ครอบงำ (dominate)


ระยะนี้คำว่า ‘ครอบงำ’ เป็นคำสำคัญที่นำใช่เป็นอาวุธ่ทางนิติสงคราม และวาทกรรมเพื่อด้อยค่านักการเมือง หรือ พรรคการเมืองที่เป็นฝ่ายตรงกันข้ามแบบคิดเอาเอง หรือตีความกันเอาเอง หรือสะใจตัวเอง ให้เห็นอยู่ไม่เว้นแต่ละวัน ดังนั้นในการเขียนเกี่ยวกับวาทกรรมที่สร้างปัญหาในวงการเมืองของไทยก็คงเป็นการนำเสนอที่ขาดเนื้อหาสำคัญไปอีกเรื่องหนึ่งแน่นนอน แต่ก่อนจะคุยกันในรายละเอียดต่อไปผมใคร่ขอนำบทบัญญัติของมาตรา 28 และ 29 ของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง ซึ่งเป็นต้นตอของประเด็นที่ต้องทำความรู้จัก และเข้าใจกันในบทเขียนวันนี้ ดังนี้ 

 มาตรา 28 ห้ามมิให้พรรคการเมืองยินยอม หรือกระทำการใด อันทำหน้าบุคคลอื่นซึ่งมิใช่สมาชิกกระทำการอันเป็นการควบคุม คอบงำ หรือชี้นำ กิจกรรมของพรรคการเมืองในลักษณะที่ทำให้พรรคการเมือง หรือสมาชิกขาดความอิสระ ทั้งนี้ไม่ว่าโดยทางตรง หรือโดยทางอ้อม 

มาตรา 29 ห้ามมิให้ผู้ใดที่ไม่ใช่สมาชิกทำการใดอันเป็นการควบคุม ครอบงำ หรือชี้นำกิจกรรมของพรรคการเมืองในลักษณะที่ทำให้พรรคการเมือง หรือสมาชิกขาดความอิสระ ทั้งนี้ไม่ว่าโดยทางตรง หรือโดยทางอ้อม 

ซึ่งจริงแล้วสิ่งที่ห้ามไว้ในสองมาตราดังกล่าวมี 3 คำ คือ ‘ควบคุม ครอบงำ หรือชี้นำ’ แต่ส่วนใหญ่จะพูดถึงเฉพาะประเด็น ‘คอบงำ’  หรือแถมด้วย ‘ชี้แนะ’ 

ผมเองไม่ใช่ผู้ร่างพรราชบัญญัตินี้ก็ไม่อาจจะเอาใจว่า จริงๆ ผู้ร่างพระราชบัญญัตินี้มีเจตนาอะไร แต่ผู้ไม่ได้ร่างกลับมาตีความและนำใช้สาระดังกล่าวเป็นอาวุธนิติสงครามกันอย่างที่เป็นอยู่ 

เพื่อให้ประเด็นนี้มีความชัดเจน และไม่ทำให้บทบัญญัติทั้งสองนี้สร้างปัญหาในทางการเมืองของไทยไปมากกว่านี้ ผมอยากขอร้องให้ผู้ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวออกมาให้ข้อมูลด้วยว่า ‘เจตนารมณ์ของทั้งสองข้อดังกล่าวคืออะไร’ และพฤติกรรมที่เรียกว่า ‘ควบคุม ครอบงำ และชี้นำ’ ที่ว่านั้นคือทำอย่างไร และผลที่เกิดจากการกระทำดังกล่าวดูได้จากอะไร หาไม่แล้วก็จะมีการเปิดพจนานุกรมเพื่อตีความกันอีก 

เอาเป็นว่าผมเปิดพจนานุกรมให้ก่อนก็แล้วกัน แม้ว่าผมจะไม่เห็นด้วยกับการใช้พจนานุกรมในการตีความบทบัญญัติของกฎหมายก็ตาม 

ควบคุม เป็นคำกิริยา หมายถึง ดูแล กำกับดูแล กั๊กขัง  ส่วนคำว่า  ครอบงำ  พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานนิยาไว้ว่าหมายถึง มีอำนาจหนือ บังคับให้เป็นไปตาม เช่น กิเลสครอบงำ เป็นต้น แลคำว่า ชี้นำ หมายถึง ชี้แนะ 

แต่การตีความกฎหมายก็คงตีความตามความหมายในพจนานุกรมอย่างเดียวไม่ได้ เราต้องนำกรรม (object) และบริบท (context)  ที่เกี่ยวข้องมาตีความร่วมด้วย ซึ่งถ้าจะดูกรรมของกริยา ‘ควบคุม ครอบงำ หรือชี้นำ’ ในมาตราที่ 28 และ 29 ที่กล่าวมาข้างต้น กรรมของกิริยาเหล่านี้ คือ ‘กิจกรรมของพรรค’ นั่นแปลว่า การควบคุม ครอบงำ หรือชี้นำ ที่ว่านั้นหมายถึงการควบคุม ครอบงำ หรือชี้นำ ‘กิจกรรมของพรรค’ และบริบทที่นำมาขยายคือ   ‘ในลักษณะที่ทำให้พรรคการเมือง หรือสมาชิกขาดความอิสระ’ ในการทำกิจกรรมเหล่านั้น เป็นต้น  ส่วนคำว่า ‘ทั้งนี้ไม่ว่าโดยทางตรง หรือโดยทางอ้อม’ หมายการกระทำทั้ง การควบคุม หรือการครอบงำ หรือการชี้นะ' กิจกรรมของพรรคนั้นจะเป็นการกระทำโดยทางตรง หรือโดยทางอ้อม ก็ผิด 

ดังนี้ถ้าจะเอาผิดกันเรื่องนี้ต้องพิสูจน์กันให้ได้ว่า ‘ควบคุม ครอบงำ หรือชี้นำ’ กิจกรรมใดของพรรค และการกระทำดังกล่าวทำให้พรรค หรือสมาชิกขาดความเป็นอิสระหรือไม่ 

ถ้าไม่ตีความให้ครอบคลุมดังกล่าวมานี้ การที่พรรคการเมืองไปรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน ซึ่งจะมีทั้งคนเป็นสมาชิก และไม่เป็นสมาชิก นั้นก็จะมีความผิดที่ยินยอมให้ประชาชนที่ไม่เป็นสมาชิกพรรคให้คำชี้แนะ และการที่หน่วยงานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นธนาคารแห่งประเทศไทน หรือ TDRI ที่ให้ความเห็นในเรื่องต่างๆ ถ้าพรรคการเมืองนำมาประกอบการตัดสินใจ ก็ต้องเข้าข่ายความผิดตามมาตรา 28 ครับ 

หวังว่าความเห็นข้างต้นจะทำให้นักร้องทั้งหลายโปรดอย่างร้องมั่วชั่ว และพรรคการเมืองได้แง่มุมในการสู้คดีนะครับ 

รักนะ ประเทศไทย 

หมายเลขบันทึก: 719292เขียนเมื่อ 1 กันยายน 2024 20:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 กันยายน 2024 20:16 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่าน


ความเห็น

May I add a few more words that may help learners of English?

With respect to Thailand’s political situation, the coalition government side is projecting the idea of ‘tutelage’ or tuition - that a ‘tutor’ (not a controller) is passing on the knowledge and guidance, but the opposition sees it in words like ‘manipulate’ (pull strings, or rig) [the actor is manipulator, puppeteer, rigger].

The word ‘dominate’ has more general and unbiased sense of larger, more, higher, even better quality of ‘control’. That sense need qualifications (like ‘for who’, for what, how [is it carried out],…), which depends on which side we’re on.

Honesty is the best ‘polity’. Sadly, we are struggling with ‘policy’ to get there.

If we let the politics run and shape naturally and patiently, I believe, it will, finally, fit in context and culture. But wherever there are many intervening actors , especially, by external force, we will hardly achieve what most people desire. At the same time, public good deeds are what everyone want realise, but people, individually, dream to achieve, but hardly unite to fight for what they want unless there is unbearable situation without another way out. Then, united fight for the dream begins. Thank you for your share.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท