ค้นงานทางวิชาการไม่พบคำว่า Parliament Dictator ที่นำใช้ในภาษไทยว่า ‘เผด็จการรัฐสภา’ แต่มีคำว่า ‘Elective Dictator’ แต่อ่านดูแล้วก็ไม่น่าจะใช่สิ่งที่นักการเมืองไทย สื่อมวลชน และนักวิชาการส่วนหนึ่งของไทยนำใช้อยู่ในปัจจุบันซึ่งหมายถึง ‘การที่ฝ่ายรัฐบาลมีเสียง สส. ในสภามากเกินไป’ ซึ่งจำนวน สส. ในสภาฯ นั้นเป็นเพียงองค์ประกอบหนึ่งที่จะให้ฝ่ายรัฐบาลทำตัวเป็นเผด็จการรัฐภา ซึ่งผมเคยเขียนเกี่ยวกับเผด็จการรัฐภาน่าจะประกอบด้วยหลายองค์ประกอบ ไม่ใช่องค์ประกอบเดียวคือ ‘จำนวน สส. ในสภาฯ’ เท่านั้น
คำว่า ‘เผด็จการรัฐสภา’ ที่ใช้กันอยู่ในบริบทไทยนี้ จะตั้งใจหรือไม่ก็ตาม แต่เป็นการสื่อให้เข้าใจว่า การที่รัฐบาลมีเสียง สส. ในสภามากเกินไปจะเป็น ‘เผด็จการรัฐสภา’ ซึ่งไม่จริง (ดังจะได้กล่าวต่อไป) และที่น่าตกใจคือมีนักการอาวุโสหลายคนใช้คำนี้ นักนักการเมืองและสื่อมวลชนอาวุโส ก็คิดแบบนี้ด้วย จึงเป็นเรื่องที่น่าตกใจครับ เพราะถ้าจะกล่าวหาว่ารัฐบาลเสียงข้างมากที่มี จำนวน สส. เยอะ จะเป็นเผด็จการในรัฐสภา ต้องดูว่ามีลักษณะครับองค์ประกอบ ของการเป็นเผด็จการรัฐสภาไหม
องค์ประกอบของการเป็นเผด็จการโดยเสียงข้างมาก (ซึ่งผมไม่ค่อยเห็นด้วยกับคำว่าเผด็จการรัฐสภาฯ ส่วนคำ่า Elective Dictator ก็น่าจะใช้คำภาษาไทยว่า ‘เผด็จการโดยใช้กลไกเลือกตั้ง’) นั้นน่าจะประกอบด้วย (1) จำนวนเสียง สส. ในสภาเกินกึ่งหนึ่ง คือแม้จะเกินเพียง 1 เสียงก็เป็นเผด็จการได้ถ้ามีองค์ประกอบที่ 2 ร่วมด้วย (2) ใช้เสียงข้างมากในสภาในการดำเนินการต่างๆ ตามกฎหมายเพื่อ ประโยชน์ของตนเองและพวกพ้อง มากกว่าประโยชน์ส่วนรวม และไม่ฟังเสียงของประชาชน แม้จะเป็นเสียงส่วนใหญ่ของประชาชนก็ตาม และ(3) ร่วมือกับองค์กรที่มีอำนาจทางการเมืองอื่นๆ นอกเหนือจากรัฐภา ในการดำเนินการต่างๆ เพื่อประโยชน์ของตนเองและพวกพ้อง
ถ้ารัฐบาลใดมีองค์ประกอบที่กล่าวมาข้างต้นอย่างน้อย 2 ใน 3 จึงจะเข้าข่ายการเป็นเผด็จการโดยเสียงข้างมาก ซึ่งการใช้เสียงข้างมากนี้ ไม่จำเป็นจะเป็นแค่ สส. ในสภาผู้แทนราษฎรเท่านั้น เช่น ในกรณีที่มีจำนวนเสียง สส. สนับสนุนในสภาฯ น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง หรือเกินกึ่งหนึ่งไม่มาก แต่มีวิธีการ หรือกระบวนการที่สามารถใช้องค์กรที่มีอำนาจทางการเมืองอื่นๆ นอกสภา ในการแสวงหาประโยชน์ส่วนตนและพวกพ้อง โดยไม่ฟังเสียงของประชาชน ก็ถือว่าเป็นรัฐบาลเผด็จการเสียงข้างมาก เช่นกัน
ส่วนคำว่า Elective Dictator หรือเผด็จการโดยใช้กลไกการเลือกตั้งนั้น ในชุมชนวิชาการสากลนิยามเผด็จการแบบ นี้ว่าหมายถึงรัฐบาลเผด็จการที่ใช้วิธีการประชาธิปไตยบางอย่างเพื่ออำพางเผด็จการของตน เช่น การใช้กระบวนการเลือกตั้งเป็นพิธีกรรมในการฟอกขาวให้ตัวเอง ซึ่งถ้าพิจารณาผิวเผิญก็จะเหมือนกับรัฐบาลที่เป็นประชาธิปไตยโดยทั่วไป เพราะมาจากการเลือกตั้ง แต่แก่นแท้แล้วเป็นการฟอกขาวของเผด็จการ โดยมีกติกาและองค์กรทางการเมืองอื่นๆ สนับสนุนในการกระรบวนการฟอกขาวดังกล่าว เพื่อสร้างความได้เปรียบให้กับฝ่ายของตน และพวกพ้อง และขณะเดียวกันก็จะสร้างข้อจำกัดให้กับฝ่ายตรงกันข้าม เพื่อทำให้ฝ่ายตนได้ชัยชนะในการเลือกตั้ง และเข้ามาสู่อำนาจ และใช้อำนาจเผด็จการต่อไป
คำว่า ‘เผด็จการ’ หมายถึงรูปแบบของรัฐบาลแบบหนึ่ง ซึ่่งดูได้จากลักษณะและฤติกรรมการบริหารงานของผู้นำรัฐบาลและคณะ ที่มีอำนาจเบ็ดเสร็จอยู่ผู้นำสูงสุดของรัฐบาล และการตัดสินใจและดำเนินการต่างๆ ของรัฐบาล ซึ่ง ถถ้าการบริหารรัฐบาลต่างๆ เหล่านั้นเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติและประชาขนส่วนใหญ่ ก็เป็นรัฐบาลที่ดีได้ แต่ถ้าการดำเนินการต่างๆ เป็นการจะมุ่งประโยชน์ส่วนตนและพวกพ้องมากกว่าประโยชน์ของประเทศชาติและประขาชน แล้วก็เป็นกรรมของประทศและประชาชน ซึ่งผมเคยเขียนเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างรัฐบาลเผด็จการกับรัฐบาลประชาธิปไตยในบทเขียนก่อนๆ แล้ว และจำนำมากล่าวถึงสั้นๆ ดังนี้
ผมเคยเขียนไว้ว่าความดี หรือความเลวของการใช้อำนาจนั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับรูปแบบของการได้มาซึ่งอำนาจของผู้มีอำนาจและใช้อำนาจดังกล่าว แต่อยู่ที่เป้าหมายและวิธีการใช้อำนาจเหล่านั้น ดังนั้นการเข้าตำแหน่งผู้นำ ไม่ว่าจะเป็นไปตามรูปแบบที่ได้ชื่อว่าเป็นเผด็จการ หรือประชาธิปไตย การมีและใช้อำนาจของผู้นำดังกล่าวก็อาจจะเป็นไปได้ทั้ง ‘ดี หรือเลว’ คือมีการใช้อำนาจเหล่านั้นเป็นไปเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติ และของคนส่วนใหญ่หรือไม่ หรือเป็นการทำเพื่อตนเองและพวกพ้องเป็นหลัก ความดี หรือเลวในการบริหารรัฐบาลอยู่ที่ความสามารถและคุณธรรมเฉพาะตนของผู้นำและพวกพ้อง แต่ความแตกต่างคือ หัวหน้ารัฐบาลในระบอบประชาธิปไตยนั้น ประชาชนมีสิทธิ์เลือกใหม่ได้ตามระยะเวลาที่กำหนด แต่หัวหน้ารัฐบาลที่เป็นเผด็จการนั้น ก็แล้วแต่เขาจะเอาอย่างไร จะเปลี่ยนแปลงหรือไม่ ออยู่ที่เผด็จการ ใช่ประชาชน ครับ
ที่เขียนเรื่องนี้ก็เพราะไม่อยากเห็นคนไทยใช้วาทกรรมนี้ อีกวาทกรรมหนึ่งเพื่อทำร้ายกันเองครับ
สมาน อัศวภูมิ
1 กันยายน 2567
ไม่มีความเห็น