ชีวิตหลังเกษียณที่มีความสุข


ชีวิตหลังเกษียณอายุราชการ เป็นชีวิตสู่ถนนสาย 61 จะว่า เป็นชีวิตบั้นปลายของคนเราแต่ละคนก็น่าจะไม่ผิด การดำรงชีวิตอย่างมีคุณค่าของผู้สูงอายุ ย่อมนำมาซึ่งความสุข วิธีง่ายๆ ที่จะช่วยเพิ่มคุณค่าในการดำเนินชีวิตให้มีความสุขในผู้สูงวัยหลังเกษียณอายุราชการไปแล้ว ควรจะเป็น ดังนี้ 1. ทำจิตใจให้สงบและปล่อยวาง โดยแต่ละคนอาจใช้เวลาว่างทำสมาธิ เจริญภาวนา สวดมนต์ทำจิตให้สงบ ทำจิตใจให้ร่าเริง แจ่มใส สดใสเบิกบาน ตอนเช้าหลังตื่นนอนและตอนเย็นก่อนนอน มีอารมณ์รู้จักปล่อยวาง ไม่เป็นคนเจ้าอารมณ์ มี EQ MQ สูงเป็นพิเศษ 2. ออกกำลังกายให้เหมาะกับวัย ควรหาเวลาออกกำลังกายบ้างประมาณวันละ 30 นาทีก็ยังดี โดยผู้สูงอายุไม่ควรออกำลังกายหักโหมจนเกินไป เพราะอาจทำให้พลาดได้ ไม่ควรวิ่งเร็ว หรือออกกำลังกายรุนแรงเพราะอาจจะทำให้การทำงานของหัวใจเต้นเร็ว หายใจหอบและอาจถึงตายได้ง่าย เพราะฉะนั้น การออกกำลังกาย ควรทำเบา ๆ เหมาะสมกับวัย จะเดิน จะเหิน จะก้าวไปแต่ละก้าว ให้ระมัดระวังความปลอดภัย โดยเฉพาะ การหกล้ม จะต้องระมัดระวังให้ดี เพราะถ้าหกล้มอาจทำให้เส้นเอ็นพลิกแพลง ขาดได้ง่าย มีสติ ระลึกได้ และสัมปชัญญะ รู้ตัวทุกขณะย่างก้าว 3. รับประทานอาหารให้เหมาะกับผู้สูงวัย เนื่องจากวัยผู้สูงอายุ บางคนอาจมีข้อจำกัดด้านอาหาร ควรเลือกรับประทานอาหารที่ย่อยง่าย ประเภทเนื้อวัวหรือสัตว์ใหญ่ ควรงดหรือทานน้อยลง ลด หรือเว้นอาหรบางจำพวก เช่น อาหารดิบๆ สุกๆ เพราะระบบการย่อยอาหารของคนสูงอายุอาจจะทำหน้าที่ไม่ปกติ หรือทำหน้าที่ได้ไม่ดีพอเหมือนสมัยยังหนุ่มสาว คือทำหน้าที่ได้ไม่ดีเหมือนวัยที่เรายังเป็นหนุ่มสาว ควรทานผักผลไม้เพื่อช่วยใน การขับถ่าย ไม่ให้ท้องผูก ดื่มน้ำพอประมาณ การขับถ่ายถ้าฝึกได้ ควรขับถ่ายตอนเช้า และตอนเย็น จะดี 4. หาเวลาร่วมกิจกรรมกับผู้สูงวัยด้วยกันเป็นครั้งคราว ควรหาเวลาสังสรรค์กับผู้สูงอายุด้วยกัน โดยการทำกิจกรรมร่วมกันไม่ว่าจะพักผ่อนหย่อนใจ เที่ยวงานบุญตามเทศกาล เข้าชมรมผู้สูงอายุด้วยกัน ร่วมกิจกรรมของชมรมวัยเกษียณหรือ ข้าราชการบำนาญ ทำบุญที่วัดได้มีโอกาสพบปะพูดคุยกับเพื่อนบ้านพอจะได้ไม่เหงา และได้เคลื่อนไหวอิริยาบถด้วย 5. เข้าวัดปฏิบัติธรรมในวันธรรมสวนะหรือวันพระ การไปเข้าวัดปฏิบัติธรรม ถือว่าได้มีโอกาสพบปะกันกับคนสูงอายุด้วยกันและสนทนาธรรมตามกาล พูดคุยแต่เรื่องสนุก สร้างสรรค์ ไม่ เคร่งเครียดกับงานมากจนเกินไป ตัดความโลภให้น้อยลง แต่เพิ่ม ความเสียสละ ทำบุญทำทาน หรือสร้างประโยชน์ให้กับสังคม 6. พักผ่อนให้เพียงพอ ผู้สูงอายุควรพักผ่อนให้เพียงพอ นอนหลับสนิท ก่อนนอนทำสมาธิ ปลดปล่อยทำใจให้สดใส ไม่คิดฟุ้งซ่าน ทำใจให้สงบก่อนนอนและนอนให้หลับลึก หลับสนิท ตัดความวิตกกังวลทั้งหลายทั้งปวงให้หมดไป ฯลฯ

ชีวิตหลังเกษียณที่มีความสุข

 

ชีวิตหลังเกษียณที่มีความสุข

ดร.ถวิล  อรัญเวศ

      ชีวิตหลังเกษียณอายุราชการ เป็นชีวิตสู่ถนนสาย 61 จะว่า
เป็นชีวิตบั้นปลายของคนเราแต่ละคนก็น่าจะไม่ผิด

      ไม่มีงานเลี่ยงใดที่จะไม่มีวันเลิกราเช่นเดียวกับการทำงาน

หรือการรับราชการก็ย่อมมีวันเกษียณ

      เพียงแต่ว่าจะเกษียณตอนอายุเท่าใด

      ถ้าเป็นส่วนราชการ ปกติก็ อายุครบ 60 ปี เว้นแต่บาง

ตำแหน่งอาจจะได้ต่อ แต่ก็มีน้อยมาก

    เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นสัจธรรมของมนุษย์ ตลอดมาและตลอดไปโดยที่ไม่อาจจะหลีกเลี่ยงไปได้ ไม่ว่าใครก็ตาม

   มนุษย์เราเป็นสัตว์สังคม จึงไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้โดยลำพัง ต้องอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น ตั้งแต่แรกเกิดไปจนตาย

   เมื่อยังเป็นเด็ก พ่อแม่คอยดูแลเอาใจใส่ เลี้ยงดูอย่างทะนุถนอม อบรมสั่งสอนให้รู้ดีรู้ชั่ว มีกิริยามารยาทเรียบร้อย ให้กระทำในสิ่งที่ดี งาม ละเว้นสิ่งที่ชั่วร้าย ให้มีพฤติกรรมเป็นที่พึงประสงค์ของสังคม เมื่อถึงวัยเรียนท่านก็ส่งให้เรียนในโรงเรียนที่ดี หวังให้ลูกมีชีวิตที่ดีมี ความรู้พอที่จะไปประกอบสัมมาอาชีพได้ และดำรงตนอยู่ในโลกนี้ได้อย่างมีความสุข

    หน้าที่ของพ่อแม่ที่มีต่อลูก เป็นวงจรชีวิตที่ไม่รู้จบ ทุกคนที่เป็นพ่อแม่ ถือเป็นภาระหน้าที่สำคัญ เป็นห่วงโซ่
ที่ไม่รู้จบ

   เมื่อเด็ก คนเราก็ได้รับการเลี้ยงดูให้เติบใหญ่ และจัดให้เป็นผู้มีการศึกษา เพื่อทำงานหารายได้เลี้ยงชีพได้แล้วก็ถึงเวลาที่ต้องมีคู่ครอง พ่อแม่ที่เลี้ยงดูมาตั้งแต่เกิดยังต้องทำหน้าที่ช่วยเลือกคู่ครองที่เป็นคนดีมาเป็นคู่ชีวิตให้หรือสุดแท้แต่ลูกจะอยากได้มาเป็นคู่ชีวิต

     เมื่อพ่อแม่เข้าสู่วัยชรา ลูกๆ ยังมีความหวังในการเลี้ยงดูหลานเหลน ผู้สูงอายุจึงเป็นบุคคลที่เป็นความหวังของลูกหลานตราบใดที่ยังมีชีวิตอยู่ จึงต้องดูแลท่านให้เป็นอย่างดี

 

สภาพประชากรไทยปัจจุบัน

         มีการคาดการณ์ว่าในปี 2583 ประเทศไทยจะมีอัตราส่วนผู้สูงอายุถึง 32.1 % ในปี 2561 ประเทศไทยมีประชากรทั้งสิ้น 66.4 ล้านคน โดยมีประชากรวัยทำงาน (15-59 ปี) ร้อยละ 64.7 ประชากรวัยเด็ก (แรกเกิด- 14 ปี) ร้อยละ 16.8 ผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) ร้อยละ 16.0 (ข้อมูลสำมะโนประชากรและเคหะ) มีการคาดการณ์ว่าในปี 2583 ประเทศไทยจะมีประชากรลดลง เหลือร้อยละ 63.9 แต่มีโครงสร้างประชากรเปลี่ยนแปลงอย่างมากคือ มีประชากรวัยทำงาน (15-59 ปี) ร้อยละ 55.1 ประชากรวัยเด็ก (แรกเกิด- 14 ปี) ร้อยละ 12.8 และมีผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) สูงถึงร้อยละ 32.1 ทั้งนี้เนื่องจากการมีอัตราการเกิดที่น้อยลง และการพัฒนาทางการแพทย์ที่ทำให้ประชากรมีอายุยืนยาวขึ้น

        ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจะส่งผลต่อประเทศไทยค่อนข้างมาก เพราะเรามีกลุ่มประชากรวัยทำงานน้อยลง ส่งผลโดยตรงต่อกำลังการผลิตและเศรษฐกิจภายในประเทศ เพราะจะขาดแคลนกำลังคนทั้งในเรื่องของคุณภาพและปริมาณ ทำให้กลุ่มวัยทำงานมีรายได้และค่าใช้จ่ายใกล้เคียงกัน ทำให้ขาดดุลรายได้การบริโภค ขาดเงินออม และไม่สามารถเกื้อหนุนกลุ่มเด็กและผู้สูงอายุได้

        ดังนั้น จึงถือได้ว่า  ปัจจุบันประเทศไทยเรา กำลังก้าวสู่การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางประชากรครั้งสำคัญ คือการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ โดยสัดส่วนประชากรในวัยทำงานและวัยเด็กลดลง เนื่องจากอัตราการเกิดของประชากรลดลง ประชากรไทยโดยเฉลี่ยมีอายุยืนยาวขึ้นซึ่งสถานการณ์ของประเทศไทยก็ดำเนินไปเช่นเดียวกับนานาประเทศ กล่าวคือ การดำเนินนโยบายด้านประชากรและการวางแผนครอบครัวที่ประสบผลสำเร็จ ตลอดจน ความก้าวหน้าในการพัฒนาประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม ส่งผลให้คนไทยมีสุขภาพดี มีอายุยืนยาวขึ้น และมีโอกาสได้รับการศึกษาที่สูงขึ้น มีความรู้และทักษะในการป้องกันและดูแลสุขภาพ ตลอดจน การวางแผนครอบครัวที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

 

ชีวิตหลังเกษียณอายุราชการที่มีความสุข

          วัยผู้สูงอายุ หรือวัยเกษียณ คือ 60 ปีขึ้นไป ในการดำรงชีวิตควรเป็นชีวิตแบบสงบเรียบง่าย พอเพียง จะทำให้ชีวิตมีคุณค่าและมีความสุข เพราะวัยนี้ถือว่าผ่านร้อนผ่านหนาวมาโชกโชนแล้ว จะคิดไปหวังเอาอะไรมากก็ไม่ได้ เพราะเขาให้เราออกมาพักผ่อน คอยเป็นร่มโพธิ์ร่มไทรให้กับลูก ๆ หลาน ๆ เป็นชีวิตที่ต้องใฝ่หาความสงบสุขให้กับตนเองเป็นสำคัญ และอาจจะเป็นภูมิปัญญา เป็นปราชญ์ชาวบ้านเท่าที่เรายังพอมีความรู้ความสามารถ แต่คงไม่ใช่ไปประกอบอาชีพหรือทำธุรกิจอย่างใหญ่โต ควรปล่อยให้เป็นภาระหน้าที่ของลูกหลานได้ช่วยสานต่อ เราคงเป็นเพียงคอยให้คำแนะนำ ให้คำปรึกษาเท่านั้น ใครมีวิชาความรู้ ความสามารถอะไรดี ๆ ก็ควรบอกต่อเพื่อที่วิชาความรู้เหล่านั้น จะได้ไม่ต้องตายไปพร้อมกับเรา

        การดำรงชีวิตอย่างมีคุณค่าของผู้สูงอายุ ย่อมนำมาซึ่งความสุข วิธีง่ายๆ ที่จะช่วยเพิ่มคุณค่าในการดำเนินชีวิตให้มีความสุขในผู้สูงวัยหลังเกษียณอายุราชการไปแล้ว ควรจะเป็น ดังนี้

1. ทำจิตใจให้สงบและปล่อยวาง

    โดยแต่ละคนอาจใช้เวลาว่างทำสมาธิ เจริญภาวนา สวดมนต์ทำจิตให้สงบ ทำจิตใจให้ร่าเริง แจ่มใส สดใสเบิกบาน ตอนเช้าหลังตื่นนอนและตอนเย็นก่อนนอน มีอารมณ์รู้จักปล่อยวาง ไม่เป็นคนเจ้าอารมณ์ มี EQ MQ สูงเป็นพิเศษ

2. ออกกำลังกายให้เหมาะกับวัย

    ควรหาเวลาออกกำลังกายบ้างประมาณวันละ 30 นาทีก็ยังดี โดยผู้สูงอายุไม่ควรออกำลังกายหักโหมจนเกินไป เพราะอาจทำให้พลาดได้ ไม่ควรวิ่งเร็ว หรือออกกำลังกายรุนแรงเพราะอาจจะทำให้การทำงานของหัวใจเต้นเร็ว หายใจหอบและอาจถึงตายได้ง่าย เพราะฉะนั้น การออกกำลังกาย ควรทำเบา ๆ เหมาะสมกับวัย จะเดิน จะเหิน จะก้าวไปแต่ละก้าว ให้ระมัดระวังความปลอดภัย โดยเฉพาะ การหกล้ม จะต้องระมัดระวังให้ดี เพราะถ้าหกล้มอาจทำให้เส้นเอ็นพลิกแพลง ขาดได้ง่าย มีสติ ระลึกได้ และสัมปชัญญะ รู้ตัวทุกขณะย่างก้าว

3. รับประทานอาหารให้เหมาะกับผู้สูงวัย

    เนื่องจากวัยผู้สูงอายุ บางคนอาจมีข้อจำกัดด้านอาหาร ควรเลือกรับประทานอาหารที่ย่อยง่าย ประเภทเนื้อวัวหรือสัตว์ใหญ่ ควรงดหรือทานน้อยลง ลด หรือเว้นอาหรบางจำพวก เช่น อาหารดิบๆ สุกๆ เพราะระบบการย่อยอาหารของคนสูงอายุอาจจะทำหน้าที่ไม่ปกติ หรือทำหน้าที่ได้ไม่ดีพอเหมือนสมัยยังหนุ่มสาว คือทำหน้าที่ได้ไม่ดีเหมือนวัยที่เรายังเป็นหนุ่มสาว ควรทานผักผลไม้เพื่อช่วยในการขับถ่าย ไม่ให้ท้องผูก ดื่มน้ำพอประมาณ การขับถ่ายถ้าฝึกได้ควรขับถ่ายตอนเช้า และตอนเย็น จะดี

4. หาเวลาร่วมกิจกรรมกับผู้สูงวัยด้วยกันเป็นครั้งคราว

    ควรหาเวลาสังสรรค์กับผู้สูงอายุด้วยกัน โดยการทำกิจกรรมร่วมกันไม่ว่าจะพักผ่อนหย่อนใจ เที่ยวงานบุญตามเทศกาล เข้าชมรมผู้สูงอายุด้วยกัน ร่วมกิจกรรมของชมรมวัยเกษียณหรือ ข้าราชการบำนาญทำบุญที่วัดได้มีโอกาสพบปะพูดคุยกับเพื่อนบ้านพอจะได้ไม่เหงาและได้เคลื่อนไหวอิริยาบถด้วย5. เข้าวัดปฏิบัติธรรมในวันธรรมสวนะหรือวันพระ

    การไปเข้าวัดปฏิบัติธรรม ถือว่าได้มีโอกาสพบปะกันกับคนสูงอายุด้วยกันและสนทนาธรรมตามกาล พูดคุยแต่เรื่องสนุก สร้างสรรค์ ไม่ เคร่งเครียดกับงานมากจนเกินไป ตัดความโลภให้น้อยลง แต่เพิ่มความเสียสละ ทำบุญทำทาน หรือสร้างประโยชน์ให้กับสังคม

5. พักผ่อนให้เพียงพอ

       ผู้สูงอายุควรพักผ่อนให้เพียงพอ นอนหลับสนิท ก่อนนอนทำสมาธิ ปลดปล่อยทำใจให้สดใส
ไม่คิดฟุ้งซ่าน ทำใจให้สงบก่อนนอนและนอนให้หลับลึก หลับสนิท ตัดความวิตกกังวลทั้งหลาย
ทั้งปวงให้หมดไป ฯลฯ

  

สรุป

     ชีวิตหลังเกษียณ อย่างมีความสุข ควรเป็นชีวิตที่เรียบง่ายพอเพียง พอประมาณ มีเหตุมีผล และมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวเองทำร่างกายให้แข็งแรง กระปรี้กระเปร่า  ทำจิตใจให้เข้มแข็ง ร่าเริงแจ่มใส ไร้วิตกกังวล พ้นความห่วงใย ใส่ใจตนเอง หยุดเคร่งเครียดในการงาน สืบสานความพอเพียง เลี้ยงชีวิตอย่างเหมาะสม ชื่นชมธรรมชาติ จะทำให้การดำรงชีวิตหลังเกษียณอายุราชการไปแล้วมีความสุขอย่างมีคุณภาพ และต้องยึดพุทธภาษิตที่ว่า “อโรคยา  ปรมา ลาภา ความไม่มีโรคเป็นลาภอย่างยิ่ง” เพื่อจะได้อยู่อย่างสบาย ไม่เป็นภาระใคร ๆ นั้นเอง….


หมายเลขบันทึก: 696806เขียนเมื่อ 27 มกราคม 2022 00:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 มกราคม 2022 00:04 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ออกกำลังกายวันละ 1 ชม กินอาหารแต่พอดี อ่านหนังสือธรรมมะ ปล่อยวาง หาสิ่งที่ชอบทำบ้าง ท่องเที่ยวบ้าง ไปหาลูกหลานบ้าง

สุขแล้วค่ะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท