3 อันตรกิริยา


3 อันตรกิริยา ที่น่าสนใจ

อันตรกิริยา หมายถึง สิ่งต่างๆที่กระทำร่วมกัน ในที่นี้ คือ รังสีกับเนื้อเยื่อหรืออวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายมนุษย์

อันตรกิริยาที่ 1

รังสีถูกดูดกลืน (absorb) ในเนื้อเยื่อหรืออวัยวะใด ๆ ของมนุษย์ (หรือถ่ายเทพลังงานไปสู่เนื้อเยื่อ) ในงานทางรังสีวิทยาจะให้ความสนใจสน คือ ปริมาณรังสีดูดกลืน (radiation absorbed dose) โดยที่เซลล์เนื้อเยื่อและอวัยวะต่าง ๆ แต่ละส่วนในร่างกาย มีปฏิกิริยาตอบสนองต่อรังสีแตกต่างกันไป

 

อันตรกิริยาที่ 2

รังสีแต่ละชนิด มีความสามารถทะลุทะลวงผ่าน (transmission or penetration) วัตถุ เนื้อเยื่อหรืออวัยวะใด ๆ ของมนุษย์ได้ เนื่องจากเนื้อเยื่อของอวัยวะแต่ละชนิดในร่างกาย มีความหนาแน่นที่แตกต่างกัน

 

อัตรกิริยาที่ 3

เมื่อ รังสีชนิดต่าง ๆ หรือ รังสีปฐมภูมิ (primary radiation) กระทบกับวัตถุ ทำให้เกิดการหักเห เปลี่ยนทิศทางไป หรือ กระเจิง กระจายออกบริเวณรอบ ๆ ร่างกาย เรียก รังสีทุติยภูมิ (secondary radiation) หรือ รังสีกระเจิง (scatter radiation) รังสีกระเจิงนี้ จะเกิดขึ้นมากหรือน้อย ขึ้นกับหลาย ๆ ปัจจัย เช่น อำนาจทะลุทะลวงของรังสี ปริมาณรังสี ชนิดของวัตถุที่รังสีตกกระทบ เป็นต้น

 

ในการถ่ายภาพด้วยรังสีเอกซ์ เพื่อการวินิจฉัยทางการแพทย์ 1 ครั้ง

จะเกิดทั้ง 3 อันตรกิริยา

ซึ่งแต่ละอันตรกิริยา จะเกิดขึ้นมากน้อยแตกต่างกันได้

 

 

หมายเลขบันทึก: 711405เขียนเมื่อ 25 มกราคม 2023 09:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 มกราคม 2023 09:03 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท