กิจกรรมบำบัดจิตสังคม Hope Skill Support


กิจกรรมบำบัดจิตสังคม Hope Skill Support

หากพูดถึงนักกิจกรรมบําบัดจิตสังคม แน่นอนว่าต้องมาคู่กับผู้ป่วยจิตเวช หรือในทางกิจกรรมบำบัดเรียกว่า “ผู้ที่มีประสบการณ์สุขภาพจิต” ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่มีภาวะซึมเศร้า ผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้า ผู้ที่มีอาการอารมณ์ 2 ขั้ว และผู้ป่วยจิตเภท ซึ่งนักกิจกรรมบำบัดจิตสังคม มีหน้าที่บำบัด ช่วยเหลือ และฟื้นฟู ให้ผู้ที่มีประสบการณ์สุขภาพจิตสามารถดำรงชีวิตต่อไปได้อย่างมีความสุข มีความเป็นอยู่ที่ดี (Well-being) โดยทางกิจกรรมบำบัดจะเน้นไปที่ Medication , Work , Housing , Relationships และ Building Self-esteem


 

ใน Blog นี้เราจะมาพูดถึง “นักกิจกรรมบำบัดจิตสังคมจะมีหน้าที่ Hopeful Empowerment + Skilled Life Design + Supportive Engagement อย่างไร ในนักศึกษากฎหมาย ที่มีอาการซึมเศร้า วิตกกังวล ติดพนัน มีหูแว่วเล็กน้อย และสอบตกทุกวิชา”

 

  • Therapeutic use of Self

สิ่งสำคัญของผู้ป่วยจิตเวชคือการใช้ตัวนักกิจกรรมบำบัดเป็นสื่อในการบำบัดรักษา การสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดี เพื่อนำไปสู่กระบวนการบำบัดรักษาที่มีประสิทธิภาพ นักกิจกรรมบำบัดต้องรับฟังผู้รับบริการด้วยความเข้าใจ แสดงความเห็นอกเห็นใจ ตั้งใจฟังผู้รับบริการอย่างลึกซึ้ง จะช่วยป้องกันการฆ่าตัวตายที่เกิดจากอาการซึมเศร้าได้ การฝึกการหายใ0 จะช่วยผ่อนคลายความเครียดที่เกิดจากความวิตกกังวลได้ การให้คำปรึกษารายบุคคล เขียนเตือนความจำให้ผู้รับบริการทำตามเป้าหมายที่วางไว้ และต้องบังคับให้ผู้รับบริการทำกิจกรรมอื่นๆที่ต่างไปจากสิ่งแวดล้อมเดิม จะช่วยให้ผู้รับบริการเลิกการพนันได้ การฝึกความสามารถในการจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้น จนสามารถปรับตัวให้ดีขึ้น ก็จะช่วยแก้ไขอาการหูแว่วได้เช่นกัน ซึ่งก่อนการจัดกิจกรรมการบำบัดรักษาให้กับผู้รับบริการ นักกิจกรรมบำบัดต้องสัมภาษณ์ เพื่อสอบถามถึงปัญหา และความต้องการของผู้รับบริการ โดยจะไม่เน้นไปที่ “ปัญหา” แต่จะเน้นไปที่ “ความต้องการ” ของผู้รับบริการเป็นหลัก เพื่อนำไปสู่การวางแผนการรักษาให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้รับบริการ


 

  • Hopeful Empowerment : การเพิ่มพลังแห่งความหวัง

ความหวัง (Hope) จะเป็นแรงจูงใจให้มนุษย์สามารถริเร่ิม (Individualized & Person-Centered) และกล้าที่จะทำกิจกรรมต่างๆได้ด้วยตนเอง เพื่อให้ไปสู่เป้าหมายในชีวิตของตนเองได้ (Self-Direction) ซึ่งจะประกอบไปด้วย 3 สิ่งสำคัญ ได้แก่

  1. เป้าหมาย (Goals)
  2. วิถีทาง (Pathway)
  3. พลังความคิดที่จะนำไปสู่เป้าหมาย (Agency)

วิธีการเพิ่มพลังแห่งความหวัง (Hopeful Empowerment)

1. ส่งเสริมให้มีการใช้ชีวิตอย่างมีความหวัง

นักกิจกรรมบำบัดจิตสังคมต้องส่งเสริมผู้รับบริการที่มีประสบการณ์สุขภาพจิต ให้มีความหวังในการใช้ชีวิต ช่วยขจัดความเศร้า เสียใจ และสิ้นหวังที่เกิดจากอาการซึมเศร้า วิตกกังวล ด้วยการสอบถามถึงกิจกรรมที่ผู้รับบริการสนใจอยากจะทำ และนำกิจกรรมนั้นมาเป็นวิธีการขจัดความเศร้า ความสิ้นหวังต่างๆ และเพิ่มพลังแห่งความหวังให้กับชีวิต โดยให้คำแนะนำกับผู้รับบริการในการนำกิจกรรมที่ผู้รับบริการสนใจอยากจะทำ มาใช้ในเวลาที่ผู้รับบริการรู้สึกเศร้า เสียใจ และสิ้นหวัง เช่น หากผู้รับบริการมีความสนใจอยากจะทำกิจกรรมวาดรูประบายสีด้วยสีน้ำ เมื่อผู้รับบริการรู้สึกเศร้า สิ้นหวัง ให้ผู้รับบริการหันไปวาดรูประบายสี เพราะกิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่ผู้รับบริการมีความสนใจ ให้คุณค่า และมีความสุขในการได้ลงมือทำ เมื่อได้ทำแล้วจะทำให้ผู้รับบริการสลัดความเศร้าเหล่านั้นออกไปได้ และยังสามารถเพิ่มพลังแห่งความหวังให้กับชีวิตของผู้รับบริการได้อีกด้วย

2. เสริมสร้างกำลังใจ

มนุษย์เราอยู่ได้ด้วยความหวังและกำลังใจ หากการใช้ชีวิตของผู้รับบริการมีเพียงแค่ความหวังแต่ไม่มีกำลังใจ ก็ไม่ต่างอะไรจากการออกรบที่ไร้ซึ่งชุดเกราะ มีเพียงโล่กำบัง เมื่อนักกิจกรรมบำบัดได้แนะนำวิธีการขจัดความเศร้าและเพิ่มพลังแห่งความหวังด้วยการทำกิจกรรมที่ผู้รับบริการสนใจแล้ว สิ่งต่อมาที่จำเป็นต้องมีคือ “กำลังใจ” กำลังใจสามารถสร้างได้ด้วยตนเองและคนรอบข้าง กำลังใจที่สร้างด้วยตนเองสามารถสร้างได้ง่ายๆด้วยการชื่นชมผลงานของตนเอง และภาคภูมิใจในผลงานของตนเอง ในที่นี้คือผลงานที่ได้จากการวาดรูประบายสี และกำลังใจจากคนรอบข้างอาจเกิดจากการถ่ายรูปผลงานของตนเองลงใน Social การนำผลงานของตนเองไปลงขายใน Website หรือนำผลงานของตนเองไปเป็นของขวัญให้กับคนรอบข้าง เพื่อสร้างความสุขและรอยยิ้มให้กับคนรอบข้าง ซึ่งรอยยิ้มนั้นจะเป็นกำลังใจเล็กๆน้อยๆที่จะเป็นแรงผลักดันให้ผู้รับบริการทำสิ่งที่ตนเองสนใจต่อไปได้อย่างมีความสุข

  • Skilled Life Design : การออกแบบชีวิตอย่างมีทักษะ

การออกแบบชีวิตของตนเอง จะช่วยให้การใช้ชีวิตมีทิศทางที่ชัดเจน รู้เป้าหมายของตนเอง สามารถไปสู่เป้าหมายได้อย่างง่ายดายมากขึ้น และมีชีวิตที่ดีขึ้นได้ โดยการใช้หลัก Design Thinking เป็นเครื่องมือค้นหาความต้องการของตนเอง เพื่อนำไปสู่การออกแบบการใช้ชีวิต ซึ่งมีขึ้นตอนดังนี้

1. ตั้งคำถาม เพื่อให้ทราบว่าผู้รับบริการมีความเข้าใจในตนเองมากน้อยแค่ไหน

แบ่งคำถามออกเป็น 2 Part

  • Education view : คุณเป็นใคร? เรียนอะไรอยู่? ทำไมถึงเลือกเรียนคณะนี้? มันมีความหมายกับคุรอย่างไร? การเรียนที่ดีและมีคุณค่ากับคุณคือการเรียนแบบไหน?
  • Life view : เป้าหมายในชีวิตคุณคืออะไร? คุณให้ความสำคัญกับอะไรมากที่สุดในชีวิต? คุณชอบชีวิตของตัวเองมั้ย? คุณจะมีความสุขในชีวิตของตัวเองอย่างไร?

เมื่อได้คำตอบจากคำถามเหล่านี้แล้ว จะทำให้ผู้รับบริการได้เห็นตัวเองมากขึ้น ได้รู้ว่าเป้าหมายในชีวิตของผู้รับบริการตรงกับสิ่งที่กำลังเรียนอยู่หรือไม่ ถ้าไม่ตรงจะได้นำไปปรับในข้อต่อไป

2. ตั้งคำถาม เพื่อให้ทราบว่าผู้รับบริการให้ความสำคัญกับสิ่งใดบ้าง

สิ่งสำคัญที่มนุษย์ควรให้ความสำคัญมีอยู่ 4 เรื่องหลักๆ ได้แก่ Work , Leisure , Love และ Health สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้มนุษย์ได้ทบทวนว่าเขาให้ความสำคัญกับอะไรบ้าง และให้ความสำคัญมากน้อยแค่ไหน โดยสามารถระบุเป็นเปอร์เซ็นได้ เช่น คุณให้ความสำคัญกับสุขภาพมากน้อยแค่ไหน และให้ความสำคัญกี่เปอร์เซ็น

3. ช่วยสร้างแผนการใช้ชีวิตให้กับผู้รับบริการ

เมื่อผู้รับบริการมีความเข้าใจในตนเองมากขึ้น เห็นถึงการให้ความสำคัญของตนเองมากขึ้น จะทำให้ผู้รับบริการสามารถตั้งเป้าหมายในการใช้ชีวิตของตนเองได้ ซึ่งการจะไปถึงเป้าหมายนั้น ต้องมีการวางแผนการใช้ชีวิตก่อน เพื่อให้การดำรงชีวิตในแต่ละวันเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยแบ่งการวางแผนเป็น 3 แบบ คือ

แผนที่ 1 วางแผนชีวิตในปัจจุบัน เช่น ในแต่ละวันจะทำอะไรบ้าง อยากทำอะไรเพิ่มจากเดิมบ้าง?

แผนที่ 2 วางแผนสำรอง หากแผนแรกไม่สามารถทำได้ จะทำอะไรแทน?

แผนที่ 3 วางแผนโดยที่ไม่มีปัจจัยใดๆมาเกี่ยวข้อง เช่น อยากมีชีวิตแบบไหน? อยากทำอะไรในชีวิตบ้าง?

จากนั้นนำสิ่งต่างๆในแต่ละแผนมาเรียบเรียงเป็น Timeline ตามระยะเวลา เพื่อดูว่าผู้รับบริการสามารถทำอะไรได้บ้างในแผนที่วางไว้ และช่วยให้ผู้รับบริการมองเห็นภาพรวมของเป้าหมาย และประเมินว่าสิ่งที่วางแผนไว้จะสามารถเป็นจริงได้มากน้อยแค่ไหน

4. ส่งเสริมให้ผู้รับบริการสามารถไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้

เมื่อวางแผนและตั้งเป้าหมายในรูปแบบ Timeline เรียบร้อยแล้ว หน้าที่ต่อไปของนักกิจกรรมบำบัดคือส่งเสริมให้ผู้รับบริการเริ่มลงมือทำตามแผนที่วางไว้ ช่วยกระตุ้นด้วยการให้ผู้รับบริการคอยจดบันทึกการทำกิจกรรมในแต่ละวัน คอยให้กำลังใจเมื่อผู้รับบริการเจอปัญหาหรือเกิดข้อผิดพลาดที่ไม่เป็นไปตามที่วางแผนไว้ และคอยให้คำแนะนำเมื่อผู้รับบริการไม่สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ด้วยตนเอง

  • Supportive Engagement : การสนับสนุนการมีส่วนร่วม

การมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมไม่ว่าจะเป็นระดับครอบครัว ระดับโรงเรียน ระดับชุมชน ระดับองค์กร หรือระดับประเทศนั้น จะช่วยให้มนุษย์เกิดความรู้สึกความเป็นเจ้าของ (Ownership) ยินยอมปฏิบัติตาม (Compliance) รวมถึงการตกลงยอมรับ (Commitment) อย่างสมัครใจ เต็มใจ และสบายใจ ซึ่งใน Case นี้ ผู้รับบริการเป็นนักศึกษา การมีส่วนร่วมที่สำคัญต่อผู้รับบริการคือการมีส่วนร่วมในระดับครอบครัว และโรงเรียน/มหาวิทยาลัย การมีส่วนร่วมในครอบครัว ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหารร่วมกัน การใช้เวลาว่างร่วมกัน ไปเที่ยวด้วยกัน หรือการนั่งดูโทรทัศน์ร่วมกัน เหล่านี้จะทำให้ผู้รับบริการได้ใกล้ชิดกับครอบครัวมากขึ้น เกิดความสนิทสนม พัฒนาความสัมพันธ์ให้เป็นไปในทางที่ดี เกิดความไว้วางใจ และกล้าที่จะพูดคุย ปรึกษา เล่าเรื่องราว หรือปัญหาต่างๆให้กับครอบครัวฟังได้ ซึ่งหากผู้รับบริการรู้สึกไว้วางใจและกล้าที่จะเล่าปัญหาของตนเองให้คนในครอบครัวฟังนั้น ถือเป็นสิ่งที่ดีกับตัวผู้รับบริการโดยตรง เพราะผู้รับบริการจะไม่รู้สึกโดดเดี่ยว มีที่พึ่งพิง มีคนคอยรับฟัง และให้คำแนะนำที่ดีกับตนเอง เหล่านี้จะช่วยแก้ปัญหาอาการซึมเศร้า วิตกกังวล และสอบตกได้ เมื่อผู้รับบริการได้ระบายความรู้สึกออกมา จะทำให้ลดความอึดอัด ความเศร้า ความวิตกกังวล และความเครียดในใจได้ แถมยังมีคนคอยให้ความช่วยเหลือในการแก้ไขปัญหาอาการซึมเศร้า เช่น พาไปเข้ารับการรักษา คอยสังเกตอาการ หาความรู้เกี่ยวกับอาการที่เกิดขึ้น ช่วยแก้ไขปัญหาการวิตกกังวล เช่น พาไปเจอบรรยากาศดีๆนอกบ้าน คอยให้กำลังใจ รวมถึงการแก้ปัญหาการสอบตกได้อีกด้วย เช่น การพาไปเรียนพิเศษ การช่วยหาทริคในการจำบทเรียน หรือจะเป็นการให้กำลังใจให้ผู้รับบริการตั้งใจเรียนให้มากขึ้น โดยนักกิจกรรมบำบัดมีหน้าที่บอกถึงข้อดีของการมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมต่างๆ ทั้งในระดับครอบครัวและระดับอื่นๆ รวมถึงการพูดคุยกับครอบครัวเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติตัวและการสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีภายในครอบครัว

 

  • การสื่อสารเพื่อการบำบัด

กิจกรรม “คิด เครียด คลาย” หากเรามุ่งแต่จะคลายความเครียดลบอย่างเดียว ก็จะไม่รู้จักการคิดเครียดบวก (Eustress) การเรียนรู้ด้วยความคิดบวก จะทำให้จิตใจเข้มแข็ง ร่างกายแข็งแรง มีอารมณ์อ่อนโยน และช่วยผู้อื่นด้วยความจริงใจ ซึ่งมีรหัสย่อช่วยจำ ดังนี้

  • กิจกรรมบำบัดเพื่อการสำรวจเคาะคลายอารมณ์ลบ

  • สมดุลสมองเพื่อการบำบัด

หากผู้รับบริการหมกมุ่น วิตกกังวล นักกิจกรรมบำบัดต้องประเมินผู้รับบริการแบบ “ผู้ให้คำปรึกษา COUNSELLOR” คือการช่วยแยกแยะปัญหาชีวิต และรับฟังผู้รับบริการ ให้ผู้รับบริการสามารถคิดริเริ่มแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง ซึ่งมีรหัสย่อช่วยจำ ดังนี้


 

  • นำหลักการ PERMA มาใช้

ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ เป็นแนวทาง “Hope Skill Support” ได้แก่ Hopeful Empowerment + Skilled Life Design + Supportive ที่นักกิจกรรมบำบัดจิตสังคมจะสามารถช่วยเหลือนักศึกษากฎหมาย ที่มีอาการซึมเศร้า วิตกกังวล ติดพนัน มีหูแว่วเล็กน้อย และสอบตกทุกวิชาได้ 

 

หวังว่าบทความใน Blog นี้จะเป็นปะโยชน์แก่ผู้อ่านทุกท่าน

หากมีข้อผิดพลาดประการใดต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี้

 

อ้างอิง

https://today.line.me/th/v2/article/N16o1m

https://www.mangozero.com/design-thinking-better-life/

https://www.facebook.com/techniques/posts/765832483430524/

https://www.setsocialimpact.com/Article/Detail/77236?fbclid=IwAR2iGr5MqojN44PVt4r4WYmRIouSj9kqF1uh64YEXvwzbW-d5x-Kqe3uOkk

ตำรากิจกรรมบำบัดจิตเมตตา

หมายเลขบันทึก: 695795เขียนเมื่อ 10 มกราคม 2022 20:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มกราคม 2022 20:28 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท