ความเชื่อมั่นและการให้เกียรติในระบบการศึกษา


 

พื้นฐานคุณภาพการศึกษาคือความเชื่อมั่นและการให้เกียรติ    บทความ Developing Trust and Nourishing Respect in the Classroom    เน้นปัจจัยทั้สองในห้องเรียน    แต่ผมเถียง    ว่าสองปัจจัยนี้ (ความเชื่อมั่น และการให้เกียรติ) ไม่ได้สำคัญเฉพาะในห้องเรียน   ยังเป็นหัวใจของระบบการศึกษาทั้งระบบ   และเป็นหัวใจของสังคมดี   

ทักษะ หรือสมรรถนะ สำคัญของครูอย่างหนึ่งจึงเป็นเรื่องการให้เกียรติผู้อื่น    ผมจึงเกิดคำถามว่า ระบบการผลิตครูควรเอาใจใส่สมรรถนะนี้แค่ไหน   เรามีวิธีการทดสอบพื้นฐานนี้ของผู้สมัครเข้าเรียนวิชาครูไหม    หากมีวิธีทดสอบที่แม่นยำน่าเชื่อถือ เราจะใช้คัดกรองผู้สมัครเข้าเรียนครู (และทดสอบผู้สมัครสอบเทียบสมรรถนะครู) ไหม    อย่างที่ผมโดนสอบ aptitude test  และทดสอบตอนสัมภาณ์ ก่อนข้ามฟากไปเรียนแพทย์เมื่อปี ๒๕๐๕   

จากการที่ผมมีโอกาสเข้าไปนั่งประชุม กมว. ของคุรุสภา ในฐานะที่ปรึกษา (๑)    ทำให้ผมตระหนักว่า ครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีปัญหาด้านจริยธรรม และเข้าสู่การพิจารณาของ กมว. นั้น   กล่าวได้ว่าเป็นผู้ขาดสมรรถนะในการให้เกียรติผู้อื่นทั้งสิ้น 

คนที่จะให้เกียรติผู้อื่นได้  ต้องเป็นคนที่มีความเคารพนับถือตนเอง (self-efficacy)   ซึ่งเป็นสมรรถนะสำคัญสำหรับมนุษย์ยุคปัจจุบันและอนาคต    และวงการศึกษามีวิธีวัด และน่าจะวัดได้แม่นขึ้นเรื่อยๆ   เราจะใช้คัดกรองคนที่จะไปเป็นครูหรือไม่ 

เอามาตั้งเป็นข้อสังเกตไว้    ว่าเราต้องการเครื่องมือ ช่วยการกลั่นกรองคนที่อุปนิสัยเหมาะสมไปเป็นครู     ไม่ใช่แค่มองที่คุณวุฒิหรือปริญญาเท่านั้น

ในบันทึกหน้า  จะเอ่ยถึงหนังสือที่ลงรายละเอียดเรื่องนี้    ที่หาอ่านได้   

วิจารณ์ พานิช

๖ ม.ค. ๖๕

             

หมายเลขบันทึก: 696853เขียนเมื่อ 27 มกราคม 2022 18:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 มกราคม 2022 18:26 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

น่าสนใจมากเลยครับ ก่อนสอบเป็นอาจารย์ช่วงหลังมีแต่วัดเรื่องจิตวิทยา

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท