Narratives ด้านการศึกษาของไทย


 

วันเสาร์ที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๖๖ มีการประชุม Education Journey Forum ครั้งที่ 8   ซึ่งเป็นครั้งสุดท้ายของโครงการที่ สกสว. สนับสนุน รศ. ดร. อภิชาติ พวงสำลี ให้ดำเนินการเพื่อหาโจทย์สำคัญๆ ด้านการศึกษา ที่จะส่งผลยกระดับคุณภาพการศึกษาไทย    ครั้งนี้ว่าด้วยเรื่อง “กระบวนการขับเคลื่อนนโยบายและการเปลี่ยนแปลงการศึกษาเชิงระบบ” 

ผมติดใจการนำเสนอผลงานวิจัยเรื่อง เรื่องเล่า (narratives) ในการปฏิรูปการศึกษา  โดย ผศ. ดร. นภนต์ กุมภา แห่งคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์   และติดใจประเด็นความจริงในสังคมไทยที่เรื่องเล่าด้านการศึกษา มาจากภาคนโยบายที่ส่วนกลางเป็นหลัก   ไม่มีเรื่องเล่าที่มาจากครูคนเล็กคนน้อยที่ทำงานสร้างอนาคตของศิษย์อย่างน่าชื่นชม   

ผมพยายามเชียร์ให้ กสศ. ทำเรื่องนี้ มาสองสามปี ก็ยังไม่สำเร็จ   

จึงหันมาเชียร์ทีมงานของ ดร. อนุชาติ ว่าในโครงการระยะที่ ๒ น่าจะมีชุดโครงการวิจัย ที่เข้าไป verify & ให้ความมั่นใจครูและโรงเรียนที่สร้างนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ของตนเอง และศิษย์มีผลลัพธ์การเรียนรู้ (VASK) ยกระดับขึ้น   แล้วเอามาสร้าง narratives ในสังคมไทย และวงการศึกษาไทย   เป็น narratives จากฐานราก    ยิ่งได้โรงเรียนโนเนม จะยิ่งส่งผลต่อการสร้างการยอมรับการริเริ่มสร้างสรรค์โดยโรงเรียนเอง   

สังคมไทยต้องการเรื่องเล่า ที่ช่วยสร้างความกล้าหาญของครูและทีมงานในโรงเรียน   ที่จะคิดและลองวิธีการจัดการเรียนรู้แบบใหม่ๆ    เพื่อสร้างสมรรถนะหรือ VASK  และ future skills  หรือ transferable skills ให้แก่นักเรียน

วิจารณ์ พานิช

๒๒ เม.ย. ๖๖

ห้องรับรองการบินไทย สนามบินสุวรรณภูมิ  ระหว่างรอขึ้นเครื่องบินไปโคเปนฮาเกน   

   

หมายเลขบันทึก: 712914เขียนเมื่อ 24 พฤษภาคม 2023 17:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 พฤษภาคม 2023 17:44 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ผมชื่นชมกับสิ่งที่ อ.วิจารณ์ นำเสนอ และน่าจะมี narratives หลากหลาย เมื่่อก่อนเคยได้ทราบว่ามีโครงการหนึ่งให้กล้องถ่ายรูปกับเด็กในโรงเรียนชนบทแห่งหนึ่ง เพื่อให้เขาบันทึกภาพสภาพสิ่งแวดล้อมของเขา ตามที่เขาคิด แล้วนำมาประมวลเป็นเรื่องราวของสิ่งแวดล้อมในภาพรวมที่ครูเป็นคนจัดทำอีกที ผมไม่แน่ใจว่าสิ่งที่ดีแบบนี้ยังทำอยู่หรือไม่ และเป็น narratives ได้อย่างที่ผมเข้าใจหรือเปล่าครับ….วิโรจน์ ครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท