สรุปบทเรียน การเป็น Facilitator การทำผลงานของพยาบาล


สรุปบทเรียนจากการเป็น FA พยาบาลที่เลื่อนระดับในตำแหน่งที่สูงขึ้น

อ่านบทความของท่านอาจารย์หมอวิจารณ์ พานิช

https://www.gotoknow.org/posts/717278

“ปริญญาของมหาวิทยาลัยมีหลายระดับ  ตรี โท เอก    ผลของการปฏิบัติทางพุทธศาสนาก็มีหลายระดับเช่นเดียวกัน    คือ ระดับหลุดพ้นชั่วครั้งชั่วคราว  ระดับหลุดพ้นจากกิเลสอย่างหยาบ และระดับหลุดพ้นจากกิเลสละเอียด  ไปจนถึงหลุดพ้นจากกิเลสอย่างถาวร ที่เรียกว่า นิพพาน”

  “คนเราจะมีปัญญาได้ต้องเน้นเรียนรู้จากการปฏิบัติ  การปฏิบัติอย่างน้อยสองชั้นคือ ชั้นฝึกปฏิบัติ (Concrete Experience)  กับชั้นทดสอบทฤษฎี (Active Experimentation)”

  ดังนั้นการทำผลงานเพื่อขอเลื่อนระดับที่สูงขึ้นของพยาบาลจะต้องปฏิบัติอย่างน้อยสองชั้น คือ 

  • ฝึกปฏิบัติจริงจากการฝังตัวในคลินิกจนเกิด insight ในงาน
  • มีการพัฒนาผลงานผ่านทฤษฏีทางการพยาบาล

สรุปบทเรียนจากการเป็น FA ของพยาบาลที่เร่งทำผลงานเพื่อเลื่อนระดับภายใน 180 วัน

  • พยาบาลจะต้องสร้างผลงานจากความรู้และประสบการณ์ที่ได้จากสั่งสมมาและมีการฝังตัวในคลินิกหรือมีการปฏิบัติมาอย่างยาวนาน
  • มีการสังเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวข้องจริงๆมาพัฒนาเป็นโปรแกรมการพยาบาลซึ่งเป็น Nursing Therapeutic เพื่อนำมาใช้กับผู้ป่วยกลุ่มที่เรารับผิดชอบ จนเห็นการเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติและยกผลลัพธ์ให้ดีขึ้นกว่าเดิม
  • มีการวางแผนเพื่อปรับปรุงวิธีการปฏิบัติที่ชัดเจน และเป็นระบบ (well design)
  • มีการพัฒนารูปแบบบริการใหม่ๆไปใช้ เพื่อยกระดับผลลัพธ์ของบริการ
  • หากทำโครงการที่ใช้ผลการวิจัยหรือหลักฐานเชิงประจักษ์มาแก้ไขปัญหาการปฏิบัติเป็น Research utilization / EBP จะทำให้การทำผลงานลื่นไหลดี ไม่ติดขัด 

ข้อเสนอแนะ

      เพื่อให้คนทำผลงานได้ลองลงมือทำ จะสำเร็จแน่นอน โดยมีข้อเสนอในการทำผลงานในช่วงใหม่ดังนี้ :-

  • ประเมินผลการปฏิบัติ (Practice Evaluation)
  • ประเมินผลโปรแกรม (Program Evaluation)
  • พัฒนาและประเมินผลแนวปฏิบัติ (CPGs)
  • พัฒนาและประเมินผลลัพธ์ของรูปแบบบริการ

……

อุบล จ๋วงพานิช

บันทึกไว้ให้กับพี่เลี้ยงและผู้จะทำผลงาน

หมายเลขบันทึก: 717283เขียนเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2024 05:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มีนาคม 2024 06:07 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

บทเรียน

งานวิเคราะห์ที่ส่ง ได้แก้ไขประเด็น 1) การพิมพ์หมายเลขหน้าส่วนหน้า ต้องใส่ ตัวอักษรทุกหน้า 2) ใช้คำว่า ผู้วิเคราะห์แทน ผู้ศึกษา 3) บทที่ 3 ไม่ใช้คำว่า ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม 4) อ้างอิงเก่าเกิน 5-10 ปี 5) การใส่คำหน้าชื่อคนที่กล่าวถึง ให้ใช้ นาง นางสาว

ชอบใจอันนี้ พยายามช่วยหลายๆๆคนได้มาก

ฝากแชร์ให้พยาบาลเมืองกาญจนบุรีด้วยนะคะ อ ขจิต

การพัฒนาแนวปฏิบัติของพยาบาล ขอให้ทำตามขั้นตอนในการพัฒนาตามแนวคิดที่นำมาใช้ จะได้ไม่สับสน ตรงไปตรงมา ที่สำคัญผลลัพธ์ในการประเมินผล ขอให้มั่นใจว่า เป็น nursing outcome ค่ะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท