บันทึกครั้งที่ ๑๐ มาตรฐานผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์


มีผลิตภัณฑ์ที่ตราเป็นพระราชกฤษฎีกาตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมกำหนดให้ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน เป็นจำนวนมาก แต่ไม่มีผลิตภัณฑ์เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมได้พยายามดำเนินการแล้ว แต่ต้องชะลอออกไปเนื่องจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียคัดค้านการกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลและส่วนประกอบเชิงหน้าที่ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน

ก่อนอื่นสัปดาห์นี้ ขอนำเสนอเรื่องอื่นที่ไม่ใช่การบ้าน แต่เป็นกฎหมายกับมาตรฐานผลิตภัณฑ์

จากเวปไซด์ผู้จัดการ   http://www.manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9490000153769

เมื่อวันที่17 ธันวาคม 2549  มีหัวข้อข่าวเรื่อง  5 โน้ตบุ๊คดังถูกระงับจำหน่ายในจีน

เนื้อความว่า

ซินหัวเน็ต สำนักงานอุตสาหกรรมและพาณิชย์มณฑลเจ้อเจียงได้แถลงเมื่อวานนี้(14 ธ.ค.49) ว่าทางสำนักงานได้ทำการตรวจสอบคุณภาพของคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค หลายรายการพบว่ามีโน้ตบุ๊ค 5 รุ่นจาก 4 ยี่ห้อที่ไม่ผ่านมาตรฐาน ได้แก่โน้ตบุ๊คโตชิบา รุ่น Satellite L100 กับรุ่น Satellite A80 โน้ตบุ๊คฟูจิสึ รุ่น LBP7120-AC011S0A1 โน้ตบุ๊คเอ็นอีซีรุ่น S3100 และโน้ตบุ๊คเอชพีรุ่น EX048PA#AB2  โดยสำนักงานอุตสาหกรรมและพาณิชย์มณฑลเจ้อเจียงได้แจ้งว่าคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊คในรุ่นดังกล่าวไม่ได้คุณภาพอาทิ การป้องกันไฟฟ้าสถิตย์ หรือการป้องกันรังสี เป็นต้น     ล่าสุดทางสำนักงานอุตสาหกรรมและพาณิชย์มณฑลเจ้อเจียงได้ส่งหนังสือให้หยุดการจำหน่ายสินค้ารุ่นดังกล่าว เพื่อทำการตรวจสอบเพิ่มเติมต่อไป

ผมอ่านข่าวนี้แล้ว แสดงให้เห็นว่าอุปกรณ์เหล่านี้ไม่ได้มาตรฐานและอาจเป็นผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาว จึงลองค้นหาว่าประเทศไทยมีกฎหมายที่ควบคุมมาตรฐานอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ หรือไม่  ซึ่งจะช่วยป้องกันคุ้มครองผู้บริโภคได้ระดับหนึ่ง โดยเริ่มจากการหาข้อมูลที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร  จากหน้าเวปไซด์ http://w3.mict.go.th/news/microcomputer.aspx   จึงทราบว่า

กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้กำหนดเกณฑ์ราคาพื้นฐานของเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ พร้อมคุณลักษณะสำคัญไว้ เมื่อเดือนกรกฎาคม 2548 เพื่อให้หน่วยงานราชการนำไปใช้ตรวจสอบและจัดซื้อ โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ชนิดพกพา (Notebook) กำหนดไว้ดังนี้

ชนิดแรก  คุณลักษณะสำคัญ เครื่องคอมพิวเตอร์ชนิดพกพา (Notebook) ประมวลผลทั่วไป

- CPU สำหรับเครื่อง Note Book (Mobile) มีความเร็วสัญญาณนาฬิกา ไม่น้อยกว่า 1.5 GHz หรือเทียบเท่า
- หน่วยความจำหลักไม่น้อยกว่า 256 MB
- Hard Disk ความจุไม่น้อยกว่า 40 GB
- Combo Drive
- MODEM
- LAN Card
- USB ไม่น้อยกว่า 2.0
- โปรแกรมระบบปฏิบัติการ (Operating System)

ราคาไม่เกิน 45,000.-บาท

ชนิดที่สอง   เครื่องคอมพิวเตอร์ชนิดพกพา (Notebook) ประมวลผลระดับสูง
- CPU สำหรับเครื่อง Notebook มีความเร็วสัญญาณนาฬิกาไม่น้อยกว่า 2.0 GHz หรือเทียบเท่า
- หน่วยความจำหลักไม่น้อยกว่า 512 MB
- Hard Disk ความจุไม่น้อยกว่า 60 GB
- DVD-RW Drive
- MODEM
- LAN Card
- USB ไม่น้อยกว่า 2.0
- โปรแกรมระบบปฏิบัติการ (Operating System)

ราคาไม่เกิน 60,000.-บาท 

ข้อมูลดังกล่าวเป็นเพียงการกำหนดราคาตามคุณลักษณะที่ใช้ซื้อเท่านั้น ไม่ได้มีการเช็คมาตรฐานผลิตภัณฑ์ที่มาประกอบกัน

จึงได้ลองค้นหาในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องมาตรฐาน นั่นคือ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม เป็นหน่วยงานที่กำหนดมาตรฐาน และจากข้อมูลเวปไซด์ http://www.tisi.go.th/standard/comp_tha.html 

ทราบว่า มีผลิตภัณฑ์ที่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน เป็นจำนวนมาก  แต่ไม่มีผลิตภัณฑ์เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์  และเมื่อค้นข้อมูลต่อในหน่วยงานแห่งนี้ พบว่าที่หน้าเวปไซด์ http://www.tisi.go.th/notices/announce.html

หน่วยงานได้พยายามดำเนินการแล้ว แต่ต้องชะลอออกไปเนื่องจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียคัดค้านการกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลและส่วนประกอบเชิงหน้าที่ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน  เริ่มจากประกาศ http://www.tisi.go.th/notices/2161-1.html

 

ประกาศสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
เรื่อง กำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล
และส่วนประกอบเชิงหน้าที่ ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน

เพื่อป้องกันความเสียหายอันอาจเกิดแก่ประชาชนและเศรษฐกิจของประเทศ  คณะกรรมการมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเห็นสมควรกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล และส่วนประกอบเชิงหน้าที่ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน

มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล และส่วนประกอบเชิงหน้าที่ : ขีดจำกัดสัญญาณรบกวนวิทยุ มาตรฐาน
เลขที่ มอก.๒๑๖๑ - ๒๕๔๗ โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกาตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. ๒๕๑๑
ก่อนตราพระราชกฤษฎีกา ผู้ประสงค์จะคัดค้านมีสิทธิยื่นคำคัดค้านพร้อมทั้งคำชี้แจงแสดงเหตุผล และสถานที่อยู่ของผู้
คัดค้านที่จะติดต่อได้สะดวกต่อสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรมได้ภายในกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศ
ผู้ที่ประสงค์จะทราบรายละเอียดการกำหนดมาตรฐานดังกล่าว  โปรดติดต่อขอดูได้ที่ กองนิติการ  สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม จึงประกาศมาให้ทราบทั่วกัน

ประกาศ ณ วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๗
ไพโรจน์ สัญญะเดชากุล
(นายไพโรจน์ สัญญะเดชากุล)
เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม

 และที่ http://www.tisi.go.th/notices/2161-3.html

 

ประกาศสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
เรื่อง คำวินิจฉัยคำคัดค้านการกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลและส่วนประกอบเชิงหน้าที่ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน

 ตามที่ได้มีประกาศสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ลงวันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ เรื่อง กำหนดการฟังคำแถลงคัดค้านการกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล และส่วนประกอบเชิงหน้าที่ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน   ซึ่งคณะกรรมการมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมได้มีการฟังคำแถลงคัดค้านในวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๗ เวลา ๑๕.๐๐ น ณ ห้องประชุม ๒๐๐ อาคารสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมไปแล้ว นั้น คณะกรรมการมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมในการประชุมเมื่อวันที่  ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๗   พิจารณาคำแถลงของผู้คัดค้านและข้อคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสียประกอบความคิดเห็นของคณะกรรมการวิชาการ คณะที่ ๘๙๐ แล้ว
เห็นควรให้พิจารณาทบทวนมาตรฐานคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลและส่วนประกอบเชิงหน้าที่  : ขีดจำกัดสัญญาณรบกวนวิทยุ มาตรฐานเลขที่  มอก  ๒๑๖๑-๒๕๔๗ ให้สอดคล้องกับมาตรฐาน CISPR 22  ฉบับใหม่ก่อนการบังคับใช้ การแก้ไขปรับปรุงมาตรฐานดังกล่าวให้ครอบคลุมและสอดคล้องกับมาตรฐานสากลต้องใช้เวลาในการดำเนินการระยะหนึ่ง จึงเห็นควรชะลอการบังคับใช้มาตรฐานออกไปก่อนจนกว่าการแก้ไขปรับปรุงจะแล้วเสร็จ  แล้วจึงดำเนินการกำหนดให้เป็นมาตรฐานบังคับต่อไป
คณะกรรมการมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม จึงมีคำวินิจฉัยให้ชะลอการบังคับใช้มาตรฐานออกไปก่อนจนกว่าจะแก้ไขปรับปรุงมาตรฐานแล้วเสร็จ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม จึงประกาศมาให้ทราบโดยทั่วกันหากผู้มีส่วนได้เสียประสงค์จะอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการ  สามารถยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีได้ภายใน ๓๐ วัน  นับแต่วันที่ประกาศคำวินิจฉัย  ทั้งนี้ เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในมาตรา ๑๙ แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. ๒๕๑๑
ประกาศ ณ วันที่ ๒๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๗
นายไพโรจน์ สัญญะเดชากุล
( นายไพโรจน์ สัญญะเดชากุล )
เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม

เมื่อลองค้นว่ามีการดำเนินงานเรื่องนี้ต่อหรือไม่  พบว่าจนถึงปัจจุบันยังไม่มีความคืบหน้าแต่อย่างใด

หมายเลขบันทึก: 69868เขียนเมื่อ 28 ธันวาคม 2006 11:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 16:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท