่านต่อเองจนจบเล่ม ทีนี้ที่จำได้ก็คือ ข้อสอบถามว่า ตอนจบของเรื่องขุนช้างขุนแผน นางพิมพิลาไลยเป็นอย่างไร  

แทนที่จะตอบแค่เปลี่ยนชื่อ  กลับไปตอบว่า ถูกประหารชีวิต  คงเดากันได้ไม่ยากค่ะว่า ได้คะแนนอะไร ซึ่งตอนอายุเท่านั้นไม่เข้าใจว่าทำไมถูกยกเป็นตัวอย่างในห้องเรียนว่าเป็นลักษณะของนักเรียนที่ไม่ดีที่แสดงถึงความไม่สนใจเรียน

 

      ที่เล่าเรื่องนี้ไม่ได้ต้องการกล่าวตำหนิอะไรหรือใครนะคะ แต่โยงมาถึงว่า บางทีการสร้างกรอบหรือกำหนดขอบเขต ตัววัดหรือทดสอบอะไร คนสร้างต้องนึกต่อไปกว่านั้นอีกว่า มีโอกาสที่จะเกิดอะไรได้อีกบ้าง เช่นกรณีของวรรณคดีที่ตัดตอนมาสอน ตัวข้อสอบก็ต้องชัดเจนเฉพาะตอน ระบุสิ่งที่ต้องการให้ชัดไปเลย

ถ้าเป็นระเบียบปฏิบัติควรมีความยืดหยุ่นเปิดช่องให้คนที่คิดแตกต่างมีที่ยืนร่วมในสังคมด้วย เพราะมีโอกาสเสมอๆ ที่จะมีคนคิดนอกกรอบออกไป การสร้างระเบียบถ้ามากไปก็กลายเป็นปิดกั้นการพัฒนาความคิดสติปัญญาของคนได้เหมือนกัน

เรื่องของการมีกรอบ มีระเบียบก็มีความเห็นอย่างนี้ค่ะ  ไม่ทราบท่านอื่นคิดเห็นกันอย่างไรบ้าง

หมายเลขบันทึก: 72192เขียนเมื่อ 11 มกราคม 2007 21:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 01:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)
หลานขุนแผนมาเยี่ยมครับ มาจากกาญจนบุรี ยิ้ม ยิ้ม

อาจารย์ครับ

ผมไม่ได้ปฏิเสธกรอบโดยสิ้นเชิงนะครับ

แต่ผมต่อต้านกรอบที่ไร้สาระ ทำให้คนขี้เกียจอยู่สบายเป็นกาฝาก แต่คนตั้งใจทำงานทำไม่ได้ หรือถูกลงโทษด้วยซ้ำ

อันนี้ไม่น่าจะถูกต้องครับ

และผมก็ยิ่งต่อต้านคนที่แหกกรอบไปทำเรื่องไร้สาระอีกด้วยครับ

อันนี้คือจุดยืนของผมครับ

มายิ้ม ยิ้มกับหลานขุนแผนค่ะ...ม้าสีหมอกยังมีชีวิตอยู่ไหมคะ อาจารย์ขจิต

ขอบคุณค่ะอาจารย์ แสวง 

เห็นตรงกับอาจารย์ด้วยค่ะ

ขอเพิ่มเติมตัวอย่างที่ทำให้คิดเรื่องการมีระเบียบที่จำเป็นและที่ควรยืดหยุ่นได้ค่ะ

เห็นด้วยกับระเบียบที่จำเป็นสำหรับคนหมู่มาก เช่นของวิชาชีพ อย่างการขึ้นทะเบียนวิชาชีพพยาบาล เห็นว่าต้องมีและทุกคนก็ต้องเคารพกติกาและคนดูแลก็ต้องไม่ให้เกิดdouble standard และดูแลไม่ให้มีการแหกกรอบ

แต่ระเบียบบางอย่างที่ออกมา เช่นบางภาคห้ามเข้าภาควิชานอกเวลาราชการหรือวันหยุดราชการโดยไม่ได้รับแจ้งหัวหน้าอย่างเนี่ยค่ะ ที่เห็นว่ามันต้องยืดหยุ่น เพราะที่ผ่านมาคือถ้าไม่ได้บอกหัวหน้าล่วงหน้าใครขยันก็กลายเป็นคนลักลอบเข้าไปทำงานและถูกตรวจสอบ ..เอาไปเอามาเลยเลิกไปทำงานวันหยุดกันงานไหนไม่เสร็จก็ปล่อยไม่เสร็จไป....

ตัวอย่างใกล้ตัวที่สุดค่ะ......ตัวอย่างคงแตกต่างจากของอาจารย์ใช่ไหมคะ...

  • มาขอบคุณครับผม
  • ม้าสีหมอกแก่แล้วครับ
  • สงสารมัน
  • เหลือแต่ดาบฟ้าฟื้นครับ
  • มาขอบคุณครับผม
  • เอาหลานม้าสีหมอกมาฝาก
  • สบายดีไหมครับ

น่ารักจังค่ะ หลานม้าสีหมอกเป็น ม. ม้า คึกคัก จริงๆ นะคะ

สบายดีค่ะ ขอบคุณค่ะ อาจารย์ขจิตแวะไปบล็อกของอาจารย์พิชัยหรือยังคะ เรื่องเล่าจากอาจารย์ ได้ฝึกการเขียนที่ชอบมากค่ะ ชวนอาจารย์ขจิตไปฝึกด้วยค่ะ

แวะมาเยี่ยม อ่านสาระที่อาจารย์เขียน เก็บเป็นข้อมูลชีวิตครับ ขอบคุณที่ช่วยแนะนำบล็อกผม

ชีวิตมนุษย์นั้น ชอบอยู่กับกรอบและชอบเปลี่ยนกรอบ เหมือนต้องมีมีหลักยึด แต่ก็ชอบแหกคอกนอกกรอบในบางโอกาส

  • ขึ้นอยู่กับกาละและเทศะ
  • และบางที่ขึ้นอยู่กับกิเลสในใจตนเป็นตัวชี้วัด
  • ส่วนใหญ่ขึ้นกับอัตตา(ของกู)

 

ขอบคุณค่ะ อาจารย์พิชัย

คิดดูแล้ว ก็จริงอย่างที่อาจารย์ว่า ส่วนใหญ่ขึ้นกับอัตตา เป็นไปได้ไหมคะถ้าลดอัตตาตัวเองลงก็ไม่ต้องไปนึกถึงว่ามีกรอบมาครอบงำ...

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท