สิ่งที่สมาชิกสหกรณ์ควรรู้เมื่อเกิดหนี้เสียในสหกรณ์


หนี้ค้างหนี้เสียและสูญ

เป็นสิ่งที่สหกรณ์และสมาชิกควรรู้

...

ถ้าเกิดขึ้นในสหกรณ์แล้วทั้ง 2 ฝ่าย

ก็ละเหี่ยใจ เสมือนมีตราบาป

..

เมื่อพูดถึงสหกรณ์ในประเทศไทย

ต้องคิด พูด เขียน และทำให้ครอบคลุมทั้ง 2 ส่วน

ทั้งภาคราชการสหกรณ์ และภาคสหกรณ์

ที่เป็นของประชาชน เพราะทั้งสองเป็นตัวแปรตาม

กันและกันเสมอ

ภาคราชการสหกรณ์ต้อง คอยดูแล สนับสนุนส่งเสริม

ในส่วนที่สหกรณ์ภาคประชาชนดำเนินการ

และจำเป็นต้องให้การช่วยเหลือ เพื่อให้สหกรณ์นั้น

มีความเจริญก้าวหน้า ให้เป็นตามหลักการและ

ค่านิยมสหกรณ์นำไปเป้าหมายชีวิตของสมาชิก

ตามอุดมการณ์สหกรณ์ที่วางไว้

ในขณะเดียวกัน ภาคราชการสหกรณ์ ก็จำเป็นต้อง

มีอำนาจในการกำกับ ให้สหกรณ์ภาคประชาชน

ดำเนินการด้านต่าง ๆ ให้เป็นไปตาม พ.ร.บ.

สหกรณ์ ข้อบังคับ ระเบียบ รวมไปถึงคำสั่ง

นายทะเบียนสหกรณ์ ทั้งนี้เพื่อไม่ให้สหกรณ์

ดำเนินการออกนอกแนวทางระบบของสหกรณ์

ที่อาจจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อสมาชิกและ

สหกรณ์เอง

...

ดังกรณี ที่หลายคนเป็นห่วงเรื่อง

การสำรองหนี้สูญก็ดี ถ้ามองทั่ว ๆ ไปก็ไม่น่า

จะน่ากลัวอะไร แต่สภาพความเป็นจริงแล้ว

หนี้ค้าง หนี้สูญ และหนี้เสีย เปรียบเสมือน

โรคติดเชื้อในกระแสโลหิต ที่มองไม่เห็น

แต่ร้ายแรงถึงขึ้นเสียชีวิต ในระบบสหกรณ์

หนี้หรือเงินที่ปล่อยให้สมาชิกกู้นั้น เสมือน

เลือดที่หล่อเลี้ยงสหกรณ์ ให้ดำรงอยู่ได้

เมื่อเลือดเสีย และไม่สามารถนำไปเลี้ยง

อวัยวะต่าง ๆ ได้ อาการต่อมาก็จะเกิด

การติดเชื้อในกระแสโลหิตแล้วอาการจะหนัก

เช่นเดียวกับการดำเนินงานสหกรณ์

แรก ๆ อาจจะมีสมาชิกมีหนี้ผิดนัดและกลายเป็น

หนี้เสีย เพียง 2-3 คน ก็ดูอาการแล้วก็ไม่หนักหนาสากรรจ์

และยังคงปรากฏอยู่ในงบการเงิน ถ้าสหกรณ์ไม่ให้สนใจ

ไม่เร่งรัดติดตาม ถือว่าอย่างไรสมาชิกก็ต้องเอามาคืน

ต่อไปก็จะรุกลามมีจำนวนมากขึ้น จะปรากฏให้เห็นชัด

ก็ต่อเมื่อสหกรณ์ขาดสภาพคล่องทางการเงิน

และต้องหาเลือดภายนอกเข้ามาเติม

โดยการไปกู้จากแหล่งภายนอก

ยิ่งถ้าเป็นสถาบันการเงินไหนที่มีนักวิเคราะห์เก่ง ๆ

ขอเพียงงบแสดงฐานะการเงิน ย้อนหลังของสหกรณ์

มาดูสัก 3-5 ปี แม้สหกรณ์จะมีการแปลงหนี้เป็นหนี้ใหม่

เขาก็มองออก และโอกาสที่จะไม่ได้รับความร่วมมือ

นอกจากสหกรณ์จะกู้กันเอง โดยไม่ค่อย

จะสนใจในเรื่องการวิเคราะห์ เรื่องหนี้เสีย นั้น

หนี้เสียก็จะการเป็นหนี้สูญเหมือน เลือดเสียแล้ว

ติดเชื้อในกระแสโลหิต ทำให้เราเสียชีวิตได้

ฉันใดก็ฉันนั้น โอกาสที่สหกรณ์จะล้มลง

หรือพากันล้มเหลวทั้งขบวนการสหกรณ์ก็เป็นได้

..

ผู้ที่มีหน้าที่บริหารจัดการสหกรณ์ ควรทำความเข้าใจ

กับสมาชิกที่มีหนี้ค้างให้เข้าใจ และหมั่นติดตามเร่งรัด

ต้องตระหนักอยู่เสมอว่า หากเราปล่อยให้หนี้ค้างจาก

รายสองรายแล้วไม่มีการติดตามไม่เคลื่อนไหว ต่อไป

จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนกลายเป็นหนีเสีย และเกินกำลัง

จะส่งผลต่อความล้มเหลวของระบบสหกรณ์อย่างแน่นอน

และกระทบต่อการกำกับดูแลของภาคราชการสหกรณ์ด้วย

จึงหน้าเห็นใจด้วยกันทั้งสองฝ่าย

ผู้รับผิดชอบสหกรณ์ทั้ง 2 ภาค ควรตระหนักรู้และ

ร่วมมือกันแก้ปัญหาหนี้ค้าง หนี้เสียและหนี้สูญ

อย่าให้เกิดขึ้นหรือเกิดขึ้นน้อยที่สุดเป็นการดี

...

ติดตามหนี้กันทุกเดือน

เก็บและรายงานข้อมูล ความเคลื่อนไหวของ

หนี้ถึงกำหนดชำระหนี้ค้าง หนี้เสีย ทุกเดือน

มีแผนการทำงานออกเร่งรัดที่ชัดเจน

มีการรายงานทุกเดือน จำนวนลูกหนี้ยอดเงิน

ที่ได้รับจากหนี้พึงชำระ หนี้ค้าง หนี้เสียและหนี้สูญ

กำหนดตัวเลย จำนวนรายคนที่จะออกไปติดตาม

และรายงานถึงพฤติกรรมของลูกหนี้ประกอบ

เพื่อหายุทธวิธีติดตามอย่างต่อเนื่อง สำหรับ

ผู้กู้ถึงแก่กรรม ผู้กู้เจ็บป่วยชั่วคราว ผู้กู้ทุพลภาพ

ไม่สามารถชำระหนี้ได้ถาวร ผู้กู้ไม่ได้อาศัยในพื้นที่แล้ว

ผู้กู้ยังมีตัวตนแต่ไม่ยอมชำระหนี้

ผู้กู้ที่ตกปากรับคำว่าจะมาชำระหรือให้สหกรณ์ตามไปเก็บ

ที่บ้าน ก็ต้องรักษาวินัยติดตาม ถ้าไม่มาหรือไปแล้วไม่เจอตัว

ก็ให้ทำบันทึก และปรับยุทธวิธีตามที่เห็นสมควร

..

ส่วนหนี้ที่มีการยืมมือกู้ หรือหนี้ที่ทำสัญญาขึ้นเพื่อ

ปกปิดการทุจริตของ เจ้าหน้าที่คนก่อนที่ทำไว้

ถ้าตรวจเจอควรให้ ชำระให้เสร็จสิ้นทันที

เพราะผู้กระทำได้ออกไปอย่างลอยนวลแล้ว

ถ้าผิดสัญญาก็ควรดำเนินการขั้นเด็ดขาดครับ

ไม่ใช่ปล่อยไว้ให้เป็นหนี้สูญ

..

ส่วนค่าใช้จ่ายและเทคนิควิธีให้ขึ้นอยู่กับแต่ละสหกรณ์

...

ยังไงเสีย ต้องตระหนักรู้และให้ความสำคัญ

อย่าปล่อยปละละเลย ครับ

..

หมายเหตุ การลดหนี้เสียอีกประการหนึ่งถ้าทำได้

คือการเปลี่ยนค่านิยม

หมายเลขบันทึก: 713000เขียนเมื่อ 31 พฤษภาคม 2023 18:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 พฤษภาคม 2023 18:00 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท