วาระแห่งชาติในการแก้ไขปัญหาวิกฤตสถานการณ์ฝุ่น PM2.5


วาระแห่งชาติในการแก้ไขปัญหาวิกฤตสถานการณ์ฝุ่น PM2.5

29 กรกฎาคม 2565, 
: ทีมงานหญ้าแห้งปากคอก(ท้องถิ่น)

กำลังจะพูดถึงฝุ่นควัน PM2.5 (Particulate Matter อนุภาคขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน) หรือ ฝุ่นจิ๋ว ฝุ่นพิษ ที่เป็น "คาร์บอนไดออกไซด์" ในสถานะหนึ่ง เป็นหน้าที่และอำนาจของ คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.) ที่ต้องออก "ประกาศกำหนดเขตควบคุมฝุ่นควันพิษ" ในเขตพื้นที่ที่มีปัญหา มิใช่ปล่อยให้แต่ละจังหวัดบริหารจัดการกันเอง เพราะ จังหวัดและ ส่วนควบคุมไฟป่า กรมอุทยานฯ หรือ กรมควบคุมมลพิษ (คพ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ไม่มีอำนาจนี้โดยตรง เพราะต้องมีการใช้อำนาจแก้ไขปัญหาเชิงบูรณาการ (Integrated) ร่วมกัน

ในเขตเมืองถือเป็นมิติใหม่ในแนวนโยบายการหาเสียงเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2565 ของผู้สมัครหลายคน เช่น ชัชชาติ สิทธิพันธ์ หนึ่งในนโยบายหาเสียง 214 ข้อ คือ “การจัดทีม 'นักสืบฝุ่น' ศึกษาต้นตอ PM2.5” อันเป็นหัวข้อสำคัญของโพลสำรวจความเห็นคน กทม. 75.2% ที่เห็นด้วยกับ “ออกมาตรการตั้งรับวิกฤตฝุ่น PM 2​.​5 ที่จะเกิดขึ้นซ้ำแน่นอน”

เวลาได้ล่วงเลยมาถึงกลางปี 2565 ประเทศไทยมีพัฒนาการแก้ไขปัญหาฝุ่นจิ๋ว PM2.5 ดีขึ้นหรือยัง ทั้งนี้แนวโน้มต้องเปรียบเทียบกับกระแสโลกด้วย เพราะ ปัญหา PM 2.5 กับสถานการณ์โรคระบบทางเดินหายใจ มลพิษทางอากาศนับเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมอันดับต้นๆ ซึ่งรัฐบาลได้กำหนดให้ปัญหา PM2.5 เป็น “วาระแห่งชาติ”(National Agenda) แม้ว่า จะมีการอ้างเหตุต้นตอสำคัญของฝุ่นพิษ  PM2.5 ในไทย มาจากการเผาวัสดุการเกษตรในประเทศเพื่อนบ้าน อาทิ ในแปลงปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และอ้อย ต้นตอนี้อาจะมีเพียงพื้นที่ภาคเหนือตอนบน แต่ก็มีการอ้างควันไฟป่าจากอินโดนีเซียที่ส่งผลกระทบมาถึงอ่าวไทยตอนบนและ กทม.ด้วย ซึ่งต้นตอทึ่แท้จริงยังมีอีกมากมาย เช่น ใน กทม.และเมืองใหญ่ คือ ปัญหาการจราจรรถติด ปัญหาควันจากโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น

นอกจากนี้ เรื่อง PM2.5 เป็นปัญหาใหญ่แต่คนสนใจน้อยมาก ชาวบ้านไม่รู้เรื่องอะไร มีคนออกมาเรียกร้องให้ รัฐบาลแก้ปัญหาไม่กี่คน รัฐบาลไม่ให้ความสนใจ  หากมีคนมากันเยอะ รัฐบาลต้องสนใจมากกว่านี้ เพราะจะมีผลกระทบต่อคะแนนนิยมของรัฐบาลได้

ที่ผ่านมาในรอบปี 2564 มีคดีน่าสนใจที่ชาวบ้านเชียงใหม่ (นาย ภูมิ วชร เจริญผลิตผล) ยื่นฟ้องคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.) กรณีละเลยล่าช้าเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหามลภาวะด้านฝุ่นละออง PM2.5 ในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน จ้งหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน แม่ฮ่องสอน โดยผู้รับมอบอำนาจ คือ อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ตามคำพิพากษาศาลปกครองเชียงใหม่ คดีหมายเลขดำที่ 1/2564 คดีหมายเลขแดงที่ 1/2564 (8 เมษายน 2564) ศาลชั้นต้นสั่งให้ กก.วล.ประกาศเขตควบคุมมลพิษ ตามมาตรา 59 แห่ง พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2535 คดีอยู่ระหว่างการอุทธรณ์ศาลสูงของ กก.วล. ซึ่ง กก.วล.ได้ขอขยายเวลายื่นคำให้การแก้คำฟ้องหลายครั้ง (เป็นครั้งที่ 5 เมื่อ เมษายน 2565)

สถานการณ์การแก้ไขปัญหาน่าจะดีขึ้น

ด้วยมีประกาศ กก.วล. เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2565 ปรับปรุงเปลี่ยนค่ามาตรฐาน PM2.5(ใหม่) ใช้วิธีตรวจวัดอ้างอิง ด้วยวิธีกราวิเมตริก เช่น Federal Reference Method (FRM) และ วิธีตรวจวัดเทียบค่า ได้ปรับปรุง ดังนี้

(1) เดิม ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ไม่เกิน 50 มคก./ลบ.ม. มีผลจนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2565 ปรับใหม่เป็น ไม่เกิน 37.5 มคก./ลบ.ม. มีผลตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2565

(2) เดิม ค่าเฉลี่ยราย 1 ปี ไม่เกิน 25 มคก./ลบ.ม. ปรับใหม่เป็น ไม่เกิน 15 มคก./ลบ.ม. มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 9 กรกฎาคม 2565 เป็นต้นไป

หลังจาก กก.วล.และ คพ.ได้ลากยาวคดีปกครองมานานเกือบสองปี คิดว่ามหากาพย์การแก้ไขปัญหาฝุ่นมลพิษ PM2.5 น่าจะมีทิศทางที่ดีขึ้น

อ้างอิง
กฎหมาย

ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เรื่อง กำหนดมาตรฐานฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน ในบรรยากาศโดยทั่วไป, ประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่ม 139 ตอนพิเศษ 163 ง วันที่ 8 กรกฎาคม 2565 หน้า 21, 
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2565/E/163/T_0021.PDF  
รายงานสถานการณ์และคุณภาพอากาศประเทศไทย - Air4Thai(Real Time), โดย ส่วนคุณภาพอากาศ กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง กรมควบคุมมลพิษ, ข้อมูลรายชั่วโมง; PM2.5 กรุงเทพฯ, http://air4thai.pcd.go.th/webV2/  
ความหมายของสัญลักษณ์สี แทนค่า AQI เริ่มจากดี-แย่ คือ สีฟ้า (ระดับดีมาก 0-25) สีเขียว (ระดับดี 26-50) สีเหลือง (ระดับปานกลาง 51-100) สีส้ม (ระดับเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ 101-200) สีแดง (ระดับมีผลกระทบต่อสุขภาพ 201 ขึ้นไป)

บทความ/เอกสารวิชาการ

ปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 วาระแห่งชาติที่รัฐบาลยังแก้ปัญหาไม่ตรงจุด, YouTub, พรีวิว 1:01:53, THE STANDARD, 14 มกราคม 2563, https://www.youtube.com/watch?v=B8G0ZL_a_-w  
ปักกิ่งลดฝุ่นพิษ PM2.5 ลง 53% ใน 5 ปี เล็งปลูกป่าอีก 6 หมื่นไร่, Xinhuathai, 24 มกราคม 2564, https://www.xinhuathai.com/china/171468_20210124  
บทความ: ฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ในอาคารและสถานศึกษา, โดยศิลาลักษณ์ โกรฟ, รักจิต กัลยาณะธรรม, สุทธิรัตน์ กิตติพงษ์วิเศษ, และณัฏฐา ฐานีพานิชสกุล, จากหลักสูตรสิ่งแวดล้อม การพัฒนาและความยั่งยืน (Environment Development and Sustainability) บัณฑิตศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข จุฬาลงกรณ์, 18 สิงหาคม 2564, http://www.ej.eric.chula.ac.th/content/6139/313  
คู่มือเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคและภัยที่คุกคามสุขภาพ จากฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน(PM2.5), 
โดย กองโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พิมพ์ครั้งที่ 1 : พ.ศ.2564, …13) คำสั่งกรมควบคุมโรค แต่งตั้งคณะทำงานพัฒนาและจัดทำคู่มือฯ ... ปัญหามลพิษทางอากาศ กรณีฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5), https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1202520211213111057.pdf  
PM2.5: ไร่ข้าวโพดในประเทศเพื่อนบ้าน กับวิกฤตฝุ่นควันในไทยเกี่ยวข้องกันอย่างไร?, BBC Thai, 12 เมษายน 2565, ตรวจพบฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) เกินค่ามาตรฐาน ... เฉพาะพื้นที่กรุงเทพฯ ศูนย์ประสานงานและแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศใน ..., https://www.bbc.com/thai/thailand-61080626 

ข่าว

รง.ระเบิดสารเคมีรั่วไหล ปัญหาซ้ำซากไทย! ผ่าต้นตอ 2 เหตุหลัก, สยามรัฐออนไลน์  6 กรกฎาคม 2564 09:21 น., https://siamrath.co.th/n/259016 
มท.1 สั่งการผู้ว่าฯ ทั่วปท. เตรียมรับมือสถานการณ์ไฟป่า หมอกควัน-ฝุ่นPM2.5, กรุงเทพธุรกิจ, 11 พฤศจิกายน 2564 เวลา 22:09 น., https://www.bangkokbiznews.com/news/971350 
ฝุ่นพิษคลุ้ง“กทม.-ปริมณฑล” สธ.เปิดคลินิกมลพิษออนไลน์, สยามรัฐออนไลน์  17 ธันวาคม 2564 00:10 น., 
https://siamrath.co.th/n/306344 
“กทม.-ปริมณฑล” วิกฤติ! ฝุ่นพิษคลุ้ง, สยามรัฐออนไลน์, 24 ธันวาคม 2564, รายงานการตรวจสอบคุณภาพอากาศ ผลการตรวจวัดฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน หรือ PM2.5 พบเกินค่า, https://siamrath.co.th/n/308264 
รัฐบาลมุ่งมั่น แก้ไข และหยุดยั้งปัญหาฝุ่นละออง (PM2.5) นับแต่กำหนดเป็นวาระแห่งชาติ สถานการณ์ดีขึ้นโดยลำดับ, Chiang Mai News, 24 มีนาคม 2565, https://www.chiangmainews.co.th/page/archives/1969560/  
กทม.พบฝุ่น PM2.5 เกินค่ามาตรฐาน 68 พื้นที่ จับตา "ดอนเมือง บางเขน หลักสี่", สยามรัฐออนไลน์, 10 เมษายน 2565, https://siamrath.co.th/n/338776  
เปิด200นโยบาย'ชัชชาติ'มีอะไรบ้าง ถึงโดนใจคนกรุงเทพฯ, สยามรัฐออนไลน์, 23 พฤษภาคม 2565, 
https://siamrath.co.th/n/350436 
แปะไว้ติดข้างฝา นโยบายชัชชาติ 214 ข้อ นับจากนี้ 4 ปี ทำได้จริงหรือขายฝัน? โดย ผู้จัดการออนไลน์, 23 พฤษภาคม 2565 02:49, อ้างจาก เว็บไซต์ https://www.chadchart.com/policy  
เปิดร่าง กม.ปล่อยสารพิษร้ายแรง ลดหายนะอุบัติภัย, ไทยโพสค์, 17 กรกฎาคม 2565, 
https://www.thaipost.net/environment-news/182289/ คือ ร่างพระราชบัญญัติการรายงานและเปิดเผยข้อมูลการปล่อยและเคลื่อนย้ายสารมลพิษ พ.ศ…. (PRTR)
เช็กเลย! ปริมาณฝน กทม. 24 ชม. ค่าฝุ่น PM2.5 รายพื้นที่, ไทยโพสต์, 29 กรกฎาคม 2565 เวลา 9:54 น., https://www.thaipost.net/general-news/190116/ 

หมายเลขบันทึก: 704619เขียนเมื่อ 29 กรกฎาคม 2022 23:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 ธันวาคม 2022 12:19 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

We have been in ‘monitoring’ mode for many years –as if we do not believe that we have ‘problems with PM2.5’. We have listed many reports of ‘impacts of PM2.5’ on our health, environment and climate. We have seen people’s projects and movements to ‘call for national agenda on PM2.5’.

We have not seen ‘actions on PM2.5’ by enforcement of policy’ (environmental laws) on industries (for examples: transport, plastics/packaging, building, agriculture (spraying),…), or by research on innovation (to find PM2.5 reducing or capturing alternatives).

We can solve several problems in climate change, in environment, and in public health by changing our energy, transport and plastic/chemical industries.

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท