การแสดงบทบาทของ CKO (Chief Knowledge Officer)
ในการจัดการความรู้ของผู้บริหารหน่วยงาน
หรือองค์การต่างๆอาจจะมีเทคนิควิธีการที่หลากหลาย
ในที่นี้ขอหยิบยกกรณีตัวอย่างโรงเรียนจิระศาสตร์วิทยา
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มาเล่าสู่กันฟังโดยสังเขป
สืบเนื่องมาจากโรงเรียนจิระศาสตร์วิทยา เป็นโรงเรียนเอกชน เปิดสอนตั้งแต่ระดับอนุบาล 1 ถึง ม.3 มีนักเรียนกว่า 4600 คน ครูและบุคลากรกว่า 300 คน เมื่อคนหมู่มากมารวมกันก็ต้องหาวิธีการบริหารจัดการให้คนที่อยู่ด้วยกันมีความคิด เจตคติที่ดีต่อหน่วยงานและร่วมกันขับเคลื่อนกระบวนการทำงานให้เป็นไปในทิศทางที่สอดรับกับวิสัยทัศน์ พันธกิจที่หน่วยงานร่วมกันกำหนด
โดยปกติการบริหารงานในโรงเรียน ได้มีการกระจายอำนาจการบริหารจัดการ การตัดสินใจจากระดับนโยบายไปสู่ระดับปฏิบัติในลักษณะการบริหารงานแบบมีส่วนร่วม โดยให้มีการเลือกตั้งคณะกรรมการคณะต่างๆ เพื่อทำหน้าที่ตามพันธกิจที่เกี่ยวข้อง เช่น
1) คณะกรรมการสภาครู มีคณะกรรมการบริหาร จำนวน 10 คน ได้มาจากการเลือกตั้งผู้แทนครูในแต่ละสายชั้น มีหน้าที่ร่วมกกำหนดกฎ ระเบียบปฏิบัติ พิจารณาความดี ความชอบ พิจารณาจัดสวัดิการสิทธิประโยชน์ และพิจารณาแก้ไขปัญหาของครูและบุคลากรร่วมกับผู้บริหาร
2) คณะกรรมการสายชั้น มีทั้งหมด 12 คน (เป็นเสมือนครูใหญ่โรงเรียนเล็กในโรงเรียนใหญ่) หรือ School in School มีหน้าที่ในการติดตามประสานงานการดำเนินงานของฝ่ายต่างๆในสายชั้น เป็นตัวแทนสายชั้นในการประชุมร่วมกับคณะผู้บริหาร ติดตามการปฏิบัติงานของครูในสายชั้นและเก็บรวบรวมงานส่งผู้บริหาร ตลอดจนประชาสัมพันธ์ข่าวสาร ข้อมูลให้ครูในสายชั้นรับทราบ
3) คณะกรรมการกลุ่ม STAR : Small Team Activity Relationship เป็นกลุ่มครู/บุคลากรกลุ่มเล็กๆประมาณ 3-5 คน ร่วมมือกันทำงานเพื่อป้องกันแก้ไขปัญหาที่กลุ่มสนใจร่วมกัน โดยใช้กระบวนการทำงานตามวงจรเดมมิ่ง (PDCA)
4) คณะกรรมการฝ่ายต่างๆ ประกอบด้วยฝ่ายวิชาการ กิจการนักเรียน บุคลากร อาคาร-สถานที่ ธุรการ-การเงิน และฝ่ายสัมพันธ์กับชุมชน สมาชิกของแต่ละฝ่ายมาจากการสรรหาผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมกับแต่ละฝ่ายเข้ามาเป็นกรรมการฝ่ายนั้นๆ มีหน้าที่รับผิดชอบการดำเนินงานตามบทบาทอำนาจหน้าที่และภารกิจของแต่ละฝ่าย เช่น ฝ่ายวิชาการ มีหน้าที่จัดกิจกรรมการเรียนการสอน การจัดหาสื่อ/แหล่งเรียนรู้ การวัดผลประเมินผล เป็นต้น
ในการทำงานผู้บริหารระดับสูงจะแสดงบทบาทเสมือนคุณเอื้อ คุณอำนวย หรือ CKO (Chief Knowledge Office) ในการจัดการความรู้ โดยมุ่งเน้นที่จะ "สร้างความเข้าใจ ให้ความสำคัญ และผลักดันคุณภาพ" ให้เกิดผลสัมฤทธิ์กับผู้เรียนเป็นสำคัญ
-การสร้างความเข้าใจ มีกิจกรรมหลายรูปแบบ เช่น การประชุม อบรม สัมมนา การนิเทศภายในและการจัดกิจกรรมเสริมสร้างไมตรีจิตมิตรภาพให้กับครูและบุคลากรทุกฝ่ายในโรงเรียน โดยการจัดกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ ร่วมกิจกรรมกีฬา นันทนาการ เป็นต้น
-การให้ความสำคัญ โรงเรียนตระหนักดีว่าครูและบุคลากรทุกฝ่าย นักเรียนทุกคนตลอดจนผู้ปกครองหรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกท่านต่างก็มีคุณค่า ความสำคัญทั้งสิ้น ดังนั้นจึงได้ยกย่องให้เกียรติและให้ความสำคัญ พร้อมทั้งพยายามผลักดันส่งเสริมทุกวิถีทางให้ได้รับความสำเร็จสูงขึ้น
-การผลักดันคุณภาพ เป็นความพยายามของโรงเรียนที่จะสนับสนุนส่งเสริมให้ฝ่ายต่างๆดำเนินงานให้ประสบผลสำเร็จในการจัดการศึกษา บรรลุเป้าหมายของการยกระดับคุณภาพผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ กล่าวคือ "เป็นคนดี มีปัญญา และมีความสุข" หรือ "เป็นผู้ที่มีความฉลาดและมีคุณธรรม" เป็นไปตามปรัชญาของโรงเรียนที่ตั้งไว้.
ปฐมพงศ์ ศุภเลิศ
15 พ.ย.48
สืบเนื่องมาจากโรงเรียนจิระศาสตร์วิทยา เป็นโรงเรียนเอกชน เปิดสอนตั้งแต่ระดับอนุบาล 1 ถึง ม.3 มีนักเรียนกว่า 4600 คน ครูและบุคลากรกว่า 300 คน เมื่อคนหมู่มากมารวมกันก็ต้องหาวิธีการบริหารจัดการให้คนที่อยู่ด้วยกันมีความคิด เจตคติที่ดีต่อหน่วยงานและร่วมกันขับเคลื่อนกระบวนการทำงานให้เป็นไปในทิศทางที่สอดรับกับวิสัยทัศน์ พันธกิจที่หน่วยงานร่วมกันกำหนด
โดยปกติการบริหารงานในโรงเรียน ได้มีการกระจายอำนาจการบริหารจัดการ การตัดสินใจจากระดับนโยบายไปสู่ระดับปฏิบัติในลักษณะการบริหารงานแบบมีส่วนร่วม โดยให้มีการเลือกตั้งคณะกรรมการคณะต่างๆ เพื่อทำหน้าที่ตามพันธกิจที่เกี่ยวข้อง เช่น
1) คณะกรรมการสภาครู มีคณะกรรมการบริหาร จำนวน 10 คน ได้มาจากการเลือกตั้งผู้แทนครูในแต่ละสายชั้น มีหน้าที่ร่วมกกำหนดกฎ ระเบียบปฏิบัติ พิจารณาความดี ความชอบ พิจารณาจัดสวัดิการสิทธิประโยชน์ และพิจารณาแก้ไขปัญหาของครูและบุคลากรร่วมกับผู้บริหาร
2) คณะกรรมการสายชั้น มีทั้งหมด 12 คน (เป็นเสมือนครูใหญ่โรงเรียนเล็กในโรงเรียนใหญ่) หรือ School in School มีหน้าที่ในการติดตามประสานงานการดำเนินงานของฝ่ายต่างๆในสายชั้น เป็นตัวแทนสายชั้นในการประชุมร่วมกับคณะผู้บริหาร ติดตามการปฏิบัติงานของครูในสายชั้นและเก็บรวบรวมงานส่งผู้บริหาร ตลอดจนประชาสัมพันธ์ข่าวสาร ข้อมูลให้ครูในสายชั้นรับทราบ
3) คณะกรรมการกลุ่ม STAR : Small Team Activity Relationship เป็นกลุ่มครู/บุคลากรกลุ่มเล็กๆประมาณ 3-5 คน ร่วมมือกันทำงานเพื่อป้องกันแก้ไขปัญหาที่กลุ่มสนใจร่วมกัน โดยใช้กระบวนการทำงานตามวงจรเดมมิ่ง (PDCA)
4) คณะกรรมการฝ่ายต่างๆ ประกอบด้วยฝ่ายวิชาการ กิจการนักเรียน บุคลากร อาคาร-สถานที่ ธุรการ-การเงิน และฝ่ายสัมพันธ์กับชุมชน สมาชิกของแต่ละฝ่ายมาจากการสรรหาผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมกับแต่ละฝ่ายเข้ามาเป็นกรรมการฝ่ายนั้นๆ มีหน้าที่รับผิดชอบการดำเนินงานตามบทบาทอำนาจหน้าที่และภารกิจของแต่ละฝ่าย เช่น ฝ่ายวิชาการ มีหน้าที่จัดกิจกรรมการเรียนการสอน การจัดหาสื่อ/แหล่งเรียนรู้ การวัดผลประเมินผล เป็นต้น
ในการทำงานผู้บริหารระดับสูงจะแสดงบทบาทเสมือนคุณเอื้อ คุณอำนวย หรือ CKO (Chief Knowledge Office) ในการจัดการความรู้ โดยมุ่งเน้นที่จะ "สร้างความเข้าใจ ให้ความสำคัญ และผลักดันคุณภาพ" ให้เกิดผลสัมฤทธิ์กับผู้เรียนเป็นสำคัญ
-การสร้างความเข้าใจ มีกิจกรรมหลายรูปแบบ เช่น การประชุม อบรม สัมมนา การนิเทศภายในและการจัดกิจกรรมเสริมสร้างไมตรีจิตมิตรภาพให้กับครูและบุคลากรทุกฝ่ายในโรงเรียน โดยการจัดกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ ร่วมกิจกรรมกีฬา นันทนาการ เป็นต้น
-การให้ความสำคัญ โรงเรียนตระหนักดีว่าครูและบุคลากรทุกฝ่าย นักเรียนทุกคนตลอดจนผู้ปกครองหรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกท่านต่างก็มีคุณค่า ความสำคัญทั้งสิ้น ดังนั้นจึงได้ยกย่องให้เกียรติและให้ความสำคัญ พร้อมทั้งพยายามผลักดันส่งเสริมทุกวิถีทางให้ได้รับความสำเร็จสูงขึ้น
-การผลักดันคุณภาพ เป็นความพยายามของโรงเรียนที่จะสนับสนุนส่งเสริมให้ฝ่ายต่างๆดำเนินงานให้ประสบผลสำเร็จในการจัดการศึกษา บรรลุเป้าหมายของการยกระดับคุณภาพผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ กล่าวคือ "เป็นคนดี มีปัญญา และมีความสุข" หรือ "เป็นผู้ที่มีความฉลาดและมีคุณธรรม" เป็นไปตามปรัชญาของโรงเรียนที่ตั้งไว้.
ปฐมพงศ์ ศุภเลิศ
15 พ.ย.48
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย ดร. ปฐมพงศ์ ศุภเลิศ ใน การบริหารจัดการแนวใหม่
โรงเรียนนี้เป้นโรงรเยนรับรางวัลพระราชทานปี่2550มาก่อนเป็นเด็กของรุ่นฉันเอง(ป.6) ลูกของฉันบอกว่าตอนที่ไปสอบ o-netที่โรงเรียนอนุบาล สภาพแวดล้อมแตกต่างกันมาก แล้วที่ ร.รนี้ก็มีจัดงานเลี้ยงยินดีที่นักเรียนจบชั้นนี้ แต่พอไปที่อนุบาลไม่มีการฉลองเลย..ดิฉันว่าโรงเรียนนี้ก้เป็นโรงเรียนที่ดีในอยุธยาแห่งหนึ่งนะ
ลองพาลูกไปดูสิคะ