การบ้านสุดท้ายกับโจทย์ท้าทายทั้ง 3 ข้อ


สวัสดีค่ะ~ ยินดีต้อนรับผู้อ่านทุกท่านที่เข้ามาอ่านกระทู้นี้นะคะ กระทู้นี้จะมีเนื้อหาเกี่ยวกับการยกตัวอย่าง Conditional Reasoning และการตั้งคำถามด้วย Why แล้วตอบเป็น Procedural Reasoning ในแต่ละคำถาม ให้เกี่ยวข้องกับกรณีศึกษาของสามพี่น้อง ซึ่งในกระทู้จะเลือกกรณีศึกษาของน้องชายคนเล็ก รวมถึงการมี Learn How to Learn เพื่อจะเรียนและทำงานเป็นนักกิจกรรมบำบัดอย่างมีความสุขได้อย่างไร ถ้าทุกท่านพร้อมที่จะอ่านเนื้อหาเหล่านี้แล้ว เราก็ไปเริ่มกันเลยค่ะ!

ก่อนอื่นเราจะเริ่มจากประวัติหรือข้อมูลของน้องชายคนเล็กว่าเป็นอย่างไรกันบ้างนะคะ “น้องชายคนเล็ก นามสมมติ D เพศชาย อาชีพว่างงาน ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น Chronic Depression with Low Function Asperger’s จบโทแคนาดาตามพี่ชายแต่ปัจจุบันอยากอยู่บ้านเฉย ๆ เล่นเกมส์ ทำอาหารบ้าง ชอบนวด ไม่ชอบออกกำลังกาย พูดน้อย แสดงความรู้สึกยาก ไม่ค่อยชอบพูดความรู้สึกของตนเอง ทำให้เวลาที่ถูกถามเกี่ยวกับความรู้สึกมักจะกำมือแน่น เคยคิดที่จะฆ่าตัวตาย 1 ครั้ง พฤติกรรมที่สังเกตได้จากการสัมภาษณ์คือ ผู้รับบริการจะไม่สบตา ชอบนำมือมาปิดตา เสยหน้าผาก พยักหน้าเยอะ ๆ และชอบบิดตัวไปมา”

หลังจากที่เราทราบประวัติกันแล้วเราจะมาเริ่มกันในส่วนแรก จะเป็นการยกตัวอย่าง Conditional Reasoning ในกรณีศึกษาของน้องชายคนเล็กดังนี้

Condition ที่ 1 การนอนหลับ ผู้รับบริการนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ นักกิจกรรมบำบัดต้องการให้ผู้รับบริการมีการนอนหลับที่เพียงพอถูกสุขอนามัย โดยจะทำการประเมินคุณภาพและพฤติกรรมการนอนของผู้รับบริการด้วยการใช้ OTPF model หัวข้อของ Rest and sleep, แบบประเมินคุณภาพการนอนหลับ (Pittsburgh Sleep Quality Index: PSQI) และ แบบประเมิน Sleep Apnea Scale of Sleep Disorders Questionnaire (SA-SDQ) เพื่อดูว่าผู้รับบริการมีคุณภาพการนอนหลับเป็นอย่างไร พฤติกรรมการนอนมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับหรือไม่ และจะทำการออกแบบการนอนหลับอย่างมีสุขภาวะที่ดีโดยการแนะนำวิธีการนอนที่ถูกหลักอนามัย บอกถึงข้อดีของการนอนหลับที่ดีมีคุณภาพ รวมถึงการร่วมกับผู้รับบริการวางแผนตารางการใช้ชีวิตประจำวันที่จะทำให้สามารถนอนได้เป็นเวลามากขึ้น เพื่อให้รับบริการสามารถตื่นนอนได้อย่างสดชื่น ไม่ง่วงนอนอีก

Condition ที่ 2 การทำงาน ผู้รับบริการว่างงาน แต่ต้องการจะกลับไปทำงานอย่างจริงจังอีกครั้งและทำงานได้นานกว่า 3 เดือน OT จะทำการประเมินโดยใช้ MoHo model เพื่อประเมินเจตจำนงหรือความตั้งใจที่จำทำสิ่งนั้นจริง ๆ ของผู้รับบริการ ให้ผู้รับบริการสามารถตั้งเป้าหมายของการทำงานได้จริง ๆ การดูนิสัยที่ส่งผลต่อการทำงาน และการแสดงความสามารถต่อการทำงานของผู้รับบริการ ในการออกแบบเกี่ยวกับเรื่องการทำงานนั้น จะทำการออกแบบโดยการร่วมกับผู้บำบัดวางแผนในการสมัครงาน รวมถึงแนะนำวิธีการปรับพฤติกรรมให้เข้ากับลักษระของงานและที่ทำงาน เพื่อให้ผู้รับบริการสามารถกลับไปทำงานได้อย่างจริงจังและทำได้นานเกิน 3 เดือนตามที่ต้องการ

Condition ที่ 3 การเล่นเกม ผู้รับบริการเล่นเกมต่อเนื่องเป็นเวลานานตลอดทั้งกลางวันและกลางคืนซึ่งเป็นสาเหตุที่ส่งผลต่อเรื่องการนอนหลับใน Condition ที่ 1 ด้วย นักกิจกรรมบำบัดจึงต้องการให้ผู้รับบริการเล่นเกมตามเวลาที่เหมาะสม จึงจะทำการประเมินโดยใช้ OTPF model: Leisure ทั้ง Leisure exploration และ Leisure participation เพื่อดูว่าผู้รับบริการมีการค้นหากิจกรรมยามว่างอย่างไร มีการกิจกรรมยามว่างนั้นได้อย่างเหมาะสมหรือไม่ รวมถึงการวาง การจัดสรรสมดุลของการเล่นเกมกับกิจกรรมอื่น ๆ ในชีวิตประจำวัน และจะทำการออกแบบโดยการร่วมกับผู้รับบริการวางแผนการทำกิจวัตรประจำวันกับการเล่นเกมให้สมดุลกัน อย่างการแบ่งเวลาเล่นเกมให้ชัดเจน เพื่อสุขภาวะที่ดีทั้งกายและใจของผู้รับบริการ ทั้งการได้ทำกิจกรรมเล่นเกมและได้ทำกิจกรรมอื่น ๆ ด้วย

ในส่วนที่ 2 จะเป็นตั้งคำถามของกรณีศึกษานี้ด้วย Why แล้วตอบแบบ Procedural Reasoning ซึ่งคำถามจะมีทั้งหมด 5 คำถาม ได้แก่

1. ทำไมผู้รับบริการจึงชอบเล่นเกมติดต่อกันเป็นเวลานาน?

> เนื่องจาก Chronic Depression with Low Function Asperger’s ทำให้มีความหมกมุ่นกับพฤติกรรมซ้ำ ๆ ไม่ยืดหยุ่น ความสนใจในสิ่งต่าง ๆ มีอย่างจำกัดและยึดติดเป็นอย่างมาก และจากการสัมภาษณ์ผู้รับบริการบอกว่ารู้สึกสนุกเวลาที่ชนะ แต่เวลาแพ้ก็ยังคงเล่นต่อจนกว่าจะชนะ จึงทำให้ผู้รับบริการชอบการเล่นเกม นักกิจกรรมบำบัดจึงนำความชอบตรงส่วนนี้มาแนะนำในการหางาน การทำอาชีพที่เกี่ยวกับการเล่นเกมให้แก่ผู้รับบริการ เช่น นักกีฬา E-sport การขายไอเทมในเกม เป็นต้น เพราะหากผู้รับบริการได้ทำงานที่สอดคล้องกับที่ตนเองชอบก็อาจจะรู้สึกมีความสุขกับการทำงาน และคงความสนใจในการทำงานได้มากยิ่งขึ้นได้ ในส่วนของการเล่นเกมเป็นเวลานาน นักกิจกรรมบำบัดจะพูดคุยกับผู้รับบริการเพื่อวางแผนในการแบ่งเวลาเล่นเกมให้ชัดเจนขึ้น เพื่อให้แต่ละวันของผู้รับบริการได้มีการทำกิจกรรมอื่น ๆ ได้อย่างสมดุลและเหมาะสม

2. ทำไมผู้รับบริการไม่สามารถทำงานเป็นเวลานานได้?

> เนื่องจาก Chronic Depression with Low Function Asperger’s ทำให้อาการส่งผลต่อความบกพร่องในด้านสังคม อาชีพ หรือหน้าที่การทำงานอื่นที่สำคัญ ความคาดหวังทางสังคมหรือก็คือที่ทำงานนั้นมากเกินกว่าความสามารถของผู้รับบริการ ซึ่งจากการสัมภาษณ์ผู้รับบริการบอกว่าตนเองส่งแลปช้าทำให้ต้องออกจากงาน และมองว่าที่ทำงานเร่งงานเกินไป นักกิจกรรมบำบัดจะทำการประเมินเพิ่มเติมว่าความสามารถที่ต้องมีในการทำงานเกี่ยวกับ Lab นั้นมีไรบ้าง แล้วตอนนี้ความสามารถของผู้รับบริการมีอะไรบ้าง เพื่อทำการแจกแจงปัญหา จากนั้นจะทำการตั้งเป้าประสงค์ต่อว่าจะช่วยให้ผู้รับบริการนั้นสามารถกลับทำงานได้อย่างไรบ้าง

3. ทำไมผู้รับบริการไม่ค่อยแสดงความรู้สึกหรือมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อคนในครอบครัวและคนรอบข้าง?

> เนื่องจาก Chronic Depression with Low Function Asperger’s ทำให้บกพร่องในการตอบสนองทางอารมณ์และสังคม (social-emotional reciprocity) จากการสัมภาษณ์เกี่ยวกับความสัมพันธ์ในครอบครัวผู้รับบริการบอกว่าเบื่อ ไม่ชอบเวลาโดนบ่น ชอบโดนพี่ ๆ โดยเฉพาะพี่สาวบังคับให้ทำนู่นทำนี่ ซึ่งจากข้อมูลที่ได้มานั้นทั้งพี่ชายและพี่สาวของผู้รับบริการมีความกังวลเกี่ยวกับตัวผู้รับบริการมากเพราะพ่อได้บอกไว้ในพินัยกรรมว่าให้ช่วยดูแลน้องชายคนเล็กด้วย จึงเกิดการสร้างความกดดันให้ทั้งตัวพี่ชายและพี่สาว ตัวน้องชายคนเล็กเองก็รู้สึกกดดันเช่นกัน นักกิจกรรมบำบัดจึงพยายามกระตุ้นการสื่อสารเพื่อให้ผู้รับบริการค่อย ๆ เล่าความรู้สึกของตนเองออกมา ผ่านการทำการประเมินให้ผู้รับบริการเกิดการขยับ เคลื่อนไหวร่างการเพื่อให้เกิดการตื่นตัว ควบคู่ไปกับการใช้การสัมภาษณ์แบบ Narrative clinical reasoning เพื่อให้ผู้รับบริการยอมเปิดใจที่จะเล่าเกี่ยวกับความรู้สึกของตนเองมากขึ้น

4. ทำไมผู้รับบริการจึงไม่ชอบออกกำลังกาย?

> เนื่องจาก Chronic Depression with Low Function Asperger’s ทำให้มีภาวะที่มีแรงจูงใจต่ำจึงไม่อยากเคลื่อนไหวร่างกาย นักกิจกรรมบำบัดจึงพยายามหาวิธีกระตุ้นให้ผู้รับบริการค่อย ๆ ขยับร่างกายของตนเองโดยนำเรื่องเกมเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น การประเมินด้วยการใช้นิ้วเคาะโต๊ะให้เร็วที่สุดภายในเวลา 10 วินาทีเพื่อดูว่าผู้รับบริการสามารถใช้นิ้วกดเพื่อนเล่มเกมได้เร็วแค่ไหน การบริหารนิ้วหรือคอเพื่อเวลาเล่นเกมจะได้ไม่ปวด เพื่อให้ผู้รับบริการได้ลองทำตามและได้เห็นถึงควาสามารถของตนเอง ได้รู้สึกว่าตนเองก็ทำได้ รวมถึงยอมเปิดใจที่จะพูดคุยกับนักกิจกรรมบำบัดมากขึ้นด้วย

5. ทำไมผู้รับบริการถึงเคยที่จะฆ่าตัวตาย?

> เนื่องจาก Chronic Depression with Low Function Asperger’s ทำให้มีความหมกมุ่นกับพฤติกรรมซ้ำ ๆ ไม่ยืดหยุ่น และยึดติดเป็นอย่างมาก ตอนช่วงที่เรียนการจบปริญญาโทนั้นคือเป้าหมายสูงสุด ดังนั้นเมื่อเรียนจบมาแล้วจึงทำให้เป้าหมายตรงส่วนนั้นได้จบไป จึงเกิดการขาดแรงจูงใจที่จะทำสิ่งต่าง ๆ เลยพยายามที่จะฆ่าตัวตาย ดังนั้นนักกิจกรรมบำบัดจึงใช้แบบประเมิน MoHo model เพื่อหาแรงจูงใจของผู้รับบริการ เจตจำนง ให้ผู้รับบริการเกิดการตั้งเป้าหมายต่อสิ่งที่อยากจะทำ ค่อย ๆ ปรับวิธีคิดให้มีความยืดหยุ่นต่อการใช้ชีวิตมากขึ้น ให้ผู้รับบริการไม่กลับไปคิดเรื่องการฆ่าตัวตายอีก

และในส่วนสุดท้าย การมี Learn How to Learn เพื่อที่จะเรียนและทำงานเป็นนักกิจกรรมบำบัดอย่างมีความสุขนั้นทำอย่างไร สำหรับผู้เขียนก็คือ 

- พยายามที่จะไม่เครียด ไม่กดดันตนเองกับการเรียนจนทำให้กระทบกับการใช้ชีวิตประจำวัน 

- ทำสิ่งต่าง ๆ เท่าที่จะทำได้ แล้วยอมรับผลของสิ่งที่ทำนั้น 

- เรียนรู้ความผิดพลาดที่เกิดขึ้น แล้วนำมาแก้ไขเพื่อให้ผิดพลาดน้อยที่สุดในครั้งถัดไป

- พยายามหาวิธีการเรียนที่เหมาะสมกับตนเอง ในแต่ละวิชาบางครั้ง รูปแบบการเรียนรู้ที่จะช่วยทำให้เข้าใจเนื้อหาในการเรียนก็ไม่เหมือนกัน จึงต้องมีการค้นหาและทดลองรูปแบบการเรียนที่เหมาะสมกับตนเองให้มากที่สุด เพื่อให้สามารถเข้าใจเนื้อหาการเรียนการสอนในวิชานั้น ๆ ได้

- พยายามทบทวนเนื้อหาก่อนหน้าที่เคยเรียนไปเพื่อนำความรู้ไปเชื่อมกับเนื้อหาใหม่ที่ได้เรียน จะช่วยให้เข้าใจเนื้อหาได้มากขึ้น

แล้วเนื้อหาทั้งหมดที่ได้กล่าวข้างต้นก็มีเพียงเท่านี้ค่ะ มาถึงบรรทัดนี้แล้วผู้เขียนคงต้องขอบอกลาผู้อ่านทุกท่านแล้ว หวังเป็นอย่างยิ่งว่าผู้อ่านทุกท่านจะได้รับประโยชน์จากการอ่านกระทู้นี้เพื่อเป็นความรู้ก็ดี เพื่อนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันก็ดี สุดท้ายนี้ขอขอบคุณผู้อ่านทุกท่านที่ให้ความสนใจและอ่านกระทู้นี้จนจบด้วยนะคะ ขอบคุณมาก ๆ เลยค่า :D

ขอบคุณข้อมูลจาก:

แบบทดสอบการนอนหลับกับภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

แอสเพอร์เกอร์ 

หมายเลขบันทึก: 697021เขียนเมื่อ 31 มกราคม 2022 00:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 มกราคม 2022 02:26 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท