การปรับตัวให้เข้ากับเหตุการณ์บ้านเมิองและ การเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์โลก


ปัจจุบัน สถานการณ์โลกมีอะไรใหม่ ๆ มาให้เราเผชิญพบเห็นมากมาย ทั้งดี และไม่ดี เราจำต้องมีการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์โลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงไป เพื่อจะทำให้ชีวิตขอบเรา มีความสุข และอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข และสถานการณ๋โลกปัจจุบัน เต็มไปด้วยโรคภัย เชื้อไวรัสที่จะแพร่ระบาดมาติดเรา ซึ่งอาจจะทำให้ร่างกายเจ็บป่วย ปวดหัวตัวร้อน อาการร่างกายผิดปกติได้ง่าย เราต้องปรับร่างกาย ปรับสภาพจิตใจ ร่างกาย ต้องแข็งแรง จิตใจ ต้องเข้มแข็งอยู่เสมอ ใช้ชีวิตตามแนววิถีใหม่ กินอาหารร้อน ๆ ใช้ข้อนกลาง ร่างมือให้สะอาด ไม่ประมาทเวลาพบปะผู้คน ให้สวมหน้ากากอนามัยเสมอ ไม่รวมคนหมู่มาก ร่างมือให้สะอาดอยู่เสมอ และสภาพที่อยู่อาศัยสะอาด ปลอดภัย

การปรับตัวให้เข้ากับเหตุการณ์บ้านเมิองและ การเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์โลก

 

การปรับตัวให้เข้ากับเหตุการณ์บ้านเมิองและ
การเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์โลก

ดร. ถวิล  อรัญเวศ

        ปัจจุบัน สถานการณ์โลกมีอะไรใหม่ ๆ มาให้เราเผชิญพบเห็นมากมาย ทั้งดี
และไม่ดี เราจำต้องมีการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์โลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงไป
เพื่อจะทำให้ชีวิตขอบเรา

มีความสุข และอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

       เราต้องยอมรับกับสัจธรรมที่ว่า สรรพสิ่งในโลกนี้ ตกอยู่ใน

สามัญลักษณะ คือไม่เที่ยงแท้แน่นอน จะต้องเปลี่ยนไป ทนได้ยาก
และไม่สามารถบังคับให้เป็นไปตามที่เราปรารถนา ชอบหรือต้องการได้ทุกอย่าง

     

ปรับตัวอย่างไร ?

1. ปรับร่างกาย

          ร่างการของเราเมื่ออยู่มาหลายปี ย่อมจะมีวันเสื่อมสึกหรอหรือเป็นธรรมดา
อาการที่จะพบคือไม่สบายกาย เป็นไข้ ตัวร้อน

หรือมีโรคกับกาย ใจ หลายอย่าง ต้องปรับสภาพธาตุ 4 คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม
ให้อยู่ในสภาพปกติหรือสมดุลให้ได้  ออกกำลังกาย รับประทานอาหารให้ได้สัดส่วน
ละเลิกสิ่งเสพติดให้โท่ษต่อร่างกายทุกชนิด เป็นต้น

2.ปรับจิตใจอารมณ์ความรู้สึกนึกคิด

อารมณ์ความรู้สึกของคนเราเปลี่ยนแปลง แปรผันอยู่

ตลอดเวลา ทำอย่างไร จึงจะทำให้ได้ชื่อว่า ฉลาดทางอารมณ์

และเสียงคมทางปัญญา คิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น กิน ดู

อยู่ ฟัง เป็น รวมแล้ว จะทำอะไร ให้เอาเป็นลงท้ายเสมอ

คิดเป็นทำเป็น แก้ปัญหาเป็น

3. ปรับวิถีชีวิตความเป็นอยู่แนววิถีใหม่

เหตุการณ์ที่เราไม่เคยพบเห็นคือโรคใหม่ ๆ  เช่น โควิด 19

โอมิครอนระบาดไปทั่วโลก ส่งผลให้คนเรา ต้องปรับตัวสู่วิถีชีวิตแนวใหม่
เว้นระยะห่าง สวมหน้ากากอนามัยเสมอ สภาพการทำมาหากิน

ขาดสภาพคล่องเนื่องจากเราไม่สามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติเหมือน

ที่เราใช้มาแต่ก่อน จะทำอะไรก็ต้องเจียมเนื้อเจียมตัว กลัวโควิด 19

และโอมิครอนมาติด และก็อาจทำให้ถึงตายได้ง่าย โดยเฉพาะเมื่อ

โควิด 19 และโอมิครอนเข้าปอดก็จะทำให้ชีวิตมีความเสี่ยงต่อมัจจุราช
คือความตายที่อาจจะเกิดได้ตลอดเวลา ทำอย่างไรจึง

จะสามารถประคองชีวิตให้รอดพ้นภัยโควิด 19 และโอมิครอนได้

คำตอบ คือสร้างความแข็งแกร่งทางร่างกาย และความเข้มแข็งทาง

สภาพจิตใจ ก็จะพอเอาชีวิตอยู่รอดได้

       4.ปรับความเป็นอยู่ในสังคม

           ชีวิตความเป็นอยู่ อาจจะลำบากกว่าแต่ก่อน เพราะเราต้อง

สร้างภูมิคุ้มกันเพื่อความอยู่รอดไม่ให้โควิดมาติดได้ เราจะต้องสร้าง

ภูมิคุ้มกัน สร้างภูมิต้านทานในตัว ด้วยการฉีดวัคซีน ดูแลตนเองให้ดี
ร่างกายต้องแข็งแรง จิตใจต้องเข้มแข็งเพื่อเอาโควิดให้อยู่หมัด

5.ปรับวิธีการทำงาน การทำมาหากิน

การทำงานเพื่อจะได้ปัจจัยมายังชีพอาจจะใช้วิธีการ

หลายอย่าง ทั้งออนไลน์ การปะทะโดยตรง การเว้นระยะห่าง

การดูแลตนเอง การรวมกลุ่มคนมาก ๆ  อาจจะต้องหลีกห่างไกล

เพราะเราใช้ชีวิตแบบปล่อยตัว หรือทำตามใชขอบคงไม่ได้อีกแล้ว

เพราะร่างกายเรา อาจจะทนต่อโรคโควิด 19 และโอมิครอนไม่ได้

อาจจะเป็นไข้ได้ง่าย ต้องระมัดระวังในเวลาเราทำงานร่วมกัน

       6. ปรับตัวในชีวิตรัก หรือโลกิยสุข

       เราจะไปเที่ยวเตร่ เสเพลย์ หรือทำบทรักจนเกินตัวไม่ได้อีกแล้ว

เพราะชีวิตของคนเรา มีความเสี่ยงในตัวสูงมาก เชื้อไวรัสในร่างกาย

ของเราอาจจะทนได้ยาก มีความอึดความทนน้อย ติดโรคได้ไว

หายใจไม่คล่อง ไม่ปลอดโปร่งโล่งใจเหมือนแต่ก่อนหน้านี้ ต้องใช้ชีวิต

รักให้ถูกที่ถูกทาง เจียมเนื้อเจียมตัวให้ดีเสมอ ไม่เผลอตัวเป็นอันขาด

สรุป

        สถานการณ๋โลกปัจจุบัน เต็มไปด้วยโรคภัย เชื้อไวรัสที่จะแพร่

ระบาดมาติดเรา ซึ่งอาจจะทำให้ร่างกายเจ็บป่วย ปวดหัวตัวร้อน
อาการร่างกายผิดปกติได้ง่าย เราต้องปรับร่างกาย ปรับสภาพจิตใจ

ร่างกาย ต้องแข็งแรง จิตใจ ต้องเข้มแข็งอยู่เสมอ ใช้ชีวิตตามแนว

วิถีใหม่ กินอาหารร้อน ๆ ใช้ข้อนกลาง ร่างมือให้สะอาด ไม่ประมาท

เวลาพบปะผู้คน ให้สวมหน้ากากอนามัยเสมอ ไม่รวมคนหมู่มาก

ร่างมือให้สะอาดอยู่เสมอ และสภาพที่อยู่อาศัยสะอาด ปลอดภัย

 

 

 

 

-----------------

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 702127เขียนเมื่อ 10 เมษายน 2022 02:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 เมษายน 2022 02:12 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท