แซนด์บ๊อกส์ : การออกแบบทดลองจำกัดพื้นที่ (Sandbox: Exclusive experiment area)


หลายเดือนก่อนผมได้รับเชิญไปวิพากษ์วิทยานิพนธ์ที่จะใช้ sandbox เพื่อออกแบบการทดลองใช้รูปแบบที่สร้างขึ้น หลังจากฟังการนำเสนอผมก็เห็นว่างานวิจัยดังกล่าวไม่จำเป็นถึงกับต้องใช้สร้างแซนด์บ๊อกเพื่อทดลองใช้รูปแบบดังกล่าว และความเห็นว่า sandbox ไม่ใช่ experiment research design ครับแต่เป็นการออกแบบพื้นที่สำหรับใช้ในการการทดลองสิ่งซึ่งจะเป็นอันตรายต่อสภาพแวดล้อม และ/หรือสิ่งของ และ/หรือบุคคลที่อยู่ในหรือใกล้เคียงกับพื้นที่ทดลอง เช่น การทดลองระเบิดปรมณู เป็นต้น คณะที่ทำการทดลองจึงต้องสร้างพื้นที่ที่ปลอดภัยสำหรับการทดลอง และเรียกพื้นที่ทดลองดังกล่าวว่าเป็น sandbox 

หลังจากให้ความเห็นต่อผู้วิจัยแล้วผมก็ไม่คิดว่าจะเขียนเกี่ยวกับเรื่องนี้ในบทเขียนใน GotoKnow แต่สองสามวันก่อนผมได้เป็นผู้ให้คำแนะนำในการเขียนโตรงการนำร่องพื้นที่นวัตกรรม และผู้เสนอโครงการก็ใช้คำว่า Innovation Sandbox และผมก็ให้ความเห็นเช่นเดียวกันกับงานวิจัยข้างต้น 

ย้อนหลังไปตอนที่ประเทศไทยจะมีนโยบายเปิดประเทศโดยใช้ภูเก็ตเป็นแหล่งทดลองการเปิดประเทศ และเราก็เรียกกันว่า​ ภูเก็ดแซนด์บ๊อก ซึ่งก็อาจจะเรียกว่าแซนด์บ๊อกส์ได้ ถ้ามีการใช้หลักการและวิธีการออกแบบแซนด์บ๊อกส์มาสร้างภูเก็ตแชนด์บ๊อกส์เพื่อนำร่องการทดลองการเปิดประเทศใหม่ขณะที่มีการระบาดของโควิด-19 อยู่ แต่ขณะเดียวกันก็อยากเปิดรับนักท่องเที่ยว 

เราอาจจะถือว่า "การเปิดการท่องเที่ยวขณะที่ยังมีการระบาดของโควิด-19 อยู่นั้นเราต้องสร้างแชนด์บ๊อกส์ การท่องเที่ยวภูเก็ตอย่างปลอดภัยทั้งนักท่องเที่ยวและผู้อยู่ในภูดเก็ด และใกล้เคียง โดยผู้ออกแบบต้องรู้ปัจจัยเสี่ยงทั้งหมดและออกแบบการป้องกันปัจจัยเสี่ยงเหล่านั้นเพื่อติดตามดูว่ามีปัญหาอะไรหรือไม่ อย่างไร และหลังจากเปิดการท่องเที่ยวที่ภูเก็ดระยะหนึ่ง แล้วก็ประเมินผลแซนด์บ๊อกส์ไว่ได้ผลหรือไม่อย่างไร ถ้ามีปัญหา ณ จุดใดก็ปรับปรุงแก้ไข จนมั่นใจว่าปลอดภัยทุกฝ่าย จึงขยายผลต่อไปที่อื่น ๆ โดยมีเงื่อนไขว่า ถ้าจะเปิดรับนักท่องเที่ยวก็ออกแบบแวนช์บ๊อกส์การท่องเที่ยวเช่นเดียวกันกับที่ภูเก็ต เป็นต้น 

แต่เท่าที่ผมติดตามดูก็ไม่เห็นมีอะไรที่จะเป็น​แซนด์บ๊อกส์การท่องเที่ยวแต่อย่างไร (นอกจากชื่อ) ไม่ทราบการประเมินผล ก่อนจะขยายผลไปที่อื่น 

ปัญหาทางวิชาการคือ มีการใช้ชื่อแชนด์บ๊อกส์กันอย่างแพร่หลายโดยไม่เป็นไปตามหลักการและวิธีการแซนด์บ๊อกส์ดังกล่าวมาแล้วข้างต้น ดังนั้นหลังจากการวิพากษ์งานโครงการแซนด์บ๊อกส์นวัตกรรมการศึกษาดังกล่าวมาแล้ว เลยตัดสินใจเขียนเรื่องนี้ครับโดยมีข้อสังเกต 2 ประการคือ

  1. การทดลองที่ต้องใช้หลักการและวิธีการแซนด์บ๊อกส์ควรเป็นการทดลองสิ่ง หรือเรื่องที่จ่ะก่อให้เกิดอันตรายต่อพื้นที่ทดลองและที่อยู่ใกล้เคียง จึงต้องออกแบบแซนด์บ๊อกส์เพื่อป้องกัน 
  2. การออกแบบแซนด์บ๊อกส์ต้องรู้ปัจจัยที่จะก่อให้เกิดอันตรายต่อพื้นที่และใกล้เคียง แล้วออกแบบวิธีเพื่อป้องกันอันตรายเหล่านั้น และระหว่างทดลองก็มีการติดตาม เก็บข้อมูล และประเมินผลว่าแซนด์บ๊อกส์สามารถป้องกันปัญหาที่เกิดขึ้นจากสิ่งทดลองได้หรือไม่อย่างไร ถ้ามีต้องแก้ไข ถ้าไม่มีค่อยขยาขผลแซนด์บ๊อกส์ต่อไป ครับ 

สมาน อัศวภูมิ 

20 สิงหาคม 2565

หมายเลขบันทึก: 705663เขียนเมื่อ 20 สิงหาคม 2022 22:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 มีนาคม 2023 09:06 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท