ช่วงเวลาตกตะกอนทางความคิด


มกราคม 2565 ดิฉันได้เรียนรู้การให้เหตุผลทางคลินิก ในวันนี้จะมาตกตะกอนทางความคิด เชิญชวนท่านผู้อ่านแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แสดงความคิดเห็นใต้บทความต่อไปนี้ร่วมกัน

กรณีศึกษา ประกอบด้วย พี่ชายคนกลาง High Function Asperger's (พูดและใช้ภาษาดี ปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้ดี) จบโทแคนาดาและทำงานดีมีครอบครัว น้องชายคนเล็ก Chronic Depression with Low Function Asperger's จบโทแคนาดาตามพี่ชาย แต่ปัจจุบันอยากอยู่บ้านเฉยๆ เล่นเกมส์ ทำอาหารบ้าง ชอบนวด ไม่ชอบออกกำลังกาย พี่สาวคนโตมี OCPD(Obsessive Compulsive Personality) ชอบคิดวางแผนสมบูรณ์แบบในการดูแลน้องชายคนเล็ก แต่ร่างกายก็ปวดเดินไม่ไหว นักกายภาพบำบัดส่งเคส 3 รายนี้ ปรึกษานักกิจกรรมบำบัด

CONDITION: พี่สาวคนโต OCPD(Obsessive Compulsive Personality) > Anxiety + Fear                                      อาการทางคลินิก: ดื้อรั้น ทำงานหนักจนขาดการพักผ่อน ขาดสัมพันธภาพกับผู้อื่น ไม่อยากปรับตัว หมกหมุ่นกับศีลธรรมและกฏ กลัวความผิดพลาด perfectionism ย้ำคิดย้ำทำ ไม่ยืดหยุ่น ขาดความมั่นใจ ทำให้มีความยากในการปรับตัวกับสถานการณ์ที่ต้องการความยืดหยุ่น

OT มีบทบาทประเมินและออกแบบการฟื้นคืนสุขภาวะได้อย่างไร                                                                                                                                                                                                                               

  • นักกิจกรรมบำบัดใช้ Procedural reasoning ในการประเมิน ค้นหาปัญหาของพี่สาวคนโต โดยเริ่มจาก Body Function & Body Structures & Motor Skill เนื่องจากพี่สาวคนโต ไม่สามารถนั่งนานๆได้ มีอาการปวด เดินไม่ค่อยไหว เมื่อประเมินเรียบร้อยแล้ว นักกิจกรรมบำบัดร่วมกับนักกายภาพบำบัดแนะนำและฝึกท่าบริหาร เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อบริเวณที่มีอาการปวด
  • นักกิจกรรมบำบัดใช้ Interactive reasoning ในการสร้างสัมพันธภาพกับผู้รับบริการ ให้มีความเชื่อมั่นไว้ใจในนักกิจกรรมบำบัด เป้าหมายของพี่สาวคนโต อยากให้น้องชายไปทำงาน เลี้ยงดูตัวเองได้ จากการสัมภาษณ์พี่สาวคนโต ผู้รับบริการแสดงออกถึง อารมณ์หมดหวัง รู้สึกว่าไม่เป็นไปตามแผนที่ตนเองวางไว้ ทำให้รู้สึกทุกข์ เนื่องจากผู้รับบริการเป็นคนที่วางแผนแล้วต้องทำให้สำเร็จทุกครั้ง (perfectionism) นักกิจกรรมบำบัดจัดกิจกรรมฟื้นฟูสุขภาวะของน้องชายคนเล็กโดยให้ผู้รับบริการ(พี่สาวคนโต)ร่วมกิจกรรมนี้ด้วย เพื่อสร้างแรงจูงใจให้กับผู้รับบริการ ในการจัดการปัญหาของน้องชายคนเล็ก โดยคำนึงถึงความชอบ ความสนใจของน้องชายคนเล็กร่วมด้วย
  • Conditional reasoning

 

หมายเลขบันทึก: 697022เขียนเมื่อ 31 มกราคม 2022 00:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2022 17:08 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท