ในบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มีสาระสำคัญหลายมาตราที่กล่าวถึงการศึกษา อาทิ มาตรา 42 ระบุให้ บุคคลมีเสรีภาพในทางวิชาการ การศึกษาอบรม การเรียนการสอน การวิจัยและการเผยแพร่งานวิจัยตามหลักวิชาการ ต้องได้รับความคุ้มครอง มาตรา 43 กล่าวถึง การที่รัฐจำเป็นจะต้องจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้แก่ประชาชนไม่น้อยกว่า 12 ปีอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ ซึ่งในการจัดการศึกษาให้เกิดคุณภาพ ครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษานับเป็นปัจจัยและทรัพยากรที่มีความสำคัญยิ่ง ต่อการชี้นำ รวมทั้งการกำหนดทิศทางการจัดการเรียนรู้ให้แก่เด็ก เยาวชนและประชาชนกลุ่มเป้าหมายต่างๆ ทั่วประเทศ รัฐธรรมนูญฉบับเดียวกันนี้ จึงบัญญัติไว้ชัดเจนในมาตรา 81 ให้รัฐต้องเร่งรัดให้มีการพัฒนาวิชาชีพครู และโดยบทบัญญัติของกฎหมายสูงสุดที่ใช้สำหรับการบริหารประเทศฉบับดังกล่าว พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 อันเป็นกฎหมายเฉพาะสำหรับการศึกษา จึงระบุในมาตรา 52 กำหนดให้รัฐส่งเสริมให้มีระบบ กระบวนการผลิต การพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพและมาตรฐานที่เหมาะสมกับการเป็นวิชาชีพชั้นสูง รวมทั้งยังกำหนดให้รัฐต้องจัดสรรงบประมาณจัดตั้งเป็นกองทุนพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาอย่างเพียงพอสถาบันพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาเป็นหน่วยงานที่ได้รับการกำหนดให้มีภารกิจหน้าที่รับผิดชอบการส่งเสริมสนับสนุนและประสานการดำเนินการ เพื่อกำหนดหลักการรูปแบบและกิจกรรมหลักต่างๆ สำหรับการพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาในนามของกระทรวงศึกษาธิการ แต่การดำเนินการตามภารกิจในหลักการดังกล่าวมีกลุ่มเป้าหมายจำนวนกว่า600,000 คน ที่กระจายอยู่ในการดูแลของหลายหน่วยงานหลายสังกัดทุกพื้นที่ทั่วประเทศ มีกฎหมายระบุขอบข่ายในการบริหารจัดการภาพรวมของการปฏิบัติภารกิจหรือกิจกรรมต่างๆเป็นการเฉพาะ การดำเนินการให้บรรลุความสำเร็จตามหน้าที่ความรับผิดชอบของสถาบันพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา จึงมิใช่เรื่องที่จะกระทำได้โดยง่าย จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากหน่วยงานหลายหน่วยงานทั้งในภาคส่วนของการศึกษาและหน่วยงานที่รับผิดชอบการปฏิบัติภารกิจลักษณะอื่น ๆ ภายใต้รูปแบบการประสานการปฏิบัติในการคิด การกำหนดทิศทาง การปฏิบัติพัฒนาและการติดตามผลการดำเนินให้มีคุณภาพการพัฒนาสูงสุด ทั้งนี้รูปแบบการทำงานจะต้องเป็นการประสานการปฏิบัติ ภารกิจร่วมกัน ทุกระดับทุกกิจกรรมเชื่อมโยงสัมพันธ์กัน ในลักษณะพันธมิตรเครือข่าย การประสานที่ดำเนินการสำหรับการส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมทางวิชาการในการพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา ต้องได้รับความเห็นชอบสนับสนุนจากหน่วยงานต้นสังกัดในกลุ่มเป้าหมายต่างๆ
สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา จึงกำหนดกรอบแนวทางการพัฒนาและมาตรฐานหน่วยงานและบุคคลเครือข่าย ในการพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาขึ้น เพื่อให้การพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาเป็นไปตามมาตรฐานและเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
กรอบแนวทางการพัฒนา
1. การพัฒนาทางครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาจะต้องก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อตัวนักเรียน
2. การพัฒนาต้องเกิดจากความต้องการทางครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา ซึ่งจะต้องพัฒนา มิใช่บุคคลอื่นหรือหน่วยงานเป็นตัวกำหนด โดยมีเป้าหมายสำคัญที่ตัวเด็กนักเรียนจะต้องเกิดการเปลี่ยนแปลง
3. การพัฒนาควรดำเนินการ ณ สถานที่ปฏิบัติงานของครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา ในลักษณะที่เป็นการพัฒนาควบคู่ไปกับการปฏิบัติงาน (site based Training)
4. การพัฒนาควรมีหลากหลายรูปแบบให้ครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาเลือกที่จะรับการพัฒนาตามความเหมาะสมกับความต้องการของตน
5. การพัฒนาควรดำเนินการอย่างทั่วถึงต่อกลุ่มเป้าหมายในรูปของเครือข่าย กระจายอยู่ในทุกภูมิภาคทั่วประเทศ
รูปแบบของการพัฒนา
เพื่อให้การพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลาการศึกษา สามารถดำเนินการได้อย่างทั่วถึงต่อกลุ่มเป้าหมาย และเป็นไปตามกรอบแนวทางการพัฒนา ดังที่กล่าวข้างต้น รูปแบบการพัฒนาจึงควรมีหลากหลายรูปแบบ อาทิ
1. เพื่อนช่วยเพื่อน (Peer group) เป็นการพัฒนาที่เกิดจากครู คณาจารย์หรือบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียนเดียวกันหรือต่างโรงเรียนกันมารวมกลุ่ม แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ในการจัดการเรียนการสอน หรือการสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่สามารถเสริมสร้างพัฒนาการของนักเรียนและประสบความสำเร็จมาแล้วให้เป็นแนวทางแก่เพื่อนครูคนอื่นนำไปประยุกต์ใช้โดยร่วมกันวิเคราะห์และจัดระดับความรู้อย่างเป็นระบบ
2. การวิจัยในชั้นเรียนอย่างง่ายแต่ มีวิธีการและขั้นตอนการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ สามารถ
ตรวจสอบได้ เช่น การวิจัย เพื่อพัฒนาศักยภาพการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนคนใดคนหนึ่งหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เป็นต้น
3. การไปศึกษาต่อระดับที่สูงขึ้น จากสถาบันอุดมศึกษา เพื่อพัฒนาความรู้ และคุณวุฒิของครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา ทั้งในและต่างประเทศ
4. การเข้ารับการฝึกอบรม หรือการเข้าร่วมสัมมนาทางวิชาการที่หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนจัดขึ้น โดยมีเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างความรู้ให้แก่ครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา และต้องเป็นหน่วยงานที่มีมาตรฐานตามาตรฐานเครือข่ายการพัฒนาที่สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา(สคบศ.) อาทิ มหาวิทยาลัย
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สถาบันพัฒนาบุคลากรของหน่วยงานต้นสังกัด โรงเรียน กลุ่ม โรงเรียนองค์กรเอกชน ที่เป็นหน่วยงานเครือข่ายของ สคบศ.
5. การับฟังหรือแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์กับผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขา ที่มีสมรรถนะตามมาตรฐานบุคคลเครือข่ายที่ สคบศ. กำหนด อาทิ ปราชญ์ชาวบ้านหรือบุคคลผู้ทรงภูมิปัญญาท้องถิ่น บุคคลทีมีความรู้และประสบความสำเร็จ ในหน้าที่การงานจนเป็นที่ยอมรับของสังคมหรือของบุคคลในวิชาชีพ
6. การเรียนรู้ผ่านระบบเครือข่ายทางไกล อาทิ การศึกษา ผ่านสื่อวิทยุ โทรทัศน์ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเลคทรอนิกส์ต่างๆ ได้แก่ เทป ซีดีรอม ระบบอินเตอร์เน็ต E-books, E-learning ฯลฯ
จะเห็นได้ว่ารูปแบบการพัฒนา รูปแบบที่ 1 และ 2 คือเพื่อนช่วยเพื่อนและการวิจัยในชั้นเรียนนั้นเป็นการพัฒนาที่ส่งผลถึงตัวเด็กโดยตรง เพราะเป็นการพัฒนาครูควบคู่กับการปฏิบัติงานในหน้าที่ จึงควรที่จะให้การสนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาในรูปแบบดังกล่าวให้มากและอย่างจริงจัง ส่วนรูปแบบที่ 3 ถึงรูปแบบที่ 6 นั้น เป็นการพัฒนาครู ที่ส่งผลถึงตัวเด็กนักเรียนทางอ้อม เพราะหากครูที่ได้รับกรพัฒนามิได้นำความรู้ที่ได้รับมาประยุกต์ใช้ในการเสริมสร้างพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียน ประโยชน์ก็จะไม่เกิดแก่ผู้เรียนแต่อย่างใด ดังนั้นรูปแบบการพัฒนาตั้งแต่รูปแบบที่ 3 ถึงรูปแบบที่ 6 จึงเป็นทางเลือกของการพัฒนาให้มีความหลากหลายแก่ครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาที่จะพิจารณาเลือกตามความเหมาะสมและเพื่อให้รูปแบบการพัฒนาดังกล่าวมีคุณภาพ จึงจำเป็นต้องกำหนดมาตราฐานของหน่วยงานหรือบุคคลที่จะเป็นเครือข่ายของการพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลกรทางการศึกษาให้มีความชัดเจนและเป็นรูปธรรม สามารถวัดและประเมินได้ เพื่อเป็นการประกันคุณภาพของเครือข่ายได้ในระดับหนึ่ง
2. การพัฒนาต้องเกิดจากความต้องการทางครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา ซึ่งจะต้องพัฒนา มิใช่บุคคลอื่นหรือหน่วยงานเป็นตัวกำหนด โดยมีเป้าหมายสำคัญที่ตัวเด็กนักเรียนจะต้องเกิดการเปลี่ยนแปลง
3. การพัฒนาควรดำเนินการ ณ สถานที่ปฏิบัติงานของครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา ในลักษณะที่เป็นการพัฒนาควบคู่ไปกับการปฏิบัติงาน (site based Training)
4. การพัฒนาควรมีหลากหลายรูปแบบให้ครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาเลือกที่จะรับการพัฒนาตามความเหมาะสมกับความต้องการของตน
5. การพัฒนาควรดำเนินการอย่างทั่วถึงต่อกลุ่มเป้าหมายในรูปของเครือข่าย กระจายอยู่ในทุกภูมิภาคทั่วประเทศ
รูปแบบของการพัฒนา
เพื่อให้การพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลาการศึกษา สามารถดำเนินการได้อย่างทั่วถึงต่อกลุ่มเป้าหมาย และเป็นไปตามกรอบแนวทางการพัฒนา ดังที่กล่าวข้างต้น รูปแบบการพัฒนาจึงควรมีหลากหลายรูปแบบ อาทิ
1. เพื่อนช่วยเพื่อน (Peer group) เป็นการพัฒนาที่เกิดจากครู คณาจารย์หรือบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียนเดียวกันหรือต่างโรงเรียนกันมารวมกลุ่ม แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ในการจัดการเรียนการสอน หรือการสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่สามารถเสริมสร้างพัฒนาการของนักเรียนและประสบความสำเร็จมาแล้วให้เป็นแนวทางแก่เพื่อนครูคนอื่นนำไปประยุกต์ใช้โดยร่วมกันวิเคราะห์และจัดระดับความรู้อย่างเป็นระบบ
2. การวิจัยในชั้นเรียนอย่างง่ายแต่ มีวิธีการและขั้นตอนการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ สามารถ
ตรวจสอบได้ เช่น การวิจัย เพื่อพัฒนาศักยภาพการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนคนใดคนหนึ่งหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เป็นต้น
3. การไปศึกษาต่อระดับที่สูงขึ้น จากสถาบันอุดมศึกษา เพื่อพัฒนาความรู้ และคุณวุฒิของครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา ทั้งในและต่างประเทศ
4. การเข้ารับการฝึกอบรม หรือการเข้าร่วมสัมมนาทางวิชาการที่หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนจัดขึ้น โดยมีเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างความรู้ให้แก่ครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา และต้องเป็นหน่วยงานที่มีมาตรฐานตามาตรฐานเครือข่ายการพัฒนาที่สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา(สคบศ.) อาทิ มหาวิทยาลัย
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สถาบันพัฒนาบุคลากรของหน่วยงานต้นสังกัด โรงเรียน กลุ่ม โรงเรียนองค์กรเอกชน ที่เป็นหน่วยงานเครือข่ายของ สคบศ.
5. การับฟังหรือแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์กับผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขา ที่มีสมรรถนะตามมาตรฐานบุคคลเครือข่ายที่ สคบศ. กำหนด อาทิ ปราชญ์ชาวบ้านหรือบุคคลผู้ทรงภูมิปัญญาท้องถิ่น บุคคลทีมีความรู้และประสบความสำเร็จ ในหน้าที่การงานจนเป็นที่ยอมรับของสังคมหรือของบุคคลในวิชาชีพ
6. การเรียนรู้ผ่านระบบเครือข่ายทางไกล อาทิ การศึกษา ผ่านสื่อวิทยุ โทรทัศน์ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเลคทรอนิกส์ต่างๆ ได้แก่ เทป ซีดีรอม ระบบอินเตอร์เน็ต E-books, E-learning ฯลฯ
จะเห็นได้ว่ารูปแบบการพัฒนา รูปแบบที่ 1 และ 2 คือเพื่อนช่วยเพื่อนและการวิจัยในชั้นเรียนนั้นเป็นการพัฒนาที่ส่งผลถึงตัวเด็กโดยตรง เพราะเป็นการพัฒนาครูควบคู่กับการปฏิบัติงานในหน้าที่ จึงควรที่จะให้การสนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาในรูปแบบดังกล่าวให้มากและอย่างจริงจัง ส่วนรูปแบบที่ 3 ถึงรูปแบบที่ 6 นั้น เป็นการพัฒนาครู ที่ส่งผลถึงตัวเด็กนักเรียนทางอ้อม เพราะหากครูที่ได้รับกรพัฒนามิได้นำความรู้ที่ได้รับมาประยุกต์ใช้ในการเสริมสร้างพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียน ประโยชน์ก็จะไม่เกิดแก่ผู้เรียนแต่อย่างใด ดังนั้นรูปแบบการพัฒนาตั้งแต่รูปแบบที่ 3 ถึงรูปแบบที่ 6 จึงเป็นทางเลือกของการพัฒนาให้มีความหลากหลายแก่ครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาที่จะพิจารณาเลือกตามความเหมาะสมและเพื่อให้รูปแบบการพัฒนาดังกล่าวมีคุณภาพ จึงจำเป็นต้องกำหนดมาตราฐานของหน่วยงานหรือบุคคลที่จะเป็นเครือข่ายของการพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลกรทางการศึกษาให้มีความชัดเจนและเป็นรูปธรรม สามารถวัดและประเมินได้ เพื่อเป็นการประกันคุณภาพของเครือข่ายได้ในระดับหนึ่ง