ประเทศไทยปัจจุบัน ในสายตาอดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ดร. ธาริษา วัฒนเกส


ประเทศไทยปัจจุบัน ในสายตาอดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ดร. ธาริษา วัฒนเกส 

14 กุมภาพันธ์ 2566

ขอแสดงความคิดเห็นในเรื่องที่ Financial Times ชื่นชมว่าไทยมีเสถียรภาพดีมากเรื่องค่าเงินและการดูแลเงินเฟ้อคะ (https://www.ft.com/content/f280de11-48c7-4526-aa92-ad1e1b7b6ed1

เศรฐกิจมหภาคของไทยค่อนข้างดี มีการระมัดระวังความเสี่ยงพอสมควรหนี้ภาครัฐและภาคธุรกิจไม่สูง แม้หนี้ภาคครัวเรือนยังสูงอยู่ ความมีเสถียรภาพด้านค่าเงินและเงินเฟ้อก็เป็นจุดแข็งเหมือนที่เป็นข่าวข้างต้น 

แต่เราจะต้องไม่เป็นปลื้มจนมองข้ามไปว่าปัญหาสำคัญของเราคือไม่สามารถก้าวออกจาก middle income trap และมีความไม่เป็นธรรมในการกระจายรายได้และทรัพย์สิน ความไม่เท่าเทียมมีสูงมาก ไม่เฉพาะทางด้านศกแต่ทางด้านสังคมด้วย 

เรามีสองมาตรฐานในการบังคับใช้กฎหมาย การใช้สถานะพิเศษทางเศรษฐกิจและสังคมหลีกเลี่ยงการปฏิบัติตามกติกาที่ควรจะเป็นของสังคมมีมากมาย ความไม่เป็นธรรมเหล่านี้เมื่อสะสมมากขึ้นไปเรื่อยๆมีโอกาสที่จะเกิดความรุนแรงในภายภาคหน้า

ยิ่งขณะนี้สังคมมีการแบ่งแยกสูงทั้งภายในเจนเดียวกันและระหว่างเจนเก่าและเจนใหม่ทั้งแนวคิดในด้านการเมือง รูปแบบและสปีดในการเปลี่ยนแปลงด้านการเมืองและสังคม โอกาสความขัดแย้งจึงมีสูง โจทย์ใหญ่คือเจนเก่าต้องใจกว้างมากขึ้น รับฟังเจนใหม่มากขึ้น ยอมรับว่าเจนใหม่ต้องมีส่วนในการกำหนดอนาคตของเขา ขณะเดียวกันเจนใหม่ต้องใจเย็นมากขึ้น ใจกว้างรับฟังประสบการณ์และการเตือนสติของเจนเก่ามากขึ้น ไม่คิดว่าเจนเก่าหัวโบราณรับไม่ได้ไปหมด เรื่องอย่างนี้ต้องมีเวทีที่จะพูดคุยกัน มีกระบวนการที่จะกระตุ้นให้ประชาชนมีความสนใจในเรื่องเหล่านี้ รู้จักทั้งสิทธิและหน้าที่ มีกระบวนการและกลไกที่จะ voice เสียงของตัวเอง และเมื่อเสียงโดยรวมดังขึ้นๆ ก็จะนำไปสู่การปรับเปลี่ยน 

ปกตินี่คือกระบวนการของประชาธิปไตย แต่กระบวนการของประชาธิปไตยจะทำงานได้ ประชาชนต้องมีการศึกษาที่ดีที่ทำให้มีมาตรฐานจริยธรรมสูง รู้ผิดชอบชั่วดี ละอายที่จะทำผิด รู้สิทธิและหน้าที่ ประนามคอรัปชั่นและสิ่งไม่ชอบธรรมทั้งหลาย เรียกร้องให้แก้ไขความไม่ถูกต้องในสังคม รู้ว่าต้วเองมีสิทธิ์ที่จะมีชีวิตที่ดีกว่านี้และมีทักษะมีวิชาชีพที่จะทำให้ชีวิตดีขึ้นกว่าที่จะรอเงินข่วยเหลือจากรัฐ

จะเห็นว่าประเทศที่ก้าวพ้นความยากจนไปแล้วไม่ว่าจะเป็นสิงคโปร์ ไต้หวัน เกาหลี (ซึ่งจนกว่าไทยเมื่อ 40-50 ปีก่อน) มาเลเซียล้วนมีระบบการศึกษาที่ดี จึงทำให้ประชาชนมีคุณภาพดังกล่าวข้างต้น เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมผ่านกระบวนการประชาธิปไตย เกาหลีซึ่งเคยมีปัญหาคอรัปชั่นสูง ปัจจุบันเป็นภาพของความโปร่งใส ผู้บริหารระดับสูงสุดของประเทศที่คอรัปชั่นก็ถูกดำเนินคดีไม่มีข้อยกเว้น บางคนถึงขั้นละอายแก่ใจและเลือกการฆ่าตัวตายแทน เวียตนามก็มีการกวาดล้างคอรัปชั่นอย่างหนัก น่าเสียใจที่ระบบการศึกษาของเราซึ่งได้รับงบประมาณสูงสุดของประเทศมาทุกปี ขาดทั่งการอบรมบ่มเพาะเรื่องจริยธรรม สิทธิและหน้าที่ ความเป็นธรรมและถูกต้องทางสังคมและทักษะในการพัฒนาชีวิตให้ดีขึ้น ประชาชนทั่วไปได้เสพแต่ข่าว และสื่อต่างๆที่มีแต่ความบันเทิงมากกว่าสาระ เราจึงยังย่ำอยู่กับที่ 

ถ้าเรายังไม่ปฏิรูปการศึกษาให้ประชากรของเรามีคุณภาพดีขึ้นทั้งในด้านจริยธรรม มีจิตสำนึก คิดถึงสังคมและเศรษฐกิจโดยรวม และมีทักษะทางวิชาชีพ โอกาสที่จะก้าวออกจาก middle income gapดูหริบหรี่ และเสถียรภาพทางสังคม และเศรษฐกิจที่ยังดูเหมือนดีอยู่ในขณะนี้จะรังแต่ลดน้อยลงไปเรื่อยๆอย่างน่าเป็นห่วง

การพัฒนาคุณภาพของประชากรให้เป็นทั่งคนดีและคนเก่ง ไม่เพียงแต่จะต้องปฏิรูปการศึกษาเท่านั้น แต่ influencer ในทุกระดับและทุกวงการจะต้องชทวยกันเป็นเยี่ยงอย่างและสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของการยกระดับจริยธรรมของสังคมไทย เป็นที่น่ายินดีว่าในขณะนี้มีการเปิดโปงความไม่ถูกต้องในสังคมมากขึ้น เรามาช่วยกันทำให้เรื่องนี้เป็นกระแส ที่จะสร้างแรงกดดันในการแก้ไขความไม่ถูกต้องอย่างต่อเนื่องและเร่งด่วนต่อไป

ธาริษา 

(ในการสนทนาอย่างไม่เป็นทางการระหว่างกรรมการสภาฯ มจธ.)

หมายเลขบันทึก: 711698เขียนเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2023 14:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2023 14:54 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท