ตามไปดู KM บุรีรัมย์ที่ฐานการเรียนรู้ บ้านตะแบง


นั่นคือ ต้องนำเมล็ดไปต้มในนำ้เดือด(วิธีการคือต้มน้ำให้เดือด นำเมล็ดยางนาใส่ลงไปในขณะที่น้ำ้กำลังเดือด) แล้วตักขึ้นแช่ในน้ำเย็น
ตอน : ยางนากับมะกล่ำเพาะเมล็ดด้วยภูมิปัญญา  
        
             
จากที่เคยเล่าบอกไปแล้วว่าพ่อสำเริงปลูกยางนาไว้รอบพื้นที่ตามขอบรั้วซึ่งถือว่าเป็นไม้ที่ปลูกไว้เพื่อเป็นการออมระยะยาวแล้ว พ่อสำเริงยังบอกถึงวิธีการปลูกตั้งแต่เริ่มเพาะเมล็ด เมล็ดของยางนาเพาะยากมาก แต่มีวิธีที่เพาะง่าย ๆ ด้วยภูมิปัญญาที่บอกต่อกันมารุ่นปู่ย่าตายาย นั่นคือ ต้องนำเมล็ดไปต้มในนำ้เดือด(วิธีการคือต้มน้ำให้เดือด นำเมล็ดยางนาใส่ลงไปในขณะที่น้ำ้กำลังเดือด) แล้วตักขึ้นแช่ในน้ำเย็น นำไปเพาะในถุงดำ รดน้ำให้ชุ่ม จะเกิดเร็วกว่า และมีเปอร์เซ็นต์ของการเกิดมากกว่า
95 %  จากที่นำเมล็ดไปเพาะด้วยวิธีธรรมดา จะเกิดยาก มีเปอร์เซ็นต์ของการเกิดน้อยมากนั่นคือ 50 % เท่านั้น ซึ่งจะทำให้สียเวลา สิ้นเปลืองวัสดุอุปกรณ์และไม่พอกับความต้องการใช้            

             
ในแปลงของพ่อสำเริงจะมีการปลูกมะกล่ำเป็นไม้ที่เป็นผักยืนต้น เอาไว้เก็บยอด เพราะแตกยอดเร็ว เก็บได้บ่อย ไม่เปลืองพื้นที่ในการปลูก ถ้าเก็บยอดบ่อย ๆ พุ่มจะไ่ม่ใหญ่ เหมาะกับการปลูกในบริเวณจำกัด ปลูกแซมสลับกับไม้ยืนต้น หรือในแปลงผักได้ พ่อสำเริงปลูกไว้เป็นพืชที่ให้ผลผลิตในการออมระยะกลาง ซึ่งจะมีวิธีการเพาะเมล็ดเช่นเดียว กันกับยางนา แล้วให้เปอร์เซ็นต์การเกิดสูงใกล้เคียงกัน
           

              
จะเห็นได้ว่าความรู้ภูมิปัญญาไม่ได้อ่อนด้อยไปกว่าวิชาการสมัยใหม่ หากแต่ผู้ปฏิบัติจะมีวิธีการนำความรู้เหล่านี้มาใช้จัดการผสมผสานกันอย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับงานของตนเท่านั้นเอง
หมายเลขบันทึก: 70397เขียนเมื่อ 31 ธันวาคม 2006 23:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท