การออกแบบกิจกรรมบำบัดรายบุคคลให้ไปถึงเป้าหมายการมีงานทำในผู้เปราะบางระดับน้อย


การออกแบบกิจกรรมบำบัดรายบุคคลให้ไปถึงเป้าหมายการมีงาน

     ดิฉันชื่อนางสาวณัฐกุล เพื่อนฝูง นักศึกษากิจกรรมบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล ชั้นปีที่ 3 ในวันนี้ดิฉันจะมาพูดถึง การออกแบบกิจกรรมบำบัดรายบุคคลให้ไปถึงเป้าหมายการมีงานกับผู้รับบริการทางจิตเวช ณ ศูนย์คนไร้ที่พึ่ง จ.นนทบุรี ดังนี้ค่ะ

       ผู้รับบริการเพศชาย อายุ 34 ปี มีประวัติติดสารเสพติด(ยาบ้า)และพฤติกรรมทางเพศ(ข่มขืนน้องสาวแท้ๆ) มีการจับกุมที่บ้านพักของตนเองจากนั้นจึงนำตัวส่งโรงพยาบาลและได้ส่งต่อมาที่สถานคนไร้ที่พึงนนทบุรี โดยมีระยะเวลาในการบำบัดรักษารวมแล้วประมาณ 1 ปี ผู้รับบริการทานยาจิตเวชตอนเช้า 3 เม็ดและตอนเย็น 5 เม็ด รวม 8 เม็ด/วัน ผู้รับบริการมีความรู้สึกคิดถึง ผู้รับบริการไม่ได้สนใจทำกิจกรรมใดเป็นพิเศษ แต่เคยเล่นกีฬาฟุตบอลและรู้สึกชอบ มีความต้องการอยากเรียนหนังสือต่อที่ กศน. (การศึกษาสูงสุด ม.3) เนื่องจากอยู่เฉยๆไม่รู้จะทำอะไร หากเรียนจบแล้วออกไปจากที่นี่ได้ก็จะไปบวชเรียน ผู้รับบริการสามารถดูแลตนเองได้ ทำความสะอาดเรือนนอนและซักผ้าได้ ผู้รับบริการมีความสามารถทางกายและการรู้คิดที่ดี แต่ตอบสนองช้า ใช้เวลาในการตอบคำถามนานในครั้งแรกที่เจอและมีสีหน้าที่นิ่ง เรียบเฉย มักมองและจ้องหน้าตลอดระยะเวลาที่พูดคุย

                  จากการประเมินภาวะเปราะบางของผู้รับบริการในวันที่ 6 ตุลาคม 2565 ที่ผ่านมา ได้ผลประเมินออกมาว่า ประบางระดับน้อย ซึ่งต่อไปนี้จะเป็นการวางแผนออกแบบกิจกรรมบำบัดรายบุคคลให้ไปถึงเป้าหมายการมีงานในผู้รับบริการที่มีภาวะเปราะบางระดับน้อย

                  ภาวะเปราะบางเป็นภาวะหนึ่งของร่างกายซึ่งอยู่ระหว่างกลางของความสามารถในการทำงานได้กับภาวะไร้ความสามารถ และอยู่ระหว่างความมีสุขภาพดีกับความเป็นโรค นับเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญ ส่งผลกระทบทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ผู้ที่มีภาวะเปราะบาง ความสามารถทางกายภาพของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกายลดลง เพิ่มความรุนแรงของความเจ็บป่วย บกพร่องทางความคิด การเคลื่อนไหวของร่างกายลดลงและอาจเกิดภาวะพึ่งพาในที่สุด จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งที่ควรส่งเสริมบุคคลให้ไม่มีภาวะเปราะบางเพื่อที่จะสามารถดำรงชีวิตได้อย่างอิสระด้วยตนเองได้มากที่สุด

การออกแบบกิจกรรมบำบัดรายบุคคลให้ไปถึงเป้าหมายการมีงาน

  1. ค้นหาความสนใจ สิ่งที่ผู้รับบริการให้คุณค่า หรือความต้องการของผู้รับบริการ คือ ผู้รับบริการอยากเรียนต่อ
  2. ตั้งเป้าหมายร่วมกับผู้รับบริการ โดยเริ่มจากเป้าหมายที่สามารถบรรลุได้ง่ายและเป็นเป้าหมายที่เป็นพื้นฐานของทักษะอื่นๆ คือ ปรับพื้นฐานทางด้านการเรียนของผู้รับบริการพร้อมทั้งสร้างความพร้อมด้านอื่นๆในการกลับไปเรียนของผู้รับบริการให้ผู้รับบริการเกิดความมั่นใจ
  3. เริ่มฝึกทักษะให้บรรลุตามเป้าประสงค์ที่วางไว้ คือ เริ่มให้การบ้านหรือแบบฝึกหัดในการเตรียมความพร้อมด้านการเรียน เช่น แบบฝึกหัดวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน เป็นต้น และสร้างความพร้อมในด้านๆอื่นๆ เช่น ปรับตารางกิจวัตรประจำวันให้ผู้รับบริการ Active มากยิ่งขึ้น โดยเริ่มจากให้ทำกิจกรรมที่มีความหมายในระหว่างวันมากขึ้น เพื่อกระตุ้นการตื่นตัวระหว่างวัน เช่น ให้ทำความสะอาดโรงครัว ตัดหญ้า เป็นต้น และทำให้เป็นกิจวัตรประจำวันเพื่อให้เกิดความคุ้นเคยมากยิ่งขึ้น
  4. ตั้งเป้าประสงค์หลักให้แก่ผู้รับบริการ คือ ผู้รับบริกาสามารถเรียน กศน. ได้จนจบ ม.6 ตามความคาดหวังของผู้รับบริการ พร้อมทั้งเขียนข้อดี ข้อเสียและเขียนให้กำลังใจตนเองเพื่อเป็นการกระตุ้นการเปลี่ยนแปลงให้แก่ตนเอง
  5. แนะนำเทคนิควิธีจัดการกับความกังวลแก่ผู้รับบริการร่วมด้วยเพื่อในกรณีที่ผู้รับบริการเกิดความกังวลหรือความเครียดขณะกำลังทำตามเป้าหมาย ผู้รับบริการจะได้รับมือถูก เช่น Breathing Relaxation ให้รางวัลตนเอง เป็นต้น
  6. แนะนำการวางแผนอนาคตหลังจากเรียนจบ ม.6 ค้นหาสิ่งที่อยากทำ งานที่สนใจหรืองานที่อยากทำ เพื่อสร้างรายได้และลดภาวะเปราะบางที่ทำให้เกิดความเสี่ยงในการพึ่งพิงผู้อื่น

 

 

6323011 ณัฐกุล เพื่อนฝูง

นักศึกษากิจกรรมบำบัด

คำสำคัญ (Tags): #ภาวะเปราะบาง
หมายเลขบันทึก: 710569เขียนเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2022 16:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2022 18:22 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท