อะไรที่ร่างกายไม่คุ้นชินเป็นพิษ (Unacquainted subject is toxin us)


ปฏิกริยาของร่างกายเราที่มีต่อสิ่งที่เราบริโภคและสภาพแวดล้อมขึ้นอยู่กับควมคุ้นชินของเราครับ ยกเว้นสารพิษจริง ๆ นั้นแม้จะคุณชินก็ยังเป็นพิษ​ครับ 

สิ่งที่ผมจะพูดถึงวันนี้คือสิ่งต่าง ๆ ทั่วไปที่เรากิน เราใช้ และเผชิญอยู่ครับว่า “ร่างกายของเราตอบสนองหรือมีปฏิกริยาต่อสิ่งที่เราบริโภคหรือสัมผัส” อย่างไร 

ผมเป็นคนอีสานและเติบโตมากับการกินปลาร้า และใช้ปลาร้าเป็นเครื่องปรุงอาหารมาจนโต แต่หลังจากหมอตรวจพบว่าเป็นใบไม้ตับ และคาดว่าผมจะอยู่ได้ไม่เกิน 5 ถ้าไม่ทำ 3 อย่าง ดังที่เคยเล่าไปแล้ว และ 1 ใน  3 อย่างนั้นคือ “ไม่กินปลานำ้จืดดิบ รวมทั้งปลาร้า” ด้วย 

ตั้งแต่บัดนั้นจนบัดนี้ ผมไม่กินปลาร้า (ถ้าเลี่ยงได้) ผลก็คือ กินปลาร้าไม่อร่อย หรือไม่ชอบเลย จนมีคนบอกว่า “กระแดะ” เป็นเด็กบ้านนอกและคนอีสานไม่กินปลาร้า ไปเมืองนอกกลับมาแล้วลืมกำพีดตัวเอง 

คุณลองทำดูก็ได้ครับคือ เลิกกินอะไรสักระยะหนึ่ง คือประมาณ 7 ปี ซึ่งตามหลักวิชาแล้ว 7 ปีเซลล์ในร่างกายเราจะเปลี่ยนใหม่ทั้งหมด (คือค่อยเปลี่ยนไป และ 7 ปี เปลี่ยนทั้งหมด)

ในช่วง ปี 2526 - 2532 ผมกินมังสวิรัติ เพื่อสุขภาพหลังจากป่วยเป็นตับอักเสพ หลังจากกินมังสวิรัติได้ 2-3 ปี ผมมีปัญหามากเวลาไปตลาด เพราะเห็นตลาด (กลิ่นเนื้อสัตว์ ปลา ไก่) แบบต้องปิดจมูกเลยครับ (เฉพาะถ้าชาวม้งสวิรัติเขาปิดจมูกเวลาผ่านร้านขายเนื้อสัตว์ครับ) และตอนที่ผลจะหันกลับมาสกินอาหารปกติใหม่ในปี 2532 นั้นต้องใช้เวลาเกือบปีกว่าจะปรับตัวได้ (ที่หันกลับมากินอาหารปกตินั้นเกิดขึ้นเพราะตอนที่เรียนปริญญาเอก เวลาจะทานข้าวด้วยกันกับเพื่อนร่วมเรียน ต้องไปที่ร้านมีมังสวิรัติ ลำบากเพื่อน เลยปรับตัว)

อีกเรื่องคือ ก่อนผมเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนไปประเทศสหรัฐอเมริกานั้นผมเป็นแฟนพันธุ์แท้ในการกินเผ็ด เวลาสั่งส้มตำแต่ละจานใส่พริกเป็นเป็นกำครับ แต่หลังจากกลับจากประเทศสหรัฐอเมริกา (ปี 2513) จนถึงปัจจุบันกินส้มตำแบบ “ไม่พริก ไม่ชู (ชูรส)” แล้วครับ 

ผมเล่าเรื่องเหล่านี้เพื่อชี้ให้เห็นว่า “การตอบสนองต่อสิ่งที่เราบริโลก หรือสภาพแวดล้อม” นั้นขึ้นอยู่กับความคุ้นชินกันเป็นสำคัญ 

เรื่องผลผงชูรสก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่เป็นประเด็นในชีวิตของผมและแม่บ้านครับ ที่ผมพูดเรื่องนี้ไม่ได้บอกว่าผงชูรสดีหรือไม่ดี แต่เป็นเรื่องของความคุ้นชินไม่คุ้นชินครับ

สำหรับตัวผมรู้จักกับผงชูรสนตอนเป็นเด็ก พี่ชายเขาซื้อมาใส่อาหาร และแต่ตำพริกพี่ก็ใส่ครับ ซึ่งจริง ๆ แล้วช่วยให้อาหารอร่อยจริง ๆ แต่หลังมีประสบการณ์มากขึ้น เรียนรู้มากขึ้นผมพบว่า “ความอร่อย” ขึ้นอยู่กับฝีมือการปรุงอาหาร และความคุ้นชินครับ 

เรื่องผงชูรสนี้มีทั้งผู้ที่เห็นด้วย และผู้ไม่เห็นด้วย แต่ความชอบหรือไม่ชอบ ใช้หรือไม่ใช่ “น่าจะเป็นสิทธิเฉพาะบุคคล” ครับ 

หลังจากที่ผมกับแม่บ้านไม่ใช้ผงชูรสปรุงอาหารที่ทำทานเองที่บ้านมาหลายปีแล้วนั้น ผมและแม่บ้านมักจะมีปัญหาเวลาต้องไปทานอาหารนอกบ้าน หรือมีงานเลียงในวาระต่าง ๆ คือร้านอาหาร หรือครัวงานเลี้ยงก็มักจะใส่ผงชูรส 

กรณีงานเลี้ยงเราคงห้าม หรือทำอะไม่ได้มาก นอกจากกินให้น้อยเท่านั้น แต่เวลาไปร้านอาหาร เวลาเราขอให้ทางร้านไม่ใส่ผงชูรส คนรับคำสั่ง หรือคนทำอาหารมักจะมองเราเป็นตัวปัญหา หรือไม่ก็บอกเราว่า "เขาใส่ผงชูรสไว้ในนำ้ซุป หรือเครื่องปรุงไว้แล้ว หรือรับปากไป แต่ก็ยังใส่ผงชูรสให้เราอยู่ อะไรประมาณนี้ 

ที่บ่นเรื่องนี้ คืออยากให้ร้านค้า หรือธุรกิจอาหารมีทางเลือกให้กับผู้บริโภคด้วยจะดีครับ 

หรือไม่เราคงต้องปรับตัวให้คุ้นชิน และอยู่กับสิ่งที่คนส่วนใหญ่เขาทำกันต่อไป หรือไม่ก็จำยอมและจำกัดวิถีชีวิตของตนตามความาชอบของตนต่อไปครับ 

เพียงหารือครับ 

สมาน อัศวภูมิ

20 กรกฏาคม 2565

หมายเลขบันทึก: 704154เขียนเมื่อ 20 กรกฎาคม 2022 08:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 กรกฎาคม 2022 22:17 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เรื่องผงชูรส มีคนหลายคนให้ข้อมูลว่าหากทานเข้าไปก็จะไม่ดีกับร่างกาย อาจทำให้เป็นสาเหตุของการเกิดโรคนั่นโน่นนี่มากมาย ยังกลับมาคิดว่าหากเป็นอันตรายทำไมยังคงให้ผลิตเพื่อปรุงอาหารกันได้อีก เมื่อมาสังเกตกับตัวเองที่เมื่อไหร่ที่กินอาหารนอกบ้านที่ใส่ผงชูรสก็จะมีอาการคอแห้งตามมาทุกครั้ง ส่วนการจะเป็นสารพิษสะสมในร่างกายเราที่จะเป็นอันตรายได้นั้นก็ไม่มีใครมายืนยันให้เราได้ ความอร่อยของอาหารที่ใส่ผงชูรสเป็นความคุ้นชินของผู้บริโภคอย่างที่บอกมาจริงค่ะ

ถูกครับ ผมมักจะได้ยินคนพูดเหมือนที่คุณสุจิตราเล่ามาครับ ส่วนอันตรายมากน้อยแค่ไหนนั้น มีข้อมูลสนับสนุนทั้งสองทางครับ องค์การอาหารและยาของประเทศสหรัฐอเมริกา ไม่ห้ามใส่ผงชูรสในอาหาร แต่ต้องระบุไว้ให้ผู้บริโภครู้ แต่ที่ผมเป็นห่วยคือ ​​’ใส่ชูรสในอาหาร ที่ผู้บริโภคไม่รู้’ แต่ที่ร้านอาหารชอบใส่เพาะมันทำให้อาหารอร่อยนั่นเอง จริง ๆ การค้นพบชูรสครั้งโดยศาสตราจารย์ชาวญี่ปุ่นนั้น พบจากสาหร่ายครับ คนญี่ปุ่นชอบกินสาหร่ายอยู่แล้ว พอได้ผงสกัดจากสาหร่ายมาใส่ในอาหารก็ดีและชอบครับ แต่ระยังหลังมานี้วัตถุดิบและกรรมวิธีในการผลิตผลชูรสเปลี่ยนไป สารที่ใช้มีคุณสมบัติเดียวกันกับที่ได้จากสาหร่าย แต่เป็นสารเคมีแทนนี่เองคือตัวปัญหาครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท