ชีวิตที่พอเพียง  4678. PMAC 2024  13. ใช้ข้อมูลหลักฐาน ในการตัดสินใจและในการกำหนดนโยบาย


 

เช้าวันที่ ๒๓ มกราคม ๒๕๖๗ ผมตัดสินใจ (ตัดสินใจยากมาก เพราะมีเรื่องน่าฟังมากมาย) เข้าร่วมประชุมห้อง Side Meeting เรื่อง Integration of Traditional, Complementary and Integrative Medicine in the Institutionalization of Evidence-Informed Decision-making (EIDM)   เพราะมีความผูกพันกันมาก่อน ดังเล่าไว้ที่ (๑)  (๒)   (๓)    

อ่านจาก เอกสารการประชุม ผมตีความว่า ผู้จัด Side Meeting นี้ ต้องการสื่อว่า นอกจาก Evidence ที่เป็นความรู้สมัยใหม่แล้ว    ควรใช้ Real-World Evidence ที่เป็น Traditional Knowledge ด้วย    ซึ่งผมทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย    ที่เห็นด้วยคือ ความรู้ท้องถิ่น จากวัฒนธรรมประเพณีมีประโยชน์   ที่ไม่เห็นด้วยคือ การนำมาใช้โดยไม่ปรับให้เข้ากับบริบทปัจจุบันหรือยุคสมัย 

ข้างบนนั้น เขียนก่อนการประชุม    ถึงตอนประชุมจริงๆ แม้ผมจะประชุม ๒ เรื่องในเวลาเดียวกัน คืออีกประชุมหนึ่งประชุมออนไลน์    ผมก็ตื่นตาตื่นใจกับสาระของการประชุม    ที่ออกแบบมาอย่างดี และได้วิทยากรที่ได้ผ่านการปฏิบัติจริง   ตัวอย่างจริงมาจากประเทศบราซิลและไทย   ฟังแล้วได้ความรู้มากจริงๆ       

เริ่มจาก Tanja Kuchenmüller ผู้อำนวยการหน่วย Evidence to Policy and Impact, Research for Health - Science Division ขององค์การอนามัยโลก   กล่าวแนะนำ EVIPNet (Evidence-Informed Policy Network) ขององค์การอนามัยโลก   ที่ต้องการหนุนให้ประเทศสมาชิกมี ระบบ EIDM ฝังอยู่ในระบบนโยบาย    ที่เขาเรียกว่า EIDM Institutionalization เพื่อให้เป็นกลไกสร้างความต่อเนื่องยั่งยืนของ EIDM   ไม่ลุ่มๆ ดอนๆ หรือหายไปเมื่อเปลี่ยนขั้วการเมือง   

ตามด้วย ดร. มด คือ รศ. ดร. มุกดารัตน์ บางพัง ที่เป็นอาจารย์ด้าน Evidence ที่ UCL ลอนดอน    ที่มีความร่วมมือกับองค์การอนามัยโลก    เล่าเรื่อง Evidence ecosystems และ EIDM Institutionalization   ที่มีองค์ประกอบหลัก ๓ ตัวคือ culture, resources, governance    และองค์ประกอบรองอีก ๓ คือ standards and routinized processes; leadership and commitment;  และ partnership, collective action and support  ที่ผมอดเถียงในใจไม่ได้ว่า ตัวสำคัญที่สุดคือ การมีวัฒนธรรมเรียนรู้ร่วมกันจากการปฏิบัติ … Experiential learning culture   ร่วมกันสะท้อนคิด ตกผลึกหลักการหรือทฤษฎีจากการปฏิบัติ   โดยใช้ Kolb’s Experiential Learning Cycle 

ตามด้วยตัวอย่าง EIDM Institutionalization ของระบบสุขภาพไทย    เสนอโดย ดร. ทิพิชา โปษยานนท์ ผู้ช่วยเลขาธิการ สช.  ที่ชี้ให้เห็นว่า EIDM และ Citizen Engagement ได้ฝังอยู่ในระบบสุขภาพไทยอย่างแน่นแฟ้น (ดร. ทิพิชา พูดได้ดีมาก เตรียมมาอย่างดี)    และของบราซิล เสนอโดย Laura dos Santos Boeira  ผอ. ของ Institute Veredas เสนอเรื่อง Facilitating synergies in EIDM : engaging the public sector, academia and civil society    โปรดสังเกตนะครับ เขาใช้ทฤษฎีสามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขาโดยไม่รู้ตัว   ตรงกับที่ ดร. ทิพิชา เสนอไม่มีผิดเพี้ยน     

บราซิล ร่วมมือกับองค์การอนามัยโลกอย่างใกล้ชิด   มีการก่อตั้ง EVIPNet Brazil  และ Brazilian Coalition for Evidence    รวมทั้งยังก่อตั้งหน่วยงานด้าน evidence ในหลากหลายระดับ จำนวนมากมาย      

จากการกลับมาค้นต่อที่ห้องพัก    ผมได้เรียนรู้ว่า องค์การอนามัยโลกเน้นขับเคลื่อนเรื่องนี้ในอัฟริกา และอเมริกาใต้    ส่วนไทยเราพัฒนาขึ้นเอง โดยไม่รู้เรื่องขององค์การอนามัยโลก   ระบบของเราน่าจะ institutionalized แน่นแฟ้นกว่า    

ที่จริงในที่ประชุม เขาจับเรื่องการแพทย์ทางเลือกด้วย    ดร. ทิพิชา ก็เสนอพัฒนาการของระบบการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกในกระทรวงสาธารณสุขอย่างน่าประทับใจ   

ผมออกจากห้องประชุมก่อนการประชุมจะจบ   เพราะต้องไปฟังผู้ได้รับพระราชทานรางวัลบรรยายที่ศิริราชเวลา ๑๓.๓๐ น. 

วิจารณ์ พานิช

๒๔ ม.ค. ๖๗

ห้อง ๔๖๑๐  โรงแรมเซนทารา แกรนด์

 

หมายเลขบันทึก: 717559เขียนเมื่อ 11 มีนาคม 2024 16:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มีนาคม 2024 16:25 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

I think there is a subtle point in context of Evidence-informed Decision Making for this statement “ที่เห็นด้วยคือ ความรู้ท้องถิ่น จากวัฒนธรรมประเพณีมีประโยชน์ ที่ไม่เห็นด้วยคือ การนำมาใช้โดยไม่ปรับให้เข้ากับบริบทปัจจุบันหรือยุคสมัย”, where ‘informed’ (by evidence or facts/data) may cover the whole range of application from ‘verbatim’ copying to ‘pattern/fashion/application based on the concept’ (learning from evidence).

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท