การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนร่วมงาน


การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนร่วมงาน

รวบรวมโดย

อนุพงษ์ ตาจินะ

              การใช้ชีวิตอยู่ในสังคม เราต้องหาเพื่อนที่ดี และต้องเป็นเพื่อนที่ดีกับผู้อื่นด้วย ผู้คนจึงอยากจะคบหาสมาคม อยากอยู่ใกล้ เพราะรู้สึกอบอุ่น เป็นมิตร ปลอดภัย เป็นที่พึ่ง เป็นที่ไว้เนื้อเชื่อใจ ดังนั้น เราจึงควรรู้จัก วิธีการสร้างมนุษยสัมพันธ์ที่ดีที่ดีต่อเพื่อนร่วมงานอันได้แก่

ภาพจาก: https://manussayasumpankhongcheewitnaionggon.
blogspot.com/2016/06/blog-post.html

             1. เปิดฉากทักทายติดต่อก่อน ลดทิฐิลงเสียบ้าง หัดเป็นคนรู้จักทักทายคนอื่นก่อน
 เสียบ้าง 
             2. มีความจริงใจต่อเพื่อน 
             3. ไม่นินทาเพื่อนแม้ว่าจะเป็นที่ถูกใจของคู่สนทนา 
            4. ไม่ซัดทอดความผิดให้เพื่อน 
             5. ยกย่องชมเชยเพื่อนในโอกาสอันควร(ชมมากกว่าติ) 
             6. ให้ความช่วยเหลือกิจการงานของเพื่อนด้วยความเต็มใจ 
             7. ให้เพื่อนรับทราบเรื่องที่เขารับผิดชอบหรือเกี่ยวข้อง 
             8. หลีกเลี่ยงการทำตัวเหนือเพื่อน 
             9. ทำตนให้เสมอต้นเสมอปลาย 
             10. เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อเพื่อนฝูง 
             11. ออกไปพบปะสังสรรค์บ้างตามโอกาสอันควร 
             12. ช่วยเหลือเพื่อน เป็นที่พึ่งแก่เพื่อนยามทุกข์ร้อน 
             13. ให้เกียรติและรับฟังความคิดเห็นของเพื่อน
             14. เก็บความลับของเพื่อน รักษาสัจจะ 
             15. แนะนำเพื่อนไปในทางที่ดี ไม่พาไปสู่ทางเสื่อม

             ที่เขียนไปแล้วทั้ง 15 ข้อนั้น เป็นเพียงหัวข้อย่อ ๆ มิได้ขยายความอะไรให้เยิ่นเย้อ ท่านผู้อ่านคงจะขยายความได้เอง จะเห็นว่าสิ่งที่กล่าวไปทั้งหมด คงหนีไม่พ้นหลักธรรมทางพุทธศาสนา ที่เป็นธรรมอันเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจผู้อื่น หรือธรรมเพื่อให้คน เป็นที่รักของคนทั่วไป คือ สังคหวัตถุ 4 (Base of
sympathy) นั่นเอง ซึ่งได้แก่

            1. ทาน (giving offering) คือการให้ เสียสละ แบ่งปันแก่ผู้อื่น 
             2. ปิยวาจา (Kindly speech) คือ พูดจาด้วยถ้อยคำสุภาพ นุ่มนวล เหมาะแก่บุคคล     เวลา สถานที่ พูดในสิ่งที่เป็นประโยชน์ พูดในทางสร้างสรรค์ และเกิดกำลังใจ 
             3. อัตถจริยา (useful conduct) ทำตนให้เป็นประโยชน์ ตามกำลังสติปัญญา ความรู้ความสามารถ กำลังทรัพย์ และเวลา 
             4. สมานัตตตา (even and equal treatment) คือทำตนให้เสมอต้นเสมอปลาย วางตนเหมาะสมกับ ฐานะ ตำแหน่งหน้าที่การงาน ไม่เอาเปรียบผู้อื่น ร่วมทุกข์ร่วมสุขสม่ำเสมอ หลักธรรมที่กล่าวมานี้ หากผู้ใดยึดถือปฏิบัติเชื่อแน่ว่าจะเป็นที่รักใคร่เคารพนับถือ ของเพื่อนร่วมงาน และบุคคล
ทั่วไป อย่างแน่นอน

เอกสารอ้างอิง

เขมกะ. หน้าที่ของคน. พิมพ์ครั้งที่ 13. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ธรรมชาติ, 2529.
วิจิตร อาวะกุล, รศ.. เทคนิคมนุษยสัมพันธ์. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: O.S. Printing House Co. Ltd., 
             ม.ป.ป. 
โสภณ จาเลิศ. "หลักการสร้างมนุษยสัมพันธ์ตามสถานภาพทางสังคม ตอน 2" ใน ก้าวไกลไปกับ สบช.     
             ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 ประจำเดือน มีนาคม 2541. หน้า 16 - 17.
อนันต์ งามสะอาด. เอกสารประกอบการสอนวิชา มนุษยสัมพันธ์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์พิทักษ์อักษร, 
             ม.ป.ป.

หมายเลขบันทึก: 711327เขียนเมื่อ 18 มกราคม 2023 18:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มกราคม 2023 18:39 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท