หลักฐานทางประวัติศาสตร์


หลักฐานทางประวัติศาสตร์ (Historical Sources) คือ ร่องรอยการกระทำของมนุษย์หรือร่องรอยของอดีต

 ประเภทของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ แบ่งได้เป็น

๑. หลักฐานที่จำแนกตามความสำคัญของหลักฐาน เพื่อประเมินความสำคัญของหลักฐานได้ง่ายแบ่งออกเป็น

๑.๑ หลักฐานชั้นต้น (Primary Sources )  หมายถึง หลักฐานที่สร้างขึ้นในเวลานั้นหรือจากคำบอกเล่าของผู้ร่วมเหตุการณ์

โดยไม่คำนึงถึงว่าจะเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ หลักฐานชั้นต้นถือเป็นหลักฐานที่มีความน่าเชื่อถือสูงสุด

หลักฐานชั้นต้นไม่จำเป็นต้องเป็นต้นฉบับเดิม แต่รวมถึงฉบับสำเนาด้วย

หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร   เช่น         

จารึก  

ปูม  

ตำนาน  

จดหมายเหตุ  

บันทึกส่วนบุคคล  

จดหมายเอกสารการปกครอง

หนังสือพิมพ์รายวัน  

นิตยสารร่วมสมัย  

วารสารร่วมสมัย

 

หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร  เช่น

โครงกระดูก

แผ่นศิลา  

โลหะ  

เจดีย์  

ใบลาน  

สิ่งก่อสร้างร่วมสมัย

คำบอกเล่า  

นาฏศิลป์  

ดนตรี  

เพลงพื้นบ้าน       

๑.๒ หลักฐานชั้นรอง [ Secondary Sources ] หมายถึง ผลงานที่เขียนขึ้นหรือเรียบเรียงขึ้นภายหลังจากการเกิดเหตุการณ์ โดยอาศัยคำบอกเล่าของผู้อื่นหรือจากหลักฐานชั้นต้นต่างๆ เช่น

 

หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร   เช่น

บทความ

งานพิมพ์ทางประวัติศาสตร์

พจนานุกรม

สารานุกรม

แบบเรียน

หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร  เช่น

พระบรมราชานุสาวรีย์

พระอนุสาวรีย์

ภาพยนต์

               

๒. หลักฐานที่จำแนกตามลักษณะของหลักฐาน

 ๒.๑ หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรหรือหลักฐานสมัยประวัติศาสตร์ เช่น  จารึก ถือเป็นหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรที่เก่าแก่ที่สุดของไทย มีทั้งที่เป็นแผ่นหิน แผ่นเงิน ทอง ดีบุก และบนปูชนียสถานและปูชนียวัตถุ จุดมุ่งหมายมักทำเพื่อบันทึกการทำบุญ 

ตำนาน เป็นเรื่องเล่าที่หาจุดกำเนิดไม่ได้ มักจะแสดงถึงค่านิยมในอดีตที่มีความเชื่อที่เกี่ยวพันกับศาสนา

พระราชพงศาวดาร หนังสือราชการที่รวบรวมเรื่องมาจากเอกสารสำคัญที่กษัตริย์ทรงแต่งขึ้นหรือให้แต่งขึ้น ซึ่งรวบรวมมาจากจดหมายเหตุ ปูมโหร ใบบอก เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับกษัตริย์และเหตุการณ์สำคัญ การเขียนพงศาวดารเริ่มการเขียนขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาจนถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชพงศาวดารที่เก่าแก่ที่สุดและน่าเชื่อถือ

มากที่สุด คือ พระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐ ถือเป็นหลักฐานชั้นรองเพราะแต่งขึ้นหลังเหตุการณ์ผ่านไปแล้ว

๒.๒ หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร หมายถึง หลักฐานที่ต้องนำมาวิเคราะห์ หรือการตีความจากนักวิชาการสาขาอื่นๆ เช่น นักมานุษยวิทยา นักโบราณคดี นักภูมิศาสตร์ 

หลักฐานทางโบราณคดี เช่น ภาพเขียนสีถ้ำผาแดง หลุมศพ เครื่องปั้นดินเผา 

แหล่งที่อยู่อาศัย เจดีย์ สถูป พระพุทธรูป ใบเสมา

หลักฐานทางศิลปกรรม  เช่น สถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรม 

 หลักฐานทางด้านศิลปะ เช่น ภาพจิตรกรรมฝาผนัง ดนตรี นาฏศิลป์

 

หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร

จารึก

ตำนาน

พงศาวดาร

เอกสารปกครอง

บันทึกส่วนบุคคล

จดหมาย

ชีวประวัติ

หนังสือพิมพ์

นิตยสาร

วารสาร

กฎหมาย    ฯลฯ

หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร

หลักฐานทางโบราณคดี

กำแพงเมือง คูเมือง

คูเมือง วัด วัง โบสถ์ มัสยิด

ประเภทโบราณวัตถุ

เครื่องปั่นดินเผา ลูกปัด กำไล

หลักฐานทางศิลปกรรม

สถาปัตยกรรม

ประติมากรรม

จิตรกรรม

คำบอกเล่า    เป็นต้น

๓. หลักฐานที่กำหนดตามจุดมุ่งหมายของการผลิต

               ๓.๑ หลักฐานที่มนุษย์ตั้งใจสร้างขึ้น หมายถึงหลักฐานที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อใช้ในการดำรงชีวิต หรือตามความคิดความเชื่อของตน เช่น เครื่องมือ เครื่องใช้ สิ่งก่อสร้าง 

               ๓.๒ หลักฐานที่มิได้เป็นผลผลิตที่มนุษย์สร้างหรือตั้งใจสร้าง  หมายถึง หลักฐานสมัยก่อนประวัติศาสตร์ และสมัยประวัติศาสตร์  เช่น บรรดาซากสิ่งมีชีวิต สถานที่ซึ่งมนุษย์เคยอาศัยของมนุษย์

คุณค่าของหลักฐานทางโบราณคดีต่อการศึกษาประวัติศาสตร์

๑.  ใช้ตรวจสอบยืนยันหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ประเภทเอกสารให้ชัดเจนยิ่งขึ้น

๒. ใช้ศึกษาเรื่องราวการตั้งถิ่นฐาน และแหล่งที่อยู่อาศัยในอดีตจากการสำรวจแหล่งชุมชนโบราณ และซากสิ่งก่อสร้าง

๓. ใช้ศึกษาความเป็นมาของมนุษย์ การทำมาหากิน คติ ค่านิยม ความเชื่อศาสนา และลัทธิต่างๆของคนในสังคมนั้นๆ

๔. ใช้เป็นหลักฐานกำหนดอายุของแหล่งโบราณสถานที่มีลักษณะเฉพาะ

หมายเลขบันทึก: 695963เขียนเมื่อ 12 มกราคม 2022 14:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มกราคม 2022 14:18 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท