beeman 吴联乐
นาย สมลักษณ์ (ลักษณวงศ์) วงศ์สมาโนดน์

อร่อยหรือไม่ ขึ้นอยู่กับการตัดสินของกรรมการ


พื้นฐานในการดำเนินชีวิตที่แตกต่างกัน ในวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน ทำให้เกิดการตัดสินที่แตกต่างกัน

    เมื่อวานไปงานเลี้ยง...มีอาหารแบบโต๊ะจีน...มีอาหารอยู่จานหนึ่งเป็นลาบ...ลาบเหนือ

   อาจารย์หญิงท่านหนึ่ง พื้นเพเป็นคนทางภาคอีสาน..อุดรธานี บอกว่าลาบนี้ไม่อร่อย..สู้ลาบอีสานไม่ได้

   ลาบโต๊ะผม...มีคนทานไปหน่อยเดียว

   อาจารย์ชายอีกท่านหนึ่ง พื้นเพเป็นคนเหนือ..น่าน..ที่โต๊ะได้ทานลาบหมดไปหนึ่งจาน..เห็นโต๊ะนี้ลาบเหลือ..จึงมาขอไปเป็นกับแกล้มสุราของโต๊ะตัวเอง...บอกว่า "อร่อยมาก ลาบนี้ หมดไปหนึ่งจานแล้ว)

   เรื่องนี้เป็นเรื่องพื้นๆ....แต่ผมได้ข้อสังเกตนะครับ...พื้นฐานในการดำเนินชีวิตที่แตกต่างกัน ในวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน (อาจจะเกี่ยวกับเรื่องเพศด้วย) ทำให้เกิดการตัดสินที่แตกต่างกัน

   ดังนั้น การตัดสินที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึก...จึงต้องใช้กรรมการหลายท่าน..และใช้เสียงข้างมากในการตัดสิน....

   อย่างนี้...ต้องมีการจัดการความรู้สึก..เพื่อให้มีมาตรฐานแบบเดียวกัน..คงต้องไปใช้บริการที่มวล.ละครับ

BeeMan

BeeMan

หมายเลขบันทึก: 70086เขียนเมื่อ 29 ธันวาคม 2006 15:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กรกฎาคม 2013 08:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เรียนท่านอาจารย์ BeeMan

 อร่อยหรือไม่ ขึ้นกับ "อารมณ์ ความหิว จิตใจ สภาพแวดล้อม ฯลฯ"

 สวัสดีปีใหม่ ร่วมใจพัฒนา พาไทยเจริญ เพลิดเพลิม ลิขิต

เจริญพร จ้า

อ่านแล้วเห็นด้วยกับอาจารย์เลยครับ ประสบการณ์ที่ผ่านมาทำให้อาตมามีข้อสรุปอย่างหนึ่งว่า "อร่อยไม่เหมือนกันก็มิใช่พวกเดียวกัน" ครับ...มีประสบการณ์ทำนองนี้หลายครั้ง ตอนที่ไปอยู่ภาคเหนือ แต่จะเล่าตอนที่ทำให้เกิดข้อสรุปนี้นะครับ

ช่วงหนึ่ง อาตมาไปพักกับวัดซึ่งท่านเจ้าอาวาสเป็นเพื่อนกับอาตมา เจ้าอาวาสให้ศิษย์ไปซื้อปลาตัวโตๆ (ปลาตะเพียนหรือไงนี้แหละ ไม่แน่ใจ) แล้วนำมาต้มฉันกับข้าวเหนียวตอนเพล อาตมาฉันได้๒-๓ คำก็เลิก เนื่องจากไม่ค่อยรู้สึกหิวและฉันไปก็ไม่ค่อยถูกปากถูกใจ ส่วนพระเณรที่เหลือ เค้าก็ฉันกันอย่างถูกปากถูกใจ 5 5 5

ท่านเจ้าอาวาสก็รู้สึกแปลกใจจึงถามว่า ไม่อร่อยหรือไง ? ทำให้เกิดช่องว่างในการอยู่ร่วมครับ...

อนึ่ง ความอร่อย นี้ เป็นเรื่องของอารมณ์ ความรู้สึก ดังนั้น พอที่จะใช้ทฤษฎีสุนทรียศาสตร์เข้าไปจับได้ครับ ...ถามว่า "ความอร่อยอยู่ที่ไหน ?" มีคำตอบอยู่ ๔ แนวคิด ครับ

๑. ความอร่อยอยู่ที่อาหาร เช่น ประเภทเชลล์ชวนชิม จะมีมาตรฐาน ซึ่งใครๆ ไปทานก็จะรู้สึกว่า อร่อย ..นี้เรียกว่า ลัทธิวัตถุนิยม

๓. ความอร่อยอยู่ที่ใจ นั่นคือ จะอร่อยหรือไม่อร่อยอยู่ที่คนกิน เช่น ลาบอีสาน หรือ ปลาต้มกับข้าวเหนียว เป็นต้น ครับ (5 5 5) ...นี้เรียกว่า ลัทธิจิตนิยม

๓. ความอร่อยต้องอาศัยอาหารและคนกินผสมผสานกัน นั่นคือ ถ้าไม่มีอาหารและคนกินแล้ว ความอร่อยก็เกิดขึ้นไม่ได้ จึงต้องมีสองอย่างประกอบกัน (5 5 5) ...นี้เรียกว่า ลัทธิผสมผสาน

๔. ความอร่อยมิได้อยู่ที่อาหาร และความอร่อยมิได้อยู่ที่คนกิน เป็นเพียงแต่ถ้าคนไปกินอาหาร มีกิจกรรมในการกินถูกต้องครบถ้วนแล้ว ความอร่อย ก็จะเกิดขึ้น (5 5 5) ...นี้เรียกว่า ลัทธิเกิดใหม่

เจริญพร

 

 

  • ท่าน BM.chaiwut ท่านเป็นพระอยู่ที่สงขลา..ท่านได้มาช่วย เติมทฤษฎีให้...
  • อย่างเรื่องที่ผมยกตัวอย่างมา อร่อยหรือไม่...อยู่ที่คนกินครับ..ค่อนข้างไปทางใจมากกว่า..จึงเป็นเรื่องของอารมณ์และความรู้สึกด้วย
  • แต่ความหิวไม่น่าจะเกี่ยว เพราะว่าอาหารมี ๘ อย่างได้ทานไปแล้ว อาจจะอิ่มบ้างแล้ว
  • ส่วนทฤษฎีของผม...อร่อยหรือไม่อร่อย..อยู่ที่ลิ้นครับ...พ้นจากลิ้นล่วงลงลำคอแล้ว..อร่อยหรือไม่..บอกไม่ได้ รู้สึกไม่ได้
  • ส่วนท่านอาจารย์ JJ ได้สรุปไว้ชัดเจนในข้อคิดเห็นแล้วครับ...ขอบคุณครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท