วันนี้มาต่อกันที่ Part 3 นะคะ ช่วงนี้หลายท่านได้หยุดพักผ่อนเดินทางกลับบ้าน ไปเที่ยวกันแล้ว ขอให้ทุกท่านมีความสุขกับช่วงส่งท้ายปี
แรกเริ่มเดิมที ฉันทำงานเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพเอชไอวีระดับโรงพยาบาล เป็นเรื่องเล็ก ๆ แล้วแต่ว่า โรงพยาบาลนั้น ๆ สนใจเรื่องไหนเป็นพิเศษ เช่น การจ่ายยานาน 6 เดือน การติดตามคนไข้กลับมารักษาเป็นต้น หลังจากฉันได้รับ inspiration จาก อ.สาว รพ. ตากสิน ฉันก็เริ่มสนใจการทำงานเชิงระบบมากขึ้น พี่กบ US CDC แนะนำให้ฉันไปเรียนหลักสูตรของ HA (ซึ่งฉันจะนำมาเล่าใน Part ต่อ ๆ ไป) พี่กบชวนฉันไปเรียนรู้งาน DSC ของ รพ.ตากสิน และเล่าเรื่องการทำงาน DSC เมื่อสมัย 20 กว่าปีก่อนให้ฉันฟัง (โอ้โหนานมากเลย สมัยที่ฉันยังเป็นเด็กประถม-มัธยม) กว่าจะมาเป็น DSC ในวันนี้ ผ่านบททดสอบมาอย่างมากมาย ครูบาอาจารย์เริ่มต้นทำงานลองผิดลองถูก มุ่งมั่นตั้งใจ ปูทางดายหญ้าให้คนรุ่นเราเดินทางสะดวกกว่าเดิมแล้วนะ
แล้วไอ DSC มันคืออะไรนะ?? ฉันไม่รู้จักเลย ถ้าบอกว่า HA Advanced HA ก็ยังพอรู้จักบ้าง เพราะเห็น ๆ ที่ รพ.วชิระ และ สำนักอนามัย กทม. ทำอยู่
ฉันไปเปิดหาในอินเตอร์เน็ต สมัยนี้ช่างสะดวกสบายมีอะไรก็เพียงปลายนิ้วมือ
การประเมินเฉพาะโรคหรือระบบ (Disease Specific Certification - DSC)
มาตรฐานเฉพาะโรค / เฉพาะระบบ (Program and Disease Specific Standards)
เกณฑ์การประเมินตนเองการรับรองเฉพาะโรค/เฉพาะระบบ (Program and Disease Specific Certification)
อ๋อ มันก็คือการรับรองคุณภาพของการดูแลรักษารายโรค/ระบบนั่นเอง ซึ่งตอนนี้ พี่ ๆ และ อาจารย์ เขากำลังดำเนินงานด้านเอชไอวี และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อยู่ ฉันก็เริ่มอ่าน SAR Self-Assessment Report ซึ่งเอาจริง ๆ ฉันก็ไม่ค่อยรู้เรื่องหรอก ค่อย ๆ เรียนรู้กันไป ทั้งจากหลักสูตร สรพ. การพัฒนาคุณภาพเบื้องต้น หลักสูตรการบริการจัดการความเสี่ยงในโรงพยาบาล และหลักสูตรอื่น ๆ ที่ฉันเริ่มสนใจและ จ่ายเงินเรียนเอง ฉันเรียนรู้จากหลักสูตรของ สรพ. และเรียนรู้กับท่านอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิ ตอนที่ท่านไปเป็นพี่เลี้ยง และเยี่ยมสำรวจ ควบคู่กันไป ค่อย ๆ ซึบซับไปเรื่อย ๆ ซึ่งบอกตามตรงว่า จากที่ฉันเห็นว่า HA ทำแค่กระดาษ (ซึ่งหลายคนที่ไม่เข้าใจและไม่เรียนรู้จริง ๆ มักจะพูดกับฉัน และบอกฉันไปในทางลบแบบนี้) กลับกลายเป็นว่าการเรียนรู้กับอาจารย์ ทำให้ฉันเห็นคุณค่าจริง ๆ HA ทำให้ผลลัพธ์ดีขึ้นจริง ๆ โดยเฉพาะการทำ DSC (ถ้ามีคนบอกว่าเป็นเพียงงานเขียนเสือกระดาษ แสดงว่าเขาไม่รู้จริง หรือ รพ. นั้นก็ทำ ๆ ไปเพื่อให้ผ่านการประเมินโดยที่ไม่ทราบคุณค่า และผลลัพธ์เลย ซึ่งน่าเสียดายมาก ๆ แต่หลายคนอาจจะเป็นเหมือนฉันในตอนแรก ๆ ก็ได้ว่าเขาขาดครูพี่เลี้ยงที่เก่ง ๆ ขาดคนคอยดูแล จึงทำให้การเรียนรู้งานคุณภาพของโรงพยาบาลนั้น ๆ ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร จริง ๆ แต่ละคนไม่จำเป็นต้องชอบก็ได้ ยังไง ๆ เครื่องมือคุณภาพสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างแน่นอน)
เอาล่ะ เพราะอะไร DSC จึงเป็นการทำงานที่ทำให้ระบบยังคงอยู่แม้คนเก่าจะเกษียณไปก็ตาม
อาจารย์นิตยา ฉันทกิจ บรรยายในการเยี่ยมสำรวจโรงพยาบาลแห่งหนึ่งว่า
วัตถุประสงค์ของการรับรอง DSC นั้นเพื่อ
หลักการในการพิจารณาเพื่อการรับรองเฉพาะโรค/ เฉพาะระบบ โรงพยาบาลจะต้องแสดงให้เห็นกระบวนการพัฒนาที่สะท้อนหลักการพื้นฐานดังนี้
เราเห็นผลลัพธ์ได้อย่างจากทุกโรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการนี้ มีผลลัพธ์ที่เป็นเลิศ คนไข้ได้รับการดูแลอย่างครอบคลุมทุกมิติ ลดความเสี่ยงทั้งคนไข้ และผู้ปฏิบัติงาน ผู้ปฏิบัติงานมีความภาคภูมิใจในงานที่ทำ เป็นต้นแบบให้กับโรงพยาบาลอื่น ๆ แน่นอนว่าคนไข้โรคนี้ ถ้าได้เข้าไปรักษาในโรงพยาบาลที่ได้รับการรับรองนี้ Safety ชัวร์ค่ะ การทำงานคุณภาพ โดยใช้เครื่องมือคุณภาพทำให้กระบวนการดูแลรักษาเป็นระบบตั้งแต่ต้น และสิ้นสุดกระบวนการดูแล
วันนี้เล่ายาวมาก ๆ เลยเพราะเป็น Concepts ที่ต่อเนื่องกัน Part หน้าจะเริ่มเล่าเรื่องการเรียนหลักสูตรต่าง ๆ ของ สรพ. และการประยุกต์ใช้กับงานของเรานะคะ
พัฒนางานคุณภาพให้คนไข้ได้ประโยชน์มากที่สุด HA ไม่เพียงงานที่ดีมีคุณภาพเท่านั้น แต่ทำให้เราได้แนวคิดที่นำมาปรับใช้ในชีวิตอย่างมีคุณภาพอีกด้วย
(เพิ่งจะมีเวลาว่าง ๆ มาเขียน ภาษาพูดล้วน ๆ เลยจร้า)
สุพรรษา ศักดิ์ระพี
ไม่มีความเห็น