อุดมศึกษาข้ามแดนประเทศและทวีป


 

นี่คือธรรมชาติใหม่ของอุดมศึกษาในปัจจุบันและอนาคต ... mobility   โดยที่อาจเป็น real, virtual, หรือ blended mobility ก็ได้   

ทักษะของบัณฑิตต้องไม่จำกัดอยู่ที่การทำงานในบริบทประเทศของตนเท่านั้น    ต้องมีทักษะข้ามวัฒนธรรมได้ด้วย   อย่างน้อยก็ในบัณฑิตของมหาวิทยาลัยกลุ่มวิจัยระดับโลก   

นี่คือข้อสะท้อนคิดจากการอ่านข่าว  ASIA-EUROPE : Education ministers seek greater regional HE connectivity   ที่สรุปสาระจากการประชุม Asia – Europe Meeting ระดับ รมต. ศึกษาธิการ ที่ไทยเป็นเจ้าภาพ เมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๖๔   

สถาบันอุดมศึกษาต้องมีระบบการจัดการความสัมพันธ์กับต่างประเทศ ทั้งต่อสถาบันอุดมศึกษา  และสถาบันอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง (เช่นธุรกิจ) ในต่างประเทศ   รวมทั้งมีการจัดการหลักสูตร เพื่อเกื้อหนุนให้นักศึกษาได้มีโอกาสไปเรียนรู้และฝึกงานในต่างประเทศ    การเรียนรู้ในต่างแดนจะไม่ใช่ส่วนเสริมอีกต่อไป    แต่จะเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรตามปกติ    โดยที่กิจกรรมข้ามแดนของนักศึกษานี้ อาจมีลักษณะเป็น real, blended, หรือ virtual ก็ได้   โดยมีการกำหนดเป้าหมายของกิจกรรมไว้อย่างชัดเจน และมีการวัดผลเพื่อขับเคลื่อน Double-loop learning   ให้นักศึกษารุ่นต่อๆ ไปได้รับประสบการณ์การเรียนรู้ที่มีประสิทธิผลยิ่งขึ้น

ในระดับประเทศ ต้องมีการทำความตกลงกันในประเด็นด้านการปฏิบัติ   ให้มีระบบความร่วมมือที่เอื้อให้แต่ละมหาวิทยาลัยติดต่อคู่ร่วมมือในต่างประเทศ และดำเนินกิจกรรมความร่วมมือได้สะดวกยิ่งขึ้น  เกิดผลลัพธ์ด้านการเรียนรู้ของนักศึกษาอย่างบรรลุเป้าหมายยิ่งขึ้น

ต่อจากนี้ไป บัณฑิตของมหาวิทยาลัยไทยจำนวนหนึ่งจะเป็น “นักเรียนนอก” ทุกคน  การเป็นนักเรียนนอกจะไม่ใช่เรื่องพิเศษสำหรับบางคนอีกต่อไป  

วิจารณ์ พานิช

๑๙ ธ.ค. ๖๔

 

หมายเลขบันทึก: 696621เขียนเมื่อ 24 มกราคม 2022 18:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มกราคม 2022 18:56 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท