ชีวิตที่พอเพียง  4546. ทำงานเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา  ๒๑๐. ประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้โดยโรงเรียนเอง


 

วันที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๖๖ กสศ. จัดการประชุมปรึกษาหารือโครงการความร่วมมือกับ CCE ในการร่วมกันพัฒนาระบบการประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักเรียน ที่โรงเรียนดำเนินการเอง     โดยทาง CCE เสนอให้ใช้ Platform for Innovative Learning Assessment – PILAที่พัฒนาโดยโครงการ PISA ของ OECD ที่เปิดให้หน่วยงานที่ไม่ใช่ธุรกิจใช้ฟรี     

ความก้าวหน้าสำคัญคือเครื่องมือนี้ใช้ทดสอบทางดิจิทัล ไม่ใช้กระดาษ    แถมยังมีระบบ AI ช่วยประมวลข้อมูลด้วย    ช่วยให้สะดวกต่อครูมาก   แต่เราต้องเอามาพัฒนาใช้ตามบริบทของเราเอง    พูดง่ายๆ ว่า น่าจะใช้เวลาราวๆ ๓ ปีดำเนินการโครงการนี้ในประเทศไทย   โดยให้โรงเรียนนำร่องดำเนินการแบบมีพี่เลี้ยงคอยเป็นเพื่อนร่วมเรียนรู้และพัฒนา    ของเดิมเขาเป็น PILA เพราะดำเนินการโดย PISA   ของไทยเราน่าจะเป็น TILA – Thailand Innovative Learning Assessment   หรือจะใช้ชื่อ “ไอ้หล้า” - EILA – EEF Innovative Learning Assessment ก็ย่อมได้    

ผมจินตนาการว่า เราหนุนให้แต่ละกลุ่มโรงเรียนที่สมัครเข้าร่วม ร่วมกันพัฒนาระบบ “ไอ้หล้า”   ให้มีสัก ๑๐ กลุ่ม กระจายอยู่ทั่วประเทศ   มีสมาชิกกลุ่มละ ๑๐ - ๒๐ โรงเรียน    แล้วมีกลไกนำผลมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันปีละ ๒ ครั้ง    ในที่สุดในปลายปีที่ ๓ ก็น่าจะได้ โมเดล “ไทหล้า” ให้แต่ละโรงเรียนปรับใช้   

อ่านจากเอกสารข้อเสนอของ CCE แล้ว    ผมเข้าใจว่า PILA จะช่วยส่งแรงหนุนทางอ้อมให้เกิดการจัดการเรียนรู้เชิงรุกไปในตัว    และจะมีการเพิ่มสมรรถนะอีกบางตัวที่เรายังไม่ค่อยได้พูดถึงกัน เช่น computational thinking    และเราสามารถเพิ่มสมรรถนะที่เราต้องการเน้น    กล่าวคือ “ไทหล้า” จะช่วยการบูรณาการการเรียนรู้กับการประเมินเข้าด้วยกัน    โดยที่การประเมินเป็นทั้ง AfL, AaL และ AoL  คือเป็นทั้ง formative และ summative 

เขาบอกว่า PILA platform  เป็น co-creative space ของครู   ที่ผมเตรียมหาข้อมูลจากการประชุมว่า เราจัดห้องทำงานสร้างสรรค์ร่วมของ “ไทหล้า” ได้ไหม    และซอยห้องย่อยเป็น “ไทหล้า ๑”  “ไทหล้า ๒” ... ได้ไหม   โดยที่เราใช้ภาษาไทยในการ “โส” กัน   

เนื่องจาก PILA เน้นประเมินนักเรียนอายุ ๑๕ ปี ซึ่งเรียนระดับมัธยม   เราจึงควรหารือกันจัด  “ไทหล้ามัธยม” ขึ้นสัก ๒ - ๓ เครือข่าย จะดีไหม             

ผมเตรียมไปเสนอว่า ทีมไทยต้องนัดหารือกัน ว่าจะคิดโครงการอย่างไร   เราคงไม่มอบให้ CCE คิดให้    หลักการสำคัญคือ ต้องให้โรงเรียนคิดเอง ลองเอง โดยมีคู่คิด   และร่วมกันคิด ร่วมกันลองเป็นเครือข่ายโรงเรียน    ทำงานระยะยาว ๓ ปี    ทำไปเรียนรู้ไป   

ข้างบนนั้น เขียนก่อนการประชุม   

ในการประชุม ทีม CCE เสนอสั้นมาก    ทีมไทยตั้งคำถามมาก    ที่สะท้อนทั้งข้อจำกัดในระบบ  และในด้านกระบวนทัศน์    ซึ่งก็ช่วยให้ข้อมูลแก่ทีม CCE และทีม กสศ. ในการคิดโครงการต่อไป   ผมเพิ่งเข้าใจว่า การประชุมนี้มีเป้าเพื่อให้ผู้ทางคุณวุฒิที่มาร่วมประชุมได้ให้ความเห็นชอบให้เดินต่อ   คือเขียนโครงการที่ชัดเจนเอามาพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง   

สำหรับผม นี่คือโครงการที่ผมรอคอยสำหรับเป็นเครื่องมืออีกชิ้นหนึ่งของ TSQM (ตอนนี้อยากให้เรียก TSQN - Network มากกว่า)   ที่มีการพัฒนาเครื่องมือประเมินให้ครูใช้หมุนวงจรเรียนรู้จากการปฏิบัติงานของตน    และใช้ข้อเรียนรู้เป็น feed forward พัฒนาวิธีทำหน้าที่ครูอย่างต่อเนื่อง 

ชื่อเป็นเรื่องการประเมินนักเรียน  แต่เป้าหมายที่อยู่เบื้องหลังคือการเรียนรู้ของครู    และการเป็นผู้ก่อการ (agency) ของครู    ที่ในวันนี้ไม่มีการเอ่ยถึง    ผมบอกตัวเองให้ประหยัดคำที่สุด  ฟังให้มากที่สุด    สำหรับทำความเข้าใจบริบทของโครงการ    เตรียมไว้หนุนโครงการ (อยู่ห่างๆ) ต่อไป 

หนุนเครือข่ายครูและโรงเรียนพัฒนาตนเอง – TSQN    ด้วยเครื่องมือประเมินผลงานของตนเอง    ที่เป็นเครื่องมือหนุนการเรียนรู้จากการทำงาน และหนุนวิธีจัดกระบวนการเรียนรู้ให้แก่นักเรียน   โดยครูและโรงเรียนแกนนำที่สมัครเข้าร่วม เป็นผู้ร่วมกันพัฒนา   

วิจารณ์ พานิช 

๒๑ ก.ค. ๖๖  ปรับปรุง ๒ ก.ย. ๖๖   

 

หมายเลขบันทึก: 714317เขียนเมื่อ 5 กันยายน 2023 18:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 กันยายน 2023 18:18 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

We have a ‘preprocessing issue’ of language in PILA. Rendering PILA into Thai with Thailand context probably requires considerable effort in time, and other resources. alternatively, upskilling Thailand children to become competent enough to perform PILA (in English and Western context) requires more efforts. The latter would of course be far more beneficial to the students in more ways than just statistics.

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท