ให้ความรู้แก่เกษตรกร โครงการแปลงใหญ่เขตตลิ่งชัน เรื่อง "การรวมกลุ่มแปลงใหญ่ มาจากเกษตรทฤษฎีใหม่ ขั้นที่ 2"


เป็นวิทยากรของ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ให้ความรู้แก่เกษตรกร โครงการแปลงใหญ่เขตตลิ่งชัน เรื่อง “การรวมกลุ่มแปลงใหญ่  มาจากเกษตรทฤษฎีใหม่ ขั้นที่ 2 ”  แก่เกษตรกร โครงการแปลงใหญ่  เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร

….หัวใจของเกษตรทฤษฏีใหม่ขั้นที่ 2  การรวมกันในรูปกลุ่มหรือสหกรณ์ เพื่อให้เกิด economies of scale จากการรวมกัน รวมกันซื้อ รวมกันขาย และการแบ่งปันโอกาสการใช้เงินระหว่างกัน….

คุยเรื่อง วิชาการมากนัก เกรงว่าผู้เข้ารับการอบรมจะเบื่อจึงให้ความรู้แบบผสมผสาน 
ให้พิจารณากันเอง  ตามหัวข้อดังต่อไปนี้

1. เกษตรทฤษฏีใหม่ 3 ขั้นตอน

ขั้นที่ 1   การจัดสรรพื้นที่อยู่อาศัยและ ที่ทำกิน 
ให้แบ่งพื้นที่ ออกเป็น 4 ส่วน ตามอัตราส่วน30:30:30:10

ขั้นที่ 2   ให้เกษตรกรรวมพลังกันในรูป กลุ่ม หรือ สหกรณ์ ร่วมแรง ร่วมใจกันดำเนินการในด้าน 

ขั้นที่ 3   ติดต่อประสานงาน บริษัท ห้างร้านเอกชน มาช่วยในการลงทุนและพัฒนาคุณภาพชีวิต

http://km.rdpb.go.th/Knowledge/View/54

https://www.gotoknow.org/posts/596066

https://www.gotoknow.org/posts/514696

2. ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 3 ห่วง 2 เงื่อนไข

แนวพระราชดำริ
 

“...เศรษฐกิจพอเพียงนั้นเขาตีความว่าเป็นเศรษฐกิจชุมชนหมายความว่าให้พอเพียงในหมู่บ้าน หรือในท้องถิ่น ให้สามารถที่จะมีพอกิน เริ่มด้วย พอมี พอกิน พอมีพอกินนี้ได้พูดมาหลายปี ๑๐ กว่าปีมาแล้วให้พอมีพอกิน แต่ว่าพอมีพอกินนี้ เป็นเพียงเริ่มต้นของเศรษฐกิจ เมื่อปีที่แล้วบอกว่า ถ้าพอมีพอกิน คือ พอมีพอกินของตัวเองนั้น ไม่ใช่เศรษฐกิจพอเพียงเป็นเศรษฐกิจสมัยหิน สมัยหินนั้นเป็นเศรษฐกิจพอเพียงเหมือนกันแต่ว่าค่อย ๆ พัฒนาขึ้นมา...”

พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙
พระราชทานเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา
ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต
วันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๔๒

http://www.rdpb.go.th/th/Sufficiency

แนะนำให้เกษตรกรนำไปใช้สอนบุตรหลาน เพราะเกษตรกรปฏิบัติอยู่แล้ว ในชีวิตประจำวัน

2.1 ใช้เงินอย่างพอประมาณ (ห่วง 1)
2.2 ใช้เงินอย่างมีเหตุผล (ห่วง 2)
2.3 ใช้เงินอย่างมีภูมิคุ้มกัน (ห่วง 3)
2.4 ใช้เงินตามเงื่อนไขทางวิชาการ ( เงื่อนไข 1)
2.5 ใช้เงินตามหลักธรรมของศาสนา (เงื่อนไข 2)

3. การรวมกลุ่มอย่างเข้าใจง่าย

หัวใจคือ การรวมคน รวมใจคน คนเป็นศูนย์กลาง แบ่งปันช่วยเหลือกัน ทั้งทางสังคม และทางเศรษฐกิจ 
หากมุ่งไปที่เงิน รายได้ การรวมกลุ่มก็จะมีความทุกข์ และไม่ยั่งยืน ถมไม่เต็ม

วิธีการสหกรณ์ก็คล้ายกัน 
https://www.gotoknow.org/posts/514689

การรวมกลุ่มไม่ใช่เพื่อแสวงหากำไรสูงสุด แต่เพื่อประโยชน์สุข จะยั่งยืน
https://www.gotoknow.org/posts/594642


4. อาหารกาย อาหารใจ

เรียนเกษตรกรว่า ผลผลิตทางการเกษตรของท่านมิใช่เป็นเพียงอาหารกาย แต่ยังเป็นอาหารใจด้วย เกตรกรควรมีความภาคภูมิใจในผลผลิตที่เกิดขึ้น พืชผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ ไข่ ถั่ว นม ความชุ่มชื้น ฯลฯ เป็นอาหารกาย แต่มีสิ่งที่เป็นอาหารใจ ด้วยเช่น ทัศนียภาพ ความเขียวชะอุ่ม ความชุ่มชื้น เกษตรท่องเที่ยว อุตสาหกรรมเกษตรอื่น ๆ ความมั่นคงในครัวเรือนจากการประกอบอาชีพเกษตร  ฯลฯ ล้วนเป็นอาหารใจที่ทรงคุณค่า ทำให้อาชีพเกษตรกรรม และการเป็นเกษตรมีคุณค่ายั่งยืน  


5. หัวข้อธรรมสำหรับการรวมกลุ่ม สังคหวัตถุ 4

ผู้เขียนได้ฟังเทศน์ จาก พระคุณเจ้าวัดนรนาถสุนทริการาม มาเทศนา ในงานวันขึ้นปีใหม่ 5 มกราคม 2565 
วัดอยู่ข้างกรมส่งเสริมสหกรณ์ เทเวศร์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เขตพระนคร อันที่จริงต้องบอกว่า กรมส่งเสริมสหกรณ์มาตั้งอยู่ข้างวัดเพราะวัดนรนาถสุ่นทริการาม ตั้งมาก่อน วันนี้ที่ทำงานนิมนต์มา

หัวข้อธรรม คือ สังคหวัตถุ 4  ซึ่งเป็นหลักธรรมที่ส่งเสริมการรวมกลุ่มให้เกิดความเข้มแข็งและยั่งยืน 

สังคหวัตถุ 4 (ธรรมเครื่องยึดเหนี่ยว คือยึดเหนี่ยวใจบุคคล และประสานหมู่ชนไว้ในสามัคคี, หลักการสงเคราะห์ - bases of sympathy; acts of doing favors; principles of service; virtues making for group integration and leadership)

       1. ทาน (การให้ คือ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เสียสละ แบ่งปัน ช่วยเหลือกันด้วยสิ่งของตลอดถึงให้ความรู้และแนะนำสั่งสอน - giving; generosity; charity)

       2. ปิยวาจา หรือ เปยยวัชชะ (วาจาเป็นที่รัก วาจาดูดดื่มน้ำใจ หรือวาจาซาบซึ้งใจ คือกล่าวคำสุภาพไพเราะอ่อนหวานสมานสามัคคี ให้เกิดไมตรีและความรักใคร่นับถือ ตลอดถึงคำแสดงประโยชน์ประกอบด้วยเหตุผลเป็นหลักฐานจูงใจให้นิยมยอมตาม - kindly speech; convincing speech)

       3. อัตถจริยา (การประพฤติประโยชน์ คือ ขวนขวายช่วยเหลือกิจการ บำเพ็ญสาธารณประโยชน์ ตลอดถึงช่วยแก้ไขปรับปรุงส่งเสริมในทางจริยธรรม - useful conduct; rendering services; life of service; doing good)

       4. สมานัตตตา* (ความมีตนเสมอ** คือ ทำตนเสมอด้วยปลาย ปฏิบัติสม่ำเสมอกันในชนทั้งหลาย และเสมอในสุขทุกข์โดยร่วมรับรู้ร่วมแก้ไข ตลอดถึงวางตนเหมาะแก่ฐานะ ภาวะ บุคคล เหตุการณ์และสิ่งแวดล้อม ถูกต้องตามธรรมในแต่ละกรณี - even and equal treatment; equality consisting in impartiality, participation and behaving oneself properly in all circumstances)

---------------------------------------------- 

หัวข้อธรรม นำมาจาก พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
https://84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=186



 
บรรยายที่ ศพก. ตลิ่งชัน (ศูนย์เรียนรู้ การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร ) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
 

 

ผู้รับฟัง เป็นเกษตรกร เกษตรแปลงใหญ่ คือโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ เป็นหนึ่งในโครงการสำคัญ. ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เขตตลิ่งชัน  กรุงเทพมหานคร  โครงการนี้เป็นการบูรณาการร่วมมือระหว่างกรุงเทพมหานคร กับ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อความสุขความเจริญของพี่น้องชาว กรุงเทพมหานคร
 

 

พึ่งได้พบเจอกับท่านเกษตรกรุงเทพมหานคร (ท่านอาคม ศรีประภาพงศ์) ทางกายภาพเป็นครั้งแรก เคยเจอแต่ในการประชุมผ่านสื่ออีเล็คทรอนิกส์ ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับท่าน ที่สำคัญคือ เหลือ 263 วัน (คำนวณถึง 11 มกราคม 2565) ในการเป็นข้าราชการเหมือนกัน (เกษียณพร้อมกัน) 


 



โรงเรือนเกษตรแบบแปลงรวม ของเกษตรกรชาวตลิ่งชัน  ร่าวมือ ร่วมใจ พัฒนาสร้างทำกันขึ้นมา ทุกท่านเสียสละเข้ามาทำเห็นผลเป็นรูปธรรมชัดเจน ระบบการให้น้ำอัจฉริยะ ควบคุมการเปิดปิดผ่านโทรศัพท์มือถือ 

 

ท่านไวพจน์ นิตทิม ประธานศพก.แขวงบางเชือกหนัง  กำลังแบ่งปัน น้ำจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง ให้กับเพื่อน ๆ เพื่อนำไปต่อเชื้อจะลดเวลาในการทำ การแบ่งปัน เป็นสังคหวัตถุ 4 ข้อที่ 1 “ทาน” แบ่งปันน้ำจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงเป็นวัตถุทาน แบ่งปันวิชาการทำน้ำจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง เป็น วิทยาทาน 



พีระพงศ์ วาระเสน บ๊อบบี้
นัก การสหกรณ์ ด้วยหัวใจ 💚
https://www.gotoknow.org/blog/peeraphong-varasen

อดีต ผู้บรรยาย เรื่อง “การสหกรณ์”  โครงการพระราชทานความช่วยเหลือแก่ราชอาณาจักรกัมพูชา ด้านการศึกษาในสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี วิทยาลัยกำปงเฌอเตียล

ปัจจุบัน (ครั้งนี้) บรรยายให้เกษตรกรโครงการแปลงใหญ่ เขตตลิ่งชันกรุงเทพมหานคร

บรรยายเมื่อวันอังคารที่ 11 มกราคม 2565
บันทึกเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 13 มกราคม  2565


 

หมายเลขบันทึก: 696028เขียนเมื่อ 13 มกราคม 2022 06:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มกราคม 2022 05:51 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท