ประวัติศาสตร์ : ศาสตร์ว่าด้วยการตีความประสบการณ์ของมนุษย์ 


 

ผมอ่านหนังสือ วินัย วิจัย วิพากษ์ ดร. วินัย พงศ์ศรีเพียร บรรณรฤกในงานฌาปนกิจ ดร. วินัย พงศ์ศรีเพียร ๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๕ ด้วยความทึ่งในความปราดเปรื่องของ ดร. วินัย

มาสะดุดใจที่ข้อความในหน้า ๗๐  “นักประวัติศาสตร์ถือว่า วรรณคดีแต่ละเรื่องเป็นเอกสารประวัติศาสตร์ประเภทหนึ่ง   เพราะช่วยให้มองเห็นประสบการณ์ของมนุษย์ได้เป็นอย่างดี   ...”    นำสู่ชื่อบันทึกนี้ 

ช่วงยี่สิบปีที่ผ่านมา ชีวิตของผมสนุกอยู่กับการสะท้อนคิดตีความ เรื่องราวต่างๆ    ทั้งที่เป็นประสบการณ์ตรงของตนเอง    และที่ได้รับจากแหล่งต่างๆ    แล้วเขียนลง บล็อก Gotoknow.org อย่างที่กำลังทำอยู่นี้    พบว่าช่วยสร้าง การเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง (transformative learning) ให้แก่ตัวผมเป็นอย่างมาก    รวมทั้งน่าจะช่วยชะลออาการชราภาพด้วย   

สองสามปีที่ผ่านมา ผมจึงพบทฤษฎีที่อธิบายสิ่งที่ผมทำ ว่าคือ Kolb’s Experiential Learning Cycle   ที่ส่วนสำคัญคือ การสะท้อนคิดสู่หลักการหรือทฤษฎี (abstract conceptualization)    เป็นการใช้ประสบการณ์ช่วยให้เกิดการเรียนรู้ระดับหลักการหรือทฤษฎี    ซึ่งผมตีความว่า เป็นเส้นทางสู่ปัญญา    เป็นวิธีทำให้เกิดการสร้างปัญญาจากประสบการณ์ 

มาพบการตีความประวัติศาสตร์  และคุณค่าของการอ่านวรรณคดี ในฐานะแหล่งบันทึกประสบการณ์ของมนุษย์ในอดีต   ในบทความของ ดร. วินัย ผมจึงตาลุก  ว่าวงการศึกษาไทยตีความวรรณคดีและประวัติศาสตร์ตื้นอย่างน่าเสียดาย    คือตีความอยู่แค่ระดับวรรณศิลป์ และระดับเรื่องราว    ไม่ตีความลึกไปสู่การทำความเข้าใจบริบทของชีวิตผู้คนในอดีต   

ทำให้นึกขึ้นได้ว่า ทั้งประวัติศาสตร์และวรรณคดี เป็นมนุษยศาสตร์   หรือศาสตร์ว่าด้วยการทำความเข้าใจความเป็นมนุษย์    โยงไปสู่วิธีการทำให้การศึกษานำสู่การเรียนรู้ระดับลึกและระดับเชื่อมโยง   ที่น่าจะเป็นเป้าหมายสำคัญของการศึกษาในยุคสมัยนี้   

ทำให้คิดต่อได้ว่า เราเรียนวรรณคดี แประวัติศาสตร์ และวิชาอื่นๆ มาในระดับที่ตื้น คืออยู่แค่รู้และจดจำข้อความในตำราหรือที่ครูสอน    ไม่เข้าใจในระดับลึกและเชื่อมโยง    มีผลให้คุณภาพของพลเมืองไทยอยู่ในระดับที่จำกัด    ดังกรณีที่มีการนำเรื่องราวในวรรณคดี หรือประวัติศาสตร์มาตีความตามบริบทปัจจุบัน   แล้วกล่าวหาว่าวรรณคดีนั้นเป็นเครื่องมือกดขี่ทางเพศ หรือความไม่เสมอภาคในรูปแบบอื่นๆ       

ประวัติศาสตร์ เป็นเครื่องมือ ที่ใช้เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ได้หลากหลายมิติ     เป้าหมายหนึ่งก็คือ เพื่อสร้างความชอบธรรมของผู้ปกครองประเทศ และความราบรื่นสงบสุขของสังคม   เป็นเป้าหมายที่ใช้กันมากที่สุดในสายตาของผม    และมีคุณค่ามาก    แต่ยังมีอีกเป้าหมายหนึ่งที่ผมตีความว่า มีคุณค่าลึกยิ่งกว่า    และ relevant ต่อสภาพสังคมยุค VUCA, BANI และwicked

นั่นคือเป้าหมายเพื่อการพัฒนาปัญญาของเด็ก เยาวชน และพลเมือง    โดยนำเรื่องราวในประวัติศาสตร์ หรือข้อมูลทางประวัติศาสตร์ มาเชื่อมโยงกับวิถีชีวิตในปัจจุบัน   เอามาตั้งคำถามว่าหากบางปัจจัยในประวัติศาสตร์ต่างไปจากที่เกิดขึ้นจริง    ผลต่อผู้คนและสังคมปัจจุบันจะเป็นอย่างไรบ้าง   

ประวัติศาสตร์จะกลายเป็นศาสตร์แห่งการพัฒนาปัญญาของมนุษย์ 

วงการศึกษาไทย มองประวัติศาสตร์อย่างไร   ขึ้นอยู่กับวิธีจัดกระบวนการเรียนรู้เรื่องประวัติศาสตร์ 

วิธีจัดกระบวนการเรียนรู้ด้านต่างๆ มีผลต่อสติปัญญาของพลเมือง   และต่ออนาคตของประเทศ       

วิจารณ์ พานิช

๒๘ ธ.ค. ๖๕   ปรับปรุงเพิ่มเติม ๓๑ ม.ค. ๖๖    

 

 

   

 

 

หมายเลขบันทึก: 711548เขียนเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2023 15:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2023 15:43 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

Yes. But.Yes we can learn from stories and ‘frame’ our attitude, value, and behavior to define ‘ourselves’ (after reasoning or experiencing ‘truth’ of the stories).

But, history, legend, folklore, even chronicle are classes of ‘views’ (of the authors or who pay the authors). There are stories with tell about events that really happened but from different views. Which stories are ‘truer’? Even ‘histories” (as we understand to have been reasoned, constructed, scrutinized and reviewed many times over) are merely collective views told and retold –not exactly.

Well, our DNAs (genes) with physical(energy)/chemical(valence bonds) do copy exactly most times but mutate at odd times. Mutations are DNAs, do copy again and again. So like (hi)stories, we have issues with versions of copies –intermingle (in quantum language –entangle). We have yet to solve the ‘simpler’ problems in quantum physics (real particles). Truth (reconstruction), perception (reckoning), measure (recording), relations (connecting),… of human affair seem much harder.

Thanks Prof Vicharn for bringing up how history should be taught .Thanks Sr for your insightful-added comment.

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท