จิตเภทไร้ที่พึ่ง...ฟื้นคืนสุขภาวะได้จริงหรือไม่


ขอบพระคุณท่านผู้ปกครองและทีมงานสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งที่กรุณามอบความเมตตาปัญญาเป็นวิทยาทาน คือ เปิดโอกาสให้นักศึกษากิจกรรมบำบัดได้ฝึกประเมินและออกแบบการบำบัดด้วย กิจกรรมการรู้คิดฝึกทักษะการเตรียมอาหารโปรด กิจกรรมการรับรู้อารมณ์บวกฝึกทักษะการทำงานศิลปะกับเพื่อน กิจกรรมการเบี่ยงเบนภาวะว้าเหว่ฝึกทักษะการเล่นเกมส์กึ่งกีฬา และกิจกรรมการผ่อนคลายฝึกฟังดนตรีที่เพื่อนซ้อมกีตาร์

ทำไมผู้ใช้บริการที่มีประสบการณ์สุขภาพจิตถึงเอาแต่นอน ทั้ง ๆ ที่พอพูดคุยก็อยากทำงาน?

เมื่ออ่านหลักฐานเชิงประจักษ์จาก https://www.wellnessrecoveryactionplan.com/

  • ตั้งแต่ทุกวันที่ 10 ตุลาคมของทุกปีให้มีวันสุขภาพจิตโลก ทำให้ทั่วโลกตื่นตัวเร่งฝึกอบรมประชาชนทุกคนให้มีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพกายใจและให้ได้โอกาสทำจิตอาสานำพาความรักความใส่ใจแก่เพื่อนมนุษย์ทุกท่านที่ผ่านประสบการณ์สุขภาพจิตและต้องการระบบการสนับสนุนช่วยเหลือจากสังคมทุกภาคส่วน
  • การอบรมกระบวนกร หรือ Facilitator เป็นกลุ่มเล็กจำนวน 8-16 คน เรียนรู้ข้ามศาสตร์จากหลายองค์กร เช่น กลุ่มผู้ดูแลชุมชนที่ฟื้นคืนสุขภาวะหลังภาวะบาดเจ็บทางใจเรื้อรัง กลุ่มผู้ดูแลชุมชนต้องคดีนิติจิตเวชที่ฝึกอาชีวบำบัดในเรือนจำ กลุ่มผู้ดูแลชุมชนคนไร้บ้านที่ไม่เคยได้รับกิจกรรมบำบัดอย่างต่อเนื่อง ฯลฯ จะเห็นประสิทธิผลและประสิทธิภาพ
  • ความรู้ที่แบ่งเป็นช่วงเวลา เรียนรู้ไปแล้วทดสอบการนำไปฟื้นคืนสุขภาวะจริงจังกับผู้ใช้บริการ เพื่อนำมาประชุมกรณีศึกษาเชิงวิชาการและเชิงวิจัยจากงานประจำผ่านทางไกล พร้อมมีที่ปรึกษาชุมชนนักปฏิบัติผู้เชี่ยวชาญอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ตัวอย่างหน่วยงานที่ดีเยี่ยม คือ สมาคมเสริมสร้างชีวิต บริษัท ลิฟวิ่ง วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด คลืกเรียนรู้ที่ https://livingth.org/ 
  • เนื้อหาแก่นความรู้ที่พัฒนาระหว่างสถาบันการศึกษาในทุกระดับชั้นและหน่วยงานรัฐเอกชนภาคีเครือข่ายที่ควรแสดงบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบตามกฎหมายและคุณธรรมประจำใจมนุษย์ ได้แก่ ภาวะเปราะบางในประชากรเด็กสู่ผู้ใหญ่ที่สังคมควรเร่งป้องกันโรคจิตเวชยุ่งยากซับซ้อนเรื้อรัง ภาวะติดสารเสพติดที่กลับบ้านไม่ได้จะวางแผนสงเคราะห์อย่างไรให้อยู่ดีมีสุขตามปัจจัยขั้นพื้นฐาน ทำอย่างไรจะให้คนเร่รอนมีการสูงวัยอย่างมีสุขภาวะ คลิกเรียนรู้ให้เข้าใจได้ที่  https://www.sdgmove.com/2021/02/11/10-facts-of-health-and-aging/

เมื่ออ่านหลักฐานเชิงประจักษ์จาก https://themomentum.co/overcoming-schizophrenia-interview/ 

  • “ตอนเริ่มต้นการรักษา เธอต้องกินยา 4 ประเภท คือ ยาต้านจิตเภท ยาต้านซึมเศร้า ยาปรับอารมณ์ และยานอนหลับ” เมื่ออ่านงานวิจัยที่ https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC7093996/ พบว่า ผู้ใช้บริการควรปรึกษาจิตแพทย์อย่างใกล้ชิดและต่อเนื่องเพื่อป้องกันผลกระทบจากสัดส่วนของปริมาณยา ได้แก่ antipsychotic polypharmacy, 30%; combined mood stabilizer, 15%; combined antidepressant, 10%; combined anxiolytics, 30%; and combined hypnotic, 10% แต่ทว่า ก่อนจะจำหน่ายผู้ป่วยจิตเวชกลับคืนสู่การฟื้นฟูสมรรถภาพทางจิตสังคม สัดส่วนของปริมาณยาค่อนข้างแน่นอนและพบผลกระทบน้อยมาก เพราะมีเกณฑ์การจ่ายยาและแนวทางเวชปฏิบัติชัดเจน 
  • “เราได้ชีวิตใหม่กลับมา เป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดของชีวิต  ความป่วยเป็นขั้นตอนหนึ่งของชีวิต เป็นบททดสอบ เป็นความทุกข์ที่มะรุมมะตุ้มมาก พอผ่านจุดต่ำที่สุดมาได้ ชีวิตก็ง่ายขึ้น ไม่มีอะไรแย่ไปกว่านี้แล้ว เราบุคลิกเปลี่ยนไปเลยนะ จากคนเคยมั่นใจและจริงจังกับการทำงาน บางครั้งซีเรียสมาก ตอนนี้เฮฮากับเพื่อนมากขึ้น พยายามทำให้เต็มที่ ไม่ได้ก็ไม่เป็นไร เรากลายเป็นคนพร้อมให้ความรักกับคนอื่น และอ่อนโยนกับตัวเองมากกว่าเดิม” เมื่ออ่านงานบทความที่ https://psychcentral.com/schizophrenia/can-people-with-schizophrenia-work พบว่า ผู้ที่มีประสบการณ์จิตเภทไม่เพียงแค่ทำงานได้ แต่แสดงความก้าวหน้าในอาชีวศึกษา หรือ ความต้องการอย่างมากในการประกอบอาชีพหนึ่ง และอุปสรรคที่ยิ่งใหญ่ที่จะบั่นทอนจิตเติบโตของผู้ใช้บริการ คือ ความเชื่อที่ต่อต้านภายในใจที่ยังดูถูกคุณค่าของผู้พิการทางจิตสังคม และตีตราแยกเกรดคนตามปัญหาร่างกาย สติปัญญา และจิตใจ ทำให้ผู้ดูแลทั้งหลายได้เชื้อเชิญปรับทัศนคติใหม่ด้วยการบำบัดการรู้คิดพฤติกรรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อทำหน้าที่ด้วยความรักความใส่ใจดังนี้
    • คงไว้ให้ผู้ใช้บริการมีแรงจูงใจในทุกกิจวัตรประจำวัน และทุกคนได้รับงานเล็ก ๆ น้อย ๆ อย่างเท่าเทียมกัน
    • เยียวยาจากความสนใจในอาชีพหรือกิจกรรมที่เกิดรายได้ในอดีต ปรับเปลี่ยนขั้นตอนและทดลองให้ฝึกฟื้นคืนสุขภาวะหรือได้พลังชีวิตคิดบวกขณะทำงานใด ๆ แล้วได้รางวัลและผลงานเป็นรูปธรรมโดยจัดแสดงสาธารณะให้เกิดความชื่นชมยินดีมีกัลยาณมิตรล้อมรอบ
    • สถานคุ้มครองและศูนย์ฝึกทักษะชีวิตต่างๆ ระดมสมองนำประสบการณ์มาเขียนแนวทางปฏิบัติอาชีวบำบัดในกรณีแยกแยะตามระดับอาการคงค้างของจิตเวชเพื่อสื่อสารกับสหวิชาชีพทางสุขภาพจิต เช่น อาการหลงผิด หูแว่ว ประสานหลอน พูดไม่รู้เรื่อง เคลื่อนไหวไร้จุดหมาย สมาธิสั้น วอกแวกง่าย ทำตามคำบอกได้ (ไม่ควรสั่งการ จะยิ่งไม่อยากทำ) รับประทานยาเองได้ เคลื่อนไหวทำงานได้แม้ว่าจะช้ามากก็ตาม (กระบวนกรวิเคราะห์ปรับกิจกรรมให้เหลือขั้นตอนที่ง่ายสุดได้อย่างต่อเนื่องและทันที) เชิญชวนอ่านบันทึกที่ดีต่อใจจากนักศึกษากิจกรรมบำบัดท่านหนึ่ง ที่ https://www.gotoknow.org/posts/695795 

ขอบพระคุณทุกข้อความจากผู้เชี่ยวชาญที่คิดเชิงระบบ ทำให้สมองเราฉลาดคิดจิตแจ่มใสในวัย 20 ปี สมองเราปรับอารมณ์ใจดีมีเมตตาในวัย 30 ปี สมองเราคิดยืดหยุ่นกับคุณค่าเวลาในวัย 40 ปี และสมองเราเข้าใจความจริงแห่งชีวิตกับคุณค่ามนุษย์ในวัย 50 ปีขึ้นไป ขอเพียงแค่เราหมั่นฝึกฝนสมองซีกขวาคิดครบระบบให้ใจได้สมาธิจดจ่อปัจจุบัน เพื่อจิตปล่อยวางจากสมองซ้ายหมกมุ่นอดีตครุ่นคิดอนาคต ให้คิดเป็นระบบคลายความเครียดทางร่างกายและจิตใจ อย่างน้อยสะสมวันละ 27 นาที เพื่อเพิ่มใยประสาทสีขาวรวม 8 สัปดาห์ เพิ่มรอยหยักสมองสีเทารวม 2-4 สัปดาห์ และเพิ่มพลังสื่อสารจิตสังคมได้สนุกด้วยกิจกรรมบำบัดสมาธิ(อ่านสีชมพู)ให้ทุกคนทำความดีมีใจร่มเย็นเป็นสุข ทุกข์สงบจนวาระสุดท้ายแห่งชีวิตจริง

สุดท้ายนี้ขอเชิญชวนกัลยาณมิตรคิดดีมีน้ำใจทุกท่านได้แชร์ชื่นชม เนื่องในโอกาสเฉลิมฉลองวันกิจกรรมบำบัดโลก 27 ตุลาคม 2565 กับ e-book การสร้างความเครียดคิดบวก กันเถอะครับ คลิก http://online.anyflip.com/pwqlm/llpc/mobile/ ขอบพระคุณยิ่งครับผม

หมายเลขบันทึก: 709120เขียนเมื่อ 26 ตุลาคม 2022 08:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 ตุลาคม 2022 08:39 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

การดูแลผู้ป่วยจิตเภท เราจะต้องรู้ warning sign ของอาการกำเริบค่ะ

ถ้าญาติสังเกตจะพบว่าก่อนอาการรุนแรง จะมีสิ่งบอกเหตุก่อนเสมอค่ะ

ขอบพระคุณมากครับคุณแก้ว..อุบล จ๋วงพานิช

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท