ชีวิตที่พอเพียง  4889. ชีวิตนักวิชาการยุค เอจีไอ


 

รายการของ Google Deepmind เรื่อง AI for Science with Sir Paul Nurse, Demis Hassabis, Jennifer Doudna, and John Jumper  สี่นักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบล    บอกเราว่า ชีวิตนักวิชาการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักวิทยาศาสตร์ ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป 

ฟังแล้วผมเกิดคำถามว่า ประเทศไทยเราเตรียมตัวอย่างไร 

สำหรับผม เราต้องเตรียมตัวสร้างเด็กไทยให้เตรียมพร้อมในการมีชีวิตแบบใหม่   รู้จักใช้ประโยชน์ของ เอไอ หรือ เอจีไอ (Artificial General Intelligence) ตามคำของ กูเกิ้ล   โดยการปฏิรูปการศึกษา    เน้นหนุนเด็กให้สร้างความใฝ่รู้ ความสร้างสรรค์ใส่ตัว    ไม่เน้นสร้างผู้มีความรู้    หรือสร้างคนที่เลยจากการมีความรู้ ไปสู่สร้างคนที่มีความอยากรู้ ไม่เชื่อง่าย และหาทางสร้างความรู้จากประสบการณ์ของตนเอง   

ประการที่สอง เราต้องปฏิรูประบบสร้างนักวิชาการ หรือนักวิจัยใหม่    ให้มีทักษะใช้ Big Data และ AGI เพื่อการวิจัย    ซึ่งหมายความว่า วิธีออกแบบงานวิจัยต้องเปลี่ยนใหม่หมด   ต้องออกแบบวิธีเก็บข้อมูลที่ต้องการจาก Big Data ด้วยความช่วยเหลือจาก AGI   คิดอย่างนี้ถูกหรือผิดก็ไม่ทราบ

หากผมมีส่วนเกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบ อววน. ของไทย   ผมจะเสนอให้จัดการประชุมระดมความคิดว่า ระบบ อววน.ไทย ควรปรับตัวเปลี่ยน working hypothesis และ working platform อย่างไร ในยุค GAI (Generative AI)    

ผมคิดว่าเราต้องไม่งุ่มง่ามแค่รับรู้และทำความเข้าใจปรากฏการณ์การพัฒนา GAI    เราต้องคิดวิธีเข้าไปใช้ประโยชน์ และมีส่วนพัฒนาจากมุมของประเทศหรือสังคมกำลังพัฒนา และมีวัฒนธรรมแบบที่เราเป็น อย่างไร        

นั่นคือ หน่วยงานจัดการระบบ อววน. ต้องมองพัฒนาการของ GAI ด้วยมุมมองที่ตื่นตัว    มองโอกาสพัฒนาประเทศด้วย อววน. อย่างก้าวกระโดด   

ขอขอบคุณ นพ. ปรีดา มาลาสิทธิ์ ที่กรุณาแนะนำรายการนี้   

วิจารณ์ พานิช

๒ ธ.ค. ๖๗

 

 

หมายเลขบันทึก: 720445เขียนเมื่อ 5 มกราคม 2025 12:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มกราคม 2025 12:02 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่าน


ความเห็น

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท
ภาษาปิยะธอน (Piyathon)
เขียนโค้ดไพทอนได้ด้วยภาษาไทย