ชีวิตที่พอเพียง  4394. ขับเคลื่อน Systems Transformation  โดยใช้พลัง Co-creation


 

ระบบต่างๆ ของประเทศไทยที่ล้าหลัง ถ่วงความเจริญ ทุกระบบ ต่างก็มีสภาพเป็น wicked problem    จึงต้องมียุทธศาสตร์ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงระดับรากฐาน (Transformation) อย่างแยบยล     

กลยุทธหนึ่งคือ ปลุกพลังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (stakeholders)  ให้ลุกขึ้นมาเป็น Co-creator   ซึ่งหมายความว่า หาทางชักชวนส่งเสริมให้ผู้รับผล ลุกขึ้นมาเป็นผู้กระทำการ (actor)   หรือร่วมกันทำการ ในลักษณะร่วมสร้างสรรค์ (Co-creator)     

การเปลี่ยนแปลงเรื่องที่ wicked ไม่ใช่เรื่องง่าย    แต่ก็ไม่ใช่เรื่องยากหากเราเข้าใจความ wicked ของมัน     และรู้จักใช้ wickedness นั้นเองมาเป็นพลัง   ในลักษณะ “หนามยอก เอาหนามบ่ง”   

ความ wicked มีข้อดีคือ ให้โอกาสเรียนรู้สูง    และให้โอกาสสร้างสรรค์สูง    โดยเปิดโอกาสให้ทดลองดำเนินการในรูปแบบใหม่ๆ (หากเรากล้าริเริ่มและฟันฝ่า)   

การริเริ่มใหม่ๆ นั้น ควรเริ่มจากเป้าหมายที่ทรงคุณค่า และมีความชัดเจน    โดยควรเป็นเป้าหมายที่ผู้รับผลเป็นผู้กำหนด หรือร่วมกำหนด    คือใช้หลักการ empathy ใน design thinking    และเชื่อมโยงต่อ สู่การใช้หลักการของ Developmental Evaluation (DE) ให้ผู้รับผลเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (stakeholders)    ที่จะต้องร่วมดำเนินการ (actor)   หรือร่วมสร้างสรรค์  (co-creator)     

ในการ transform ระบบที่ wicked ให้ได้ผลจริงจัง    ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายต้องร่วมกันเป็น co-creator   หรือเป็นผู้ร่วมกันริเริ่มสร้างสรรค์   ไม่ทำตัวเป็นผู้รอรับผล โดยไม่ลงมือร่วมกระทำการ     

นี่คือเคล็ดลับของการสร้าง transformation ให้แก่ระบบต่างๆ ของประเทศ ที่ต่างก็เป็น wicked systems ทั้งสิ้น    ซึ่งผมตีความเคล็ดลับนี้ว่า การสร้าง transformation เชิงระบบ    ทำโดยแนวทาง top-down, command & control จะไม่ได้ผล   ต้องดำเนินการตามแนวทาง ทุกฝ่ายมีส่วนร่วม    หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียร่วมเป็นผู้ร่วมคิด และริเริ่มกระทำการ    มีการจัดการวงจรเรียนรู้จากการปฏิบัติให้เป็นพลังของ transformation   

ผมเสนอแนวทางใช้ “พลังจักรวาล” เพื่อการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงไว้ที่  https://www.youtube.com/watch?v=p9FDK3MPqMY    

วิจารณ์ พานิช

๒๔ ธ.ค. ๖๕

 

 

 

 

 

                   

 

หมายเลขบันทึก: 711534เขียนเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2023 15:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2023 15:26 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

But not all stakeholders can ‘negotiate their benefits’ (in simpler terms -they can’t always divide the pie peacefully). Co-creation is only possible when the stakeholders agree to settle first before they put in the effort to make ‘the pie’.

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท