แนวทางการผลักดันความรู้ สู่การปฏิบัติ


องค์กรที่จะเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ได้นั้นต้องรู้จักวิธีการสร้างฐานองค์ความรู้ในองคืกรที่ก่อตั้งมาจากข้อมูล และสารสนเทศ เพื่อประกอบกันเป็นองค์ความรู้ ที่มาจากประสบการณ์และทักษะที่สั่งสมก่อให้เกิดเป็นภูมิปัญญา ที่มีความเคลื่อนไหวถ่ายโอนข้อมูลข่าวสารกันอยู่เสมอ

ข้อแก้ตัวที่เป็นกิจวัตรขององค์กร คือการที่กลุ่มบุคคลในองค์กรไม่สามารถที่จะสืบค้นและทำการแก้ไขข้อผิดพลาด ความบกพร่องที่เกิดขึ้น เห็นว่าเป็นสิ่งน่าอาย ทำให้เสียหน้า โดยการพยายามมองข้าม เสมือนว่าข้อผิดพลาดนั้นไม่ได้เกิด เป็นสิ่งที่ไม่ควรนำมาพูดคุย จนกลายเป็นสิ่งที่แตะต้องไม่ได้เลย

ท่านเคยเจอเหตุการณ์อย่างนี้บ้างไหม?

- พนักงานที่นายส่งไปดูงาน เข้าอบรมหลักสูตรแพงๆ เมื่อกลับมาแล้วเก็บข้อมูลเอกสารที่ได้ไว้ในลิ้นชัก เพราะต้องวุ่นวายกับเรื่องที่ไม่ควรทำและแรงกดดันในเรื่องของความอิจฉาริษยา การชิงดีชิงเด่นในองค์กรจึงไม่คิดเผยแพร่ให้คนอื่นได้รู้ ได้เข้าใจด้วยเกรงว่าคนอื่นจะเก่งกว่าตน การเรียนรู้เกิดผลไม่เต็มที่ จำกัดในวงแคบ

- เพื่อนของท่านสมัยเรียนมัธยมเป็นคนเก่ง แต่พอมาทำงานในองค์กรเดียวกันกลับเป็นคนที่ เคย เก่ง ซึ่งเหตุเป็นเพราะการศึกษาหรือการบริหารงาน ทำให้เขาเป็นเหยื่อของระบบ เป็นเหยื่อของประวัติศาสตร์

- พนักงานแรกเข้าขององค์กรแม้มีความรู้ความสามารถ มีความอยากรู้อยากเห็น แต่ขาดทักษะในการเรียนรู้และทำงานเป็นทีม ไม่เต็มใจที่จะแบ่งปันข้อมูลแก่กัน อยู่ไปนานๆ ปริมาณงานท่วมท้น ทำให้ไม่มีเวลาอ่านค้นคว้าใดๆ

-พนักงานที่อยู่ในองค์กรมานาน ขาดแรงจูงใจที่จะเรียนรู้ ขาดทักษะในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ทำงานไม่คุ้มค่าจ้างเงินเดือน วันๆ คิดแต่จะเอาใจนาย มีเงินซื้อหนังสือแตไม่มีปัญญาและเวลาจะอ่าน อายุงานสูง แต่ประสบการณ์ทำงานต่ำ ไม่คิดทำอะไรใหม่ๆ ชอบโยนงานให้คนล่างๆตนทำ รับกรรมแทน

แนวทางการผลักดันความรู้ สู่การปฏิบัติ

 แนวทางหนึ่งของการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ คือการประเมินช่องว่างของสิ่งที่ผู้คนในองค์กรนั้นรู้-เข้าใจ สั่งสมความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านไว้ กับการนำเอาองค์ความรู้ ทักษะ และประสบการณ์นั้นๆ ออกมาปฏิบัติ นั่นคือ ทำอย่างไรที่ องค์กรจะผลักดันความคิดเป็นการปฏิบัติอย่างเร็วที่สุด ถูกต้อง เหมาะสม และประหยัด และก็ให้เกิดการถ่ายโอนการเรียนรู้ มีการแลกเปลี่ยนกันอย่างรวดเร้วและทั่วถึงภายในองค์กร

1. คำนึงถึง ทำไม ก่อน อย่างไร ( Why before How) - ควรใส่ใจปรัชญา คุณค่า และเหตุผลของการปฏิบัติก่อนที่จะใส่ใจในแนวปฏิบัติ หรือเทคนิควิธี

2. ความรู้ ความเข้าใจภูมิปัญญาเกิดจากการได้มีโอกาสลงมือทำ และสอนผู้อื่นว่าทำอย่างไร - การฝึกฝน ฝึกหัด การได้ลองปฏิบัติภายใต้การสอนงาน การสังเกต การเรียนรู้ร่วมกัน ล้วนแต่เป็นการเพิ่มพูนทักษะที่ดีเป็นอย่างยิ่ง การสอนทำให้เรามีโอกาสได้พัฒนาตนเอง

3. การลงมือปฏิบัติมีความหมายมากกว่าการคิดวางแผน - ความสามารถคิดได้นั้นมีค่าเพียง 20% ส่วนที่เหลือ 80% นั้นเป็นเรื่องของการปฏิบัติ ซึ่งบางทีอาจไม่เป็นไปตามที่ได้วางแผนไว้

4. การปฏิบัติทุกอย่างมีข้อผิดพลาด แล้วแต่ว่าองค์กรจะมีปฏิกิริยาเช่นไร - การสร้างวัฒนธรรมที่เข้าใจและให้อภัย เป็นการสนับสนุนการเรียนรู้ที่ดีได้

5. ความกลัวทำให้ช่องว่างของสิ่งที่ควรรู้กับสิ่งที่ทำอยู่ เป็นอยู่กว้างมากขึ้น - ความกลัวทำให้พนักงานไม่กล้าคิดหรือทำอะไรนอกกรอบ อะไรที่ผิดไปจากกฎ กติกา นโยบาย หรือข้อตกลง พวกเขาจะไม่คิดทำนำไปสู่การคล้อยตามผู้บริหาร 

องค์กรที่จะเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ได้นั้นต้องรู้จักวิธีการสร้างฐานองค์ความรู้ในองคืกรที่ก่อตั้งมาจากข้อมูล และสารสนเทศ เพื่อประกอบกันเป็นองค์ความรู้ ที่มาจากประสบการณ์และทักษะที่สั่งสมก่อให้เกิดเป็นภูมิปัญญา ที่มีความเคลื่อนไหวถ่ายโอนข้อมูลข่าวสารกันอยู่เสมอ

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 695เขียนเมื่อ 1 กรกฎาคม 2005 15:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 13:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
ขอชมเชย น้องJubสรุปได้ดีนะ..แต่ขอเพิ่มเตินให้นิดนึงว่า นอกจากการถ่ายทอดแล้วการเริ่มเป็นผุ้รับที่ดีก่อนน่าจะทำให้องค์กรยิ่งมีความสำเร็จมากขึ้น ยกตัวอย่าง ...อย่างผม จะเริ่มจากการ เป็นผู้ฟังก่อน ..ฟังให้เข้าใจกลั่นกลองจนได้แก่นแท้แล้วสรุปจนนำไปปฏิบัติได้ สุดท้ายจะได้ Tacit "" ออกมาเอง ลองทำดูซิครับ ตามที่น้องเล่ามาพี่ว่าน่าจะอยู่ที่เรื่องของ process มากกว่าในการจะถ่ายทอด Tacit...
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท