วันอาทิตย์ที่ 1 กันยายน 2567 เป็นวันหยุดวันพักผ่อนของใครหลายคน ส่วนผมนั้นคือวันที่มีส่วนร่วมในการทำงานในการพัฒนาตนเอง ได้มีส่วนในการเข้าสัมมนาด้านการศึกษา หัวข้อ แนวทางการพัฒนากาารจัดการศึกษาปฐมวัย ซึ่งจัดโดยคณะกรรมมาธิการการศึกษา สภาผู้แทนราษฎร
ผู้เข้าร่วมสัมมนาราวๆ 500 คน ประกอบด้วยคนในวงการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา ข้าราชการครู ทั้ง สพม.และสพป. นายกองค์การบริหารส่วนตำบล ประธานคณะกรรมการการศึกษาขึ้นพื้นฐานของโรงเรียน และผู้ที่สนใจเรื่องการศึกษา
09.00 น. ผู้นำทีมวิทยากรได้แก่ประธานคณะกรรมาธิการการศึกษา ได้ขึ้นกล่าวทักทายผู้ร่วมสัมมนาและเริ่มบรรยายเกริ่นนำความเป็นมาถึงพัฒนาการการจัดการศึกษาสมัยก่อน ที่เกี่ยวข้องทั้งองค์กร สถานที่ บุคคล สำนักงาน หลักสูตร และได้กล่าวถึงสถาบันครอบครัวในยุคสมัยที่ผ่านมาและเชื่อมโยงมาถึงสิ่งแวดล้อมและเทคโนโลยีต่างๆที่เกิดขึ้นในยุคปัจจุบัน และรวมถึงสิ่งที่เกี่ยวข้องในด้านการบริหารงานในกระทรวง กรมหรือสำนักต่างๆ
ท่านประธานกรรมาธิการการสึกษาได้ชี้ให้เห็นถึงข้อมูลด้านงบประมาณโดยเฉพาะกระทรวงศึกษาธิการ ที่ได้รับงบประมาณเพิ่มขึ้น ส่วนจำนวนเด็กผู้เรียนนั้นลดลง คุณภาพการศึกษาลดลง นี่คือโจทย์ใหญ่ที่จะหาแนวทางแก้ไขอย่างไร นั่นจึงนำมาสู่การปฏิวัติการศึกษา “คือการเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญอย่างรวดเร็ว” คือแนวทางการพัฒนาการศึกษาปฐมวัยและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานในอนาคตที่จะระบุไว้ใน พรบ.การศึกษาแห่งชาติ และ พรบ.ที่เกี่ยวข้อง จึงนำมาสู่การสัมมนาสอบถามแลกเปลี่ยนอภิปรายให้ได้แนวทางที่หลากหลายและตกผลึกเพื่อจะนำข้อมูลที่ได้ไปนำเสนอต่อไป
ผมนั่งฟังและจดสาระสำคัญลงสมุดบันทึกเล่มเล็กๆเอาไว้ พอจะสรุปได้ว่า การจัดการศึกษาปฐมวัยในอนาคตข้างหน้าอาจจะให้ อปท.ดูแล โรงเรียนจะไม่ยุบแต่จัดการเรียนการสอนระดับประถมศึกษาขึ้นไป “ครูต้องทำให้ครูเป็นนักวิชาการอย่างแท้จริง” ครูเก่งครูมีความสามารถที่เป็นเลิศ มีเทคนิควิธีสอนที่ดีต้องเผยแพร่ผลงานต้องมีค่าตอบแทน ครูไม่ต้องหอบสื่อการสอนไปจากที่บ้านสื่อการสอนอุปกร์ต้องพร้อมที่โรงเรียน อาจจะมีการปรับเกณฑ์การขอมีขอเลื่อนวิทยฐานะ จะออกแบบกลุ่มโรงเรียนให้มีกฎหมายรองรับอาจยึดตำบลเป็นหลัก สถานศึกษาหรือโรงเรียนต้องอำนวยความสะดวกให้ชุมชน เช่น เป็นที่ทำการ กทบ./อสม.และอื่นๆ
การสัมมนากำลังสนุกสนานเข้มข้น วิทยากรยังเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้ซักถามและแลกเปลี่ยนแนวความคิดอย่างหลากหลายและกว้างขวาง พอเหลือบมองเวลาก็เป็นเวลา 12.00 น.พอดี การสัมมนาในช่วงเช้าก็จบลงและผู้เข้าร่วมสัมมนาก็ได้พักรับประทานอาหาร ก่อนที่ช่วงบ่ายก็จะเป็นเวทีในการร่าง พรบ.โดยนักกฎหมาย ผู้เชี่ยวชาญ ตัวแทนด้านการศึกษาและผู้ที่สนใจจะร่วมกิจกรรมต่อในภาคบ่าย
I wonder if this a beginning of something bigger.
There were some 500 representatives from various levels of involvement in primary education attended this meeting and this “..อนาคตข้างหน้าอาจจะให้ อปท.ดูแล..” assertion at the meeting. [There are 7,850 local government offices in TH.]
What would the rest of DLAs think? And
What would the parents of the children who would be subjected or processed by this change think? And
What about “early childhood education” (3-5 yo children) when children’s learning activities and potentials are very much higher?