ภาวะผู้นำกับการบริหาร (Leadership & Administration)


วันก่อนได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้กันกับเพื่อนร่วมงานและลูกศิษย์เกี่ยวกับผู้นำกับผู้บริหาร และภาวะผู้นำกับ การบริหารว่าเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร  และนำใช้ประโยชน์อย่างไรจากความเข้าใจดังกล่าว ซึ่งเป็นการเรียนรู้ร่วมกันที่ดีบทเรียนหนึ่ง จึงขอนำความเห็นของผมเกี่ยวกับเรื่องนี้มาบันทึกไว้ในบทเรียนผมดังนี้ 

เรื่องแรกในสังคมวิชาการของไทยใช้คำที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลการดำเนินงานขององค์การไปสู่ความสำเร็จและได้ประโยชน์ร่วมกันของทุกคนในองค์การ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียนั้นมี 4 คำครับ คือ การบริหาร การจัดการ การบริหารจัดการ และการใช้ภาวะผู้นำ ครับ

ผมไม่ค่อยเห็นด้วยในการรวมคำ ‘บริหาร กับ จัดการ’ เข้าด้วยการเป็น ‘การบริหารจัดการ’ เพราะถ้าเราสร้างคำใหม่ขึ้นมา เราก็ต้องอธิบายให้ได้ว่าต่างจากคำที่มีอยู่ คือ การบริหาร หรือ การจัดการ อย่างไร  แล้วเราจะสื่อสารในสากล เช่น ใช้ภาษาอังกฤษว่าอย่างไร เพราะคำว่าการบริหาร คือ administration และ การจัดการ คือ management แล้วคำว่า ‘การบริหารจัดการ’ เราจะใช้คำในภาษาอังกฤษว่าอย่างไร

จริงอยู่นักวิชาการทั้งไทย และต่างประเทศมีปัญหาในการใช้คำว่า การบริหาร และการจัดการ พอสมควร เช่น แยกไม่ได้ว่าสองคำนี้เหมือนหรือต่างกันอย่างไร  และอะไรดีกว่ากัน ผมก็เคยเขียนอธิบายเรื่องนี้ไว้หลายครั้ง แต่คงไม่นำมา กล่าวถึงในบทเขียนนี้ แต่ผมจะเลือกใช้คำว่า ‘การบริหาร’ เป็นหลัก ซึ่งก็จะหมายถึงการกำกับดูแลให้การดำเนินงานขององค์การบรรลุตามเป้าประสงค์ขององค์การ นั่นเอง

ในการที่จะกำกับดูแลให้การดำเนินงานขององค์การบรรลุตามเป้าประสงค์ หรือ purpose ขององค์การนั้นเดิมนั้นใช้การบริหารเป็นหลัก ส่วนจะบริหารโดยใช้วิธีไหน หรือกระบวนอย่างไรนั้นก็แล้วต่อความเชื่อในศาสตร์การบริหารของผู้บริหารองค์การนั้น แต่ในระยะต่อมามีความเห็นกันว่าการบริหารที่ดีควรเป็นการบริหารที่มีภาวะผู้นำ ซึ่งผมก็เห็นด้วยกับแนวคิดนี้ แต่ปัญหาคือมีความพยายามจะแย่งซีนกันระหว่างผู้เชียร์แต่ละแนวคิด ทั้งๆ ที่ความจริงแล้วทั้งสองแนวคิดเป็นศาสตร์และศิลป์ที่ควรใช้ร่วมกัน

การบริหารเป็นแนวคิดและวิธีการดำเนินการเพื่อกำกับดูแลให้การดำเนินงานบรรลุเป้าประสงค์ขององค์การเป็นหลัก กล่าวคือมุ่งความสำเร็จของงานเป็นที่ต้อง ซึ่งก็เป็นเรื่องดีครับ แต่ขณะเดียวกันก็พบว่าเพื่อนร่วมงานในองค์การอาจ จะเครียด หรือทำงานหนัก และไม่ค่อยมีความสุขเท่าที่ควร ยิ่งไปกว่านั้นงานที่องค์การทำอาจจะไม่ตอบสนองผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเท่าที่ควร จึงมีการนำเสนอแนวคิดภาวะผู้นำ และนำใช้ภาวะผู้ในการบริหารมากขึ้น  จนมีคนเสนอให้ใช้ภาวะผู้นำแทนการบริหารเลย แต่ผมก็ไม่ค่อยเห็นด้วยกับแนวคิดนี้มากนัก เพราะผมเห็นว่าต้องใช้ทั้งสองศาสตร์นี้ร่วมกันครับ 

สำหรับภาวะผู้นำนั้นเป็นศาสตร์และศิลป์ในการสร้างความเข้าใจ จูงใจ และกระตุ้นพลังจากภายในของบุคลากรในองค์การ และผู้เกี่ยวข้องให้ยินดีและร่วมมือในการดำเนินงานในองค์การเพื่อการบรรลุเป้าประสงค์ขององค์การร่วมกัน ซึ่งจะนำไปสู่สภาวะที่เรียกว่า ‘งานเสร็จและคนสุข’ 

การบริหารให้ความสำคัญกับภารงานที่ต้องการบรรลุ และกระบวนการที่จะทำงานให้สำเร็จ ส่วนภาวะผู้นำให้ความสำคัญกับความเป็นมนุษย์และพฤติกรรมการทำงานร่วมกันของสมาชิกองค์การ แต่จะใช้ศาสตร์และศิลป์ในแต่ละเรื่อง อย่างไรนั้นก็คือจักรวาลของศาสตร์และศิลป์ของทั้งสองเรื่องครับ 

ส่วนคำว่า ‘ผู้บริหาร กับ ผู้นำ’ นั้นมีประเด็นที่ควรทำความเข้าใจดังนี้

  1. โดยทั่วไปเราจะให้เกียรติ หรือเรียกผู้ที่ได้รับแต่งตั้ง หรือได้รับมอบหมายให้เป็นผู้บริหารงาน หรือผู้บริหารองค์การว่า ‘ผู้นำ’  แต่ก็ไม่ได้แปลว่าบุคคลคนนั้นเป็นผู้นำตามความหมายในศาสตร์ภาวะผู้นำ กล่าวคือ บุคคลดังกล่าวอาจจะมีหรือไม่มีภาวะผู้นำก็ได้  หรือมีภาวะผู้นำแต่อาจจะนำใช้ หรือไม่นำใช้ภาาวะผู้นำในการเป็นผู้บริหาร หรือบริหารงานก็ได้ ดังนั้นคำว่าผู้นำในความหมายนี้ จึงไม่ใช่ความหมายในความเป็นผู้นำตามศาสตร์ภาวะผู้นำแต่อย่างใด
  2. ผู้นำตามความหมายในศาสตร์ภาวะผู้นำนั้นหมายถึงบุคคลที่มีคุณลักษณะและความสามารถในการนำคนอื่นในการดำเนินการ หรือกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยใช้ความสามารถเฉพาะตน หรือศาสตร์ภาวะผู้ในการนำดังกล่าวก็ได้ และผู้นำดังกล่าวอาจะเป็นผู้ได้รับแต่งตั้ง หรือได้รับมอบหมายให้เป็นผู้บริหาร หรือไม่ได้เป็นผู้บริหารโดยตำแหน่งก็ได้
  3. ภาระกิจของผู้บริหาร และผู้นำตามข้อสองมีเป้าหมายเดียวกันคือการทำงานให้บรรละตามเป้าประสงค์ขององค์การ หรือของการนำ ดังนั้นถ้ามีการใช้ศาสตร์และศิลป์ของการบริหาร และการนำร่วมกันแล้ว เชื่อว่างานจะประสบผลสำเร็จยิ่งขึ้น และคนในองค์การ ตลอดจนผู้เกี่ยวข้องน่าจะร่วมมือในการทำหน้าที่อย่างเต็มใจ เต็มที่ และมีความสุขครับ 

รักนะจะบอกให้

สมาน อัศวภูมิ

9/12/2566

 

หมายเลขบันทึก: 716718เขียนเมื่อ 9 ธันวาคม 2023 06:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 ธันวาคม 2023 06:52 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

I still don’t see a clear distinction between จัดการ [manage] and บริหาร [administer] in the Thai sense/usage. In English (as I know) ‘manage’ = make/ask/order so that something is done [in the same sense as ‘cad’ (จัด) in Sanskrit – จัดการ is probably from cadkāra ?]; and ‘administer’ = care/maintain/lead so that a system or organization is ‘well’ [again in the same sense as ‘parihāra’ (บริหาร) in Pāli and Sanskrit – usually in the sense of ‘care’].

In English, a manager = one who ‘asks’ (subordinates) for things to be done; and an administrator = one who cares for something – s/he may ask someone else to do something to help his charge as a carer would do.

I distinguish the concept between manage or management and administrate (or minister) in a sense of theory rather than the root of the language in Thai and Sanskrit. Thai academic translate the word ‘manage’ as ‘จัดการ’ or ‘management as ‘การจัดการ​’ and ‘administrate’ as ‘บริหาร’ or ‘administration’ as ‘การบริหาร​​’ According to theories of both terms, three concepts are described and defined: (1) Administration is meant to use when we refer to ‘civil service administration’ while management is to ‘business management’, the roots of both concept are based on the same or similar theories. (2) Administration refers to oversee overall or the whole work organization, while specific or detail tasks of overseeing such work would refer to concept of ‘management’. (3) Another view on this matter said that both terms meant the same thing. However, if ‘administration’ is used, and we meant to get the work done. The translation of ‘การบริหา’ is ‘administration, and the translation of ‘การจัดการ’ is ‘management’.

Thank you.

It seems then that there are confusions (as you have noted) among academics and general public on the ‘higher sense’ of these words. I did not find better explanation in the Royal Institute Dictionary [2544BE version], where perhaps there should be.

Last night while I was responding to the feedback above I was so sleepy to keep my eyes open for I was a commentator in a seminar all day. Another concept I would like to mention is ‘การบริหารจัดการ’ which I used to write an article on the issue that if Thai academics would like to use การบริหารจัดการ’ to describe and add new concept to the field, they should invent a technical term for การบริหารจัดการ such as ‘administrative management’ similar to the second concept, referring to we oversee both overall administration and detail operation management. Thank rs for the every insight information and discussion of the terms in the aspect of language definitions and roots.

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท