วัฒนธรรมการเรียนรู้ : เรื่องวันนี้ที่รอคอยนาน ๆ


ความพยายามเข้ามาบันทึกจนสำเร็จเนื่องจากเน็ตช้ามาหลายวันแล้ว

ยามเช้าวันใหม่กับสายฝนเพียงบางเบาทำให้เย็นกายเย็นใจดีมาถึงที่ทำงานเข้าไปสำนักงานเลขาสถาบันทักษิณคดีศึกษา...

ไปดูรังนกกระจอกของตนเอง...เห็นซองสีน้ำตาล  1  ซองขนาดกลาง  ดูลายมือที่เขียนก็รู้ว่าเป็นเพื่อนส่งมาจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่  239  ถนนห้วยแก้ว  อำเภอเมืองเชียงใหม่  เมื่อขึ้นเขามาถึงโต๊ะทำงานแล้วหยิบสิ่งนี้ออกมาดู...

มีข้อสังเกตว่า  ซองถูกเปิดก่อนแล้ว...คงเป็นเพราะความอยากรู้หรือช่วยเปิดให้ก่อน...ฮา ๆ เอิก ๆ ในซองเป็นหนังสือ 1  เล่ม  ชื่อ  ต้นไม้แห่งโพธิ  ( The  Tree  of  Enlightenment ) 

ผู้เขียน  : ปีเตอร์  เดลลา  สันตินา  ผู้แปล  :  สมหวัง  แก้วสุฟอง  พึ่งพิมพ์เดือน  ธันวาคม  2549  นี้เอง  ส่งมาเป็น ส.ค.ส.  2550

ได้รับเรียบร้อยแล้ว...

ขอบคุณในน้ำใจที่แสนดีที่ยังคงระลึกถึงกันอยู่เสมอ  ขอฝากสื่อทาง  net  มาบอกเพื่อนก็แล้วกัน...เพื่อนคนนี้   เรียน ป. เอก พร้อมกันที่  ต่างประเทศชื่อมหาวิทยาลัยคือ  Banaras  Hindu  University 

 เขาได้ช่วยเหลือ umi  ให้ขึ้นฝั่งก่อน...ยามเช้าที่หอพัก...umi...ทำข้าวต้มเสร็จแล้วก็มาแบ่งกันกินบ่อยครั้ง...เพราะห้องเราอยู่ติดกัน...ในห้องของเพื่อนคนนี้สิ่งที่มีคุณค่ามากที่สุดคือหนังสือ...

ด้วยความเคารพหนังสือแม้เผลอเหยียบก็ต้องยกมือขอโทษ...เพื่อนคนนี้เรียนเก่งมีความขยันเป็นเลิศ  มาทำงานเป็นอาจารย์  อยู่ ม. เชียงใหม่  ตั้งแต่  2543 ปัจจุบัน  และเพื่อนคนนี้ทราบว่ายังครองโสดอยู่  เขาชื่อ  อาจารย์  ดร.  สมหวัง  แก้วสุฟอง  ครับ... 
หมายเลขบันทึก: 69483เขียนเมื่อ 26 ธันวาคม 2006 14:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:51 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ถ้าไม่รบกวนเกินไป และถ้าอาจารย์มีเวลา กรุณาเล่าเรื่องราวของหนังสือให้ได้เรียนรู้ด้วยได้ไหมคะ

ขอบพระคุณค่ะ

ผมก็ถูกสอนให้ทำอย่างนั้นเหมือนกัน กราบไหว้หนังสือ (นึกถึงคนเขียน) ก่อนอ่าน วางหนังสือบนผ้านุ่ม ค่อยๆ เปิดอย่าให้ยับ อย่าข้ามหนังสือ ฯลฯ

สวัสดีปีใหม่ครับ  คุณ  จันทรรัตน์

เป็นเรื่องที่ชาวตะวันตกมองเห็นคุณค่าทางพุทธแล้วนำมาใช้ในการดำเนินชีวิต

ท่านเขียน  3  ภาค  ภาคแรกเป็นคำสอนพื้นฐานแห่งพระพุทธศาสนา

                ภาค 2  เป็นเรื่องเกี่ยวกับมหายาน

                ภาค  3  เป็นเรื่องเกี่ยวกับวัชรยาน

หนังสือเล่มนี้พิมพ์  1000  เล่ม...ไม่นานคงวางไว้ที่หอสมุด ม. เชียงใหม่นะครับ

ขอบคุณครับ

จาก...umi

 

สวัสดีครับ  คุณ นม.

เป็นความเคารพที่ลึกซึ้งนะครับ

ขอบคุณครับ

จาก...umi
  • ผมก็เป็นคนรักหนึ่งมีหนังสือที่สะสมอยู่กว่า 4 พันเล่ม รักและหวง คนบ่อยครั้งคนรอบข้างก็งอน ๆ อยู่บ่อยครั้ง
  • ในวัฒนธรรมก่อนเก่าถูกสอนให้ตระหนักว่าหนังสือเป็นเหมือนครู
  • แม้กระทั่งเวลาไปส่งการบ้านที่โต๊ะครู ถึงแม้ครูไม่นั่งอยู่ตรงนั้น ก็ยังต้องทำความเคารพเลยนะครับ
  • แต่อย่างว่า ยุคสมัยเปลี่ยนไป หลายอย่างอยู่ในความทรงจำอันดีงาม
  • ซึ่งก็ยังมีพลังที่จะบอกเล่าทายท้ากระแสบริโภคนิยม

สวัสดีครับ  คุณแผ่นดิน

มาแบบมีพลังมากนะครับ...ขอชื่นชม...อายุท่านน่าจะเลยเลข 5  ไปแล้วนะครับ อา ๆ เอิก ๆ...

ผมเคยอ่านประวัติพระเกจิอาจารย์ดัง  ทางภาคเหนือ...นึกหน้าท่านออกแต่จำชื่อไม่ได้ตอนที่พิมพ์บันทึกนี้...หลวงพ่อท่านนี้...น่าจะอยู่ลำปาง...ชื่อเกษมมั๊ง...คือท่านเคารพตัวหนังสือแม้อยู่ในกระดาษหนังสือพิมพ์...ก็ไม่เหยียบย้ำทำลาย...ครับ

ขอบคุณครับที่มา ลปรร. เติมเต็มต่อยอด

ขอบคุณครับ

จาก...umi

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท