กิจกรรมสร้างเสริมสุขภาวะ


จากการประเมินภาวะเปราะบางผู้รับบริการศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง นนทบุรี

ผู้รับบริการ เพศชาย อายุ 49 ปี

วันรับเข้าศูนย์คุ้มครอง วันที่ 7 ตุลาคม 2560

PFFS-T 5 คะแนน = ไม่เปราะบาง

การวินิจฉัยโรค : ไขมัน เบาหวาน ความดัน

 

การออกแบบกิจกรรมแก่ผู้รับบริการ

จากการทำแบบประเมินและการสัมภาษณ์ผู้รับบริการ ปัจจุบันมีการทำงานแยกพลาสติกของทางศูนย์ เดิมเคยเป็นช่างแอร์ สามารถซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าได้ กิจกรรมที่ชอบทำในศูนย์เพื่อพักผ่อน คือ การเล่นกีฬาเปตองกับเพื่อน ฟังเพลง มีความต้องการอยากกลับบ้านไปประกอบอาชีพที่โรงสีของครอบครัว ทักษะที่ต้องการส่งเสริมคือการคำนวณเพื่อจัดการค่าใช้จ่ายของตนเอง และสามารถคงความสามารถในทักษะงานช่างที่มี และการป้องกันการบาดเจ็บจากการทำงาน

 

กิจกรรมเกมฝึกสมองและส่งเสริมทักษะการคำนวณอย่างง่าย

เกมเขาวงกต

เกมเขาวงกต เป็นการฝึกการรับรู้มิติสัมพันธ์ การแก้ปัญหา สหสัมพันธ์ของตาและมือ ร่างกายทั้งสองข้างซ้าย-ขวา การลองผิดลองถูกเพื่อไปสู่เส้นทางที่ถูกต้อง

 

เกมบวกเลข

 

เกมบวกเลข เป็นการใช้ทักษะการบวกเลขพื้นฐาน โดยมีภาพเพื่อให้มีความเป็นรูปธรรมแบบ2มิติ(หรือปรับเป็นสิ่งของให้สามารถหยิบจับเพื่อง่ายต่อการนับมากขึ้น กรณี2มิติไม่ชัดเจนมากพอ)  เพื่อเสริมทักษะการคำนวณจากการมองเห็น 

 

เกมนับเหรียญ

เกมนับเหรียญ ฝึกทักษะการคำนวณจากเงินจริง เพื่อให้ทดลองจัดการ อาจเพิ่มโจทย์หรือสถานการณ์สมมติ เช่น หากได้เงินจากการทำงาน 300 บาท แบ่งไปซื้อกับข้าว 50 บาท ซื้อน้ำ 10 บาท จะเหลือเงินเก็บเท่าไหร่

 


 



สอนท่ายืดเหยียดกล้ามเนื้อ บริหารร่างกาย เพื่อป้องกันการบาดเจ็บของร่างกาย ลดอาการปวดเมื่อยจากการใช้งานกล้ามเนื้อแก่ผู้รับบริการ แนะนำท่ายืดเหยียด ผู้บำบัดทำท่าให้ดูไปพร้อมกับผู้รับบริการทำตาม พร้อมมีภาพประกอบเพื่อให้สามารถนำกลับไปทำได้ด้วยตนเอง

 

 

 

 

 

ทักษะงานช่าง เปิดโอกาสให้ผู้รับบริการมีส่วนร่วมในการทำงานช่างภายในศูนย์ เริ่มจากการเรียนรู้ ใช้อุปกรณ์ เครื่องมือที่ใช้ทำงานช่าง โดยอาศัยจากทักษะเดิมที่มีอยู่ เริ่มจากให้ผู้รับบริการทำงานช่างอย่างง่าย ใช้เครื่องมือน้อย มีความปลอดภัยในการทำ เช่น การทาสีผนัง เป็นต้น และค่อยปรับความซับซ้อนในการทำงานช่าง ให้มีการใช้เครื่องมือ ขั้นตอน ความละเอียด ความระมัดระวังเพื่อป้องกันอุบัติเหตุจากการทำงานมากขึ้นตามลำดับ เช่น การเปลี่ยนหลอดไฟ การใช้สว่านเจาะรู เป็นต้น

 

การออกแบบกิจกรรมแบบเฉพาะบุคคลนั้น ผู้บำบัดใช้การอ้างอิงจากความต้องการ ความสนใจ ทักษะความสามารถของผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง (Client-centered) เพื่อคงไว้ซึ่งความสามารถ ส่งเสริม ฟื้นฟู ป้องกันในการทำกิจกรรมของผู้รับบริการให้มากที่สุดเท่าที่จะสามารถทำได้ และมีความหลากหลายให้ผู้รับบริการได้เลือกและมีโอกาสได้ลองทำด้วยตนเอง จะนำไปสู่การทำกิจกรรมที่มีความหมาย รู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า มีความสามารถของผู้รับบริการค่ะ

 

ขอบคุณข้อมูลจาก

https://allwellhealthcare.com/alzheimer-prevention/

ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ

 

ภัทรวรรณ ทิพย์สูตร

นักศึกษากิจกรรมบำบัด ชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยมหิดล

หมายเลขบันทึก: 710574เขียนเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2022 21:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2022 21:38 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท