"โนราห์ ปักษใต้"


    มโนราห์, มโนห์รา หรือโดยย่อว่า โนรา เป็นชื่อศิลปะการแสดงพื้นเมืองอย่างหนึ่งของภาคใต้ มีรากศัพท์ที่มาจากคำว่า “นระ” เป็นภาษาบาลี – สันสกฤต แปลว่ามนุษย์ เพราะการร่ายรำแต่เดิมแล้ว การรำโนราจะรำให้เสมือนกับท่าร่ายรำของเทวดา

   มโนราห์มีแม่บทท่ารำอย่างเดียวกับละครชาตรี บทร้องเป็นนกลอนสด ผู้ขับร้องต้องใช้ปฏิภาณไหวพริบ สรรหาคำให้สัมผัสกันได้อย่างฉับไว มีความหมายทั้งบทร้อง ท่ารำและเครื่องแต่งกายเครื่องดนตรี ประกอบด้วย กลอง ทับคู่  ฉิ่งโหม่ง ปี่นอกหรือ ปี่ในและกรับ ปัจจุบันพัฒนาเอาเครื่องดนตรีสาลเข้าร่วมด้วย เดิมนิยมใช้ผู้ชายล้วนแสดง แต่ปัจจุบันมีผู้หญิงเข้าไปแสดงด้วย

*เครื่องดนตรี

 **ทับ (โทนหรือทับโนรา) (โทนหรือทับโนรา) เป็นคู่ เสียงต่างกันเล็กน้อย ใช้คนตีเพียงคนเดียว เป็นเครื่องตีที่สำคัญที่สุด เพราะทำหน้าที่ คุมจังหวะและเป็นตัวนำในการเปลี่ยนจังหวะทำนอง (แต่จะต้องเปลี่ยนตามผู้รำ ไม่ใช่ผู้รำ เปลี่ยน จังหวะลีลาตามดนตรี ผู้ทำหน้าที่ตีทับจึงต้องนั่งให้มอง เห็นผู้รำตลอดเวลา และต้องรู้เชิง ของผู้รำ)

“ทับ”(โทนหรือทับโนรา)

*กลอง เป็นยกลองทัดขนาดเล็ก (โตกว่าากลองของงหนังตะลุงเล็กน้อย) 1 ใบทำหน้าที่เสริมเน้นจังหวะและล้อเสียงทับ

“กลอง”

**ปี่ เป็นเครื่องเป่าเพียงชิ้นเดียวของวง นิยมใช้ปี่ใน หรือ บางคณะอาจใช้้ปี่นอก ใช้เพียง 1 เลา  ปี่มีวิธีเป่าที่คล้ายคลึงกับขลุ่ย ปีมี 7 รูแต่สามารถกำเนิดเสียงได้ ถึง 21 เสียงซึ่งคล้ายคลึงกับเสียงพูด มากที่สุด

“ปี่”

**โหม่ง คือ ฆ้องคู่ เสียงต่างกันที่เสียงแหลม เรียกว่า "เสียงโหม้ง" ที่เสียงทุ้ม เรียกว่า "เสียงหมุ่ง" หรือ บางครั้งอาจจะเรียกว่าลูกเอกและลูก ทุ้มซึ่งมีเสียงแตกต่างกันเป็น คู่แปดแต่ดั้งเดิมแล้วจะใช้คู่ห้า

“โหม่ง”

*ฉิ่ง หล่อด้วยยโลหะหนารูปฝาชีมีรูตรงกลางสำหรับร้อยเชือก สำรับนึงมี 2 อัน เรียกว่า 1 คู่เป็นเครื่องตีเสริมแต่งและเน้นจังหวะ ซึ่งการตีจะแตกต่างกับการตีฉิ่งในการกำกับจังหวะของดนตรีไทย

 กรับ มี ทั้ลกรับอันเดียวที่ใช้ตีกระทบกับรางโหม่ง หรือกรับคู่ และมีที่ร้อยเป็นพวงอย่างกรับพวง หรือใช้เรียวไม้หรือลวด เหล็กหลาย ๆ อันมัดเข้าด้วยกันตีให้ปลายกระทบกัน

*องค์ประกอบหลักของการแสดง

 * การรำ 

 * การร้อง

 * การทำบท

 * การรำเฉพาะอย่าง 

 * การเล่นเป็นเรื่อง 

 * ท่ารำมโนราห์

 * ท่าสิบสอง

 * บทครูสอน

 * บทสอนรำ

 * พิธีกรรม

* โนราโรงครู   โนราโรงครูมี 2 ชนิด คือ

* โรงครูใหญ่ หมายถึงการรำโนราโรงครูอย่างเต็มรูปแบบ 

* โรงครูเล็ก หมายถึงการรำโรงครูอย่างย่นย่อ 

* โนราโรงครูท่าแค

 

*การแต่งกาย

*เครื่องแต่งกาย ที่ควรรู้จัก

 

 

-เทริด…

“ปิ้งคอ”

“บ่า”

“พานอก พานโครง หรือ รอบอก”

“ปีกนกแอ้น”

“หาง หรือหางหงส์”

-ผ้านุ่ง 

-หน้าเพลา เหน็บเพลา หนับเพลา

-ผ้าห้อย

-หน้าผ้า 

“เล็บ”

-หน้าพราน 

-หน้าทาสี 

 

รำ มโนราห์บูชายัญ

มโนราห์" ความภูมิใจมรดกภูมิปัญาไทย สู่มรดกทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติ

  *ตัวอย่าง “รำมโนราห์บูชายัญ ศิลปินกรมศิลปากร”

 

 

คำสำคัญ (Tags): #"มโนราห์"
หมายเลขบันทึก: 702776เขียนเมื่อ 24 พฤษภาคม 2022 20:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2022 06:05 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท