จาก active  สู่ proactive learning


 

ในการประชุม GIPEC 2022 เมื่อวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๕ ผมได้รู้จัก proactive learning จึงกลับมาลองค้นที่บ้าน    พบว่าผมไม่ค่อยชอบนิยาม proactive learning ในวิกิพีเดีย    แต่ชอบนิยามที่บอกความแตกต่างระหว่าง reactive  กับ proactive learning (๑) มากกว่า

ผมสรุปกับตนเองว่า การเรียนรู้ที่ดีต้องเป็น proactive learning   คือเป็นการเรียนรู้ที่ผู้เรียนกำหนดเป้าหมายไว้ล่วงหน้า   และคิดหาวิธีเรียนให้บรรลุเป้าหมายนั้นด้วยตนเอง    ผมมองว่า proactive learning ต้องมี active learning อยู่ภายใน   ส่วนที่เพิ่มขึ้นจาก  active learning คือผู้เรียนคิดการณ์ไว้ล่วงหน้า    ทำตัวเป็นเจ้าของการเรียนรู้ไว้ล่วงหน้า    และเมื่อเรียนแล้ว ก็ประเมินผลการเรียนของตนเองเป็น   ในลักษณะประเมินยกกำลังสอง   คือประเมินผลการเรียน กับประเมินวิธีเรียน    สำหรับใช้เป็นข้อมูลป้อนไปข้างหน้า (feed forward) เพื่อการยกระดับการเรียนรู้ของตน   

การเรียนรู้ต้องมีการประเมินฝังอยู่ข้างใน    สำหรับเป็นกลไกหนุนการเรียนรู้ (assessment for learning)    เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้ (assessment as learning)   และเป็นตัวบอกสัมฤทธิผลของการเรียนรู้ (assessment of learning) 

ช่วงสายของการประชุมวันที่ ๑๐  เป็นเรื่อง Proactive Assessment   โดยวิทยากร ๒ ท่านคือ ศ. ดร. พญ. จิรายุ เอื้อวรากุล  คณบดีวิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน   ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์    กับ รศ. ดร. ญาณิกา โกวิทลวากุล  Programme Director (UG-Year3), Alice Lee Centre for Nursing Studies, Yong Loo Lin School of Medicine, National University of Singapore 

ผมถาม รศ. นพ. อานุภาพ เลขะกุล ว่ามีสถาบันอุดมศึกษาแห่งไหนในประเทศไทยที่ใช้ proactive assessment บ้าง    ได้คำตอบว่าไม่มีใช้อย่างเป็นระบบ    สถาบันแรกที่ออกแบบใช้อย่างเป็นระบบก็ที่ วิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน   ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ นี่แหละ      

ผมตีความว่า proactive learning หมายถึงการเรียนรู้ชนิดที่ผู้เรียน รู้เป้าหมายและกำหนดเป้าหมายของตน   ร่วมออกแบบการเรียนรู้ของตน   และรู้ตัวอยู่ตลอดเวลาว่าการเรียนของตนก้าวหน้าไปแค่ไหนแล้ว    รวมทั้งหาทางปรับปรุงวิธีเรียนให้ก้าวหน้าสู่เป้าหมายที่ต้องการ    ผู้เรียนใช้ทั้ง cognition และ meta-cognition เพื่อการเรียนรู้ของตน 

ความรู้เรื่อง proactive learning  และ proactive assessment มีอยู่ที่เว็บไซต์ assessmentnetwork.net    เข้าไปอ่านได้ที่ (๑)    อ่านแล้วได้ความรู้มากจริงๆ 

วิจารณ์ พานิช

๑ ธ.ค. ๖๕

ห้อง ๘๐๘๖  โรงแรม รอยัล คลิฟ  พัทยา

 

 

หมายเลขบันทึก: 710846เขียนเมื่อ 12 ธันวาคม 2022 16:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 ธันวาคม 2022 16:15 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

In the field of optimization, assessment with target belongs to ‘greedy’ strategy. It is inherently restricted to ‘certain expectations’ (obligations) or ‘local optima’ (traps). To overcome this, ‘random’ strategy is intermittently exercised - to give new perspectives and opportunities to reach ‘global optima’ (excellence).

One may argue that we should set ‘excellence’ as the target. Does one know what excellence is and how to get there? Exploratory assessment/survey with open mind may be a better alternative.

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท