เพื่อครูและนักเรียน เป็นนักพัฒนาตนเอง  17. ใช้การประเมินหนุนการเรียนรู้เชิงรุก


 

 

บทที่ ๗  ใช้การประเมินหนุนการเรียนรู้เชิงรุก

ครูยุคใหม่ใช้พลังการประเมินเพื่อหนุนการเรียนรู้ของนักเรียน  และหนุนการทำหน้าที่ครูฝึกหรือโค้ช    โดยใช้ประโยชน์ของการประเมิน (assessment) เพื่อประโยชน์อย่างน้อย ๓ ประการคือ (๑) ประเมินเพื่อหนุนการเรียนรู้ของนักเรียน  (๒) ประเมินเพื่อตรวจสอบว่านักเรียนบรรลุผลการเรียนรู้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้  และ (๓) ฝึกให้นักเรียนประเมินการเรียนรู้ของตนเองเป็น เพื่อนำมาปรับปรุงวิธีเรียนรู้ของตน   

การประเมินเพื่อหนุนการเรียนรู้ของนักเรียน (Assessment for Learning – AFL)  เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Formative Assessment   อาจเรียกชื่อในภาคไทยว่า การประเมินเพื่อพัฒนา   มีรายละเอียดในหนังสือ ประเมินเพื่อมอบอำนาจการเรียนรู้    และใน บล็อก https://www.gotoknow.org/posts/tags/dylan_wiliam     มีหลักการคือ ครูสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนทั้งห้อง และของนักเรียนเป็นรายคนอยู่ตลอดเวลา   และใช้ข้อมูลนั้นคิดหาวิธีให้การป้อนกลับ (feedback)  อย่างสร้างสรรค์ (Constructive Feedback)    เพื่อหนุนการเรียนรู้ของนักเรียน

การประเมินเพื่อตรวจสอบผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักเรียน (Assessment of Learning)  เรียกชื่อกันทั่วไปว่า Summative Evaluation   เป็นการประเมินที่ฝังอยู่ในวัฒนธรรมการศึกษาไทย    ที่ใช้เฉพาะการประเมินแบบนี้เป็นหลัก   ละเลยการประเมินแบบอื่น    ทำให้วงการศึกษาไทยไม่ได้ใช้พลังของการประเมินอย่างครบถ้วน     

วิจารณ์ พานิช

๓๐ เม.ย. ๖๖

ห้อง ๑๖๐๒  อาคารเฉลิมพระเกียรติ  โรงพยาบาลศิริราช 

 

 

หมายเลขบันทึก: 713088เขียนเมื่อ 7 มิถุนายน 2023 18:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2023 18:44 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

I am reminded of a story of ‘some aged-care systems in Japan’ where robots are used to monitor residents in care. At one nursing home, a mobile robot goes from room to room during night time to silently observe sleeping residents and to report abnormal conditions to the charge nurse at control point. Another nursing home use robot toys (assigned to each residents as ‘pet’ to look after and ‘pal’ to talk to), the robot also monitor residents’ health indicators and report.

Would smart wristbands that can monitor students’ health, location, motion, and communication, and etc be developed and used in education? In stead of relying on ‘teachers’ to do assessments? Today’s mobile phones have capacity to be used as such while wrist-bands’ capacity is still much less but developing fast. Social and cultural impacts would be high and controversial.

To jump ahead, maybe we need a push first. ;-)

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท