การประเมินการพูด


เธออยู่ในห้องที่มีขนาดเล็ก ที่โรงเรียนในชุมชน หรือมหาวิทยาลัย ตอนนี้มันใกล้จะสิ้นสุดภาคการศึกษาแล้ว และชั้นเรียนการพูดของเธอมีความสนุกตลอดปี พวกเด็กๆ ได้เรียนรู้เรื่องคำศัพท์, ฝึกกิจกรรมตามบทบาท, เรียนรู้เรื่องยุทธวิธีการโต้ตอบกันโดยทั่วไป และฝึกปฏิบัติการพูดเรียบร้อยแล้ว ปัญหาที่ใหญ่ก็คือจะประเมินผลความก้าวหน้าของเด็กๆ ได้อย่างไร? เธออาจพูดหรืออาจไม่พูดก็ได้ มันจะดีหรือไม่ดีก็ได้ ข่าวที่ดีก็คือ: เธอสามารถให้เกรดที่เป็นปรนัยได้ในชั้นเรียนเรื่องการพูด จงใช้เกณฑ์ข้างล่าง เมื่อเธอประเมินทักษะการพูดของเด็กๆ และเธอสามารถให้ผลสะท้อนกลับ (feedback) แก่พวกเขา เพื่อการเรียนรู้ดทางภาษา และให้ผลการเรียนที่เหมาะสมและยุติธรรม

วิธีการประเมินทักษะการพูด

1. จงสร้างรูบริก (rubric)

ครูส่วนใหญ่คงคุ้นเคยกับการให้ผลการเรียนโดยการสร้างรูบริก รูบริกคือตารางที่มีเกณฑ์ย่อยๆ และระดับการให้ผลการเรียน หากเธอไม่เคยใช้รูบริกมาก่อน จริงๆแล้วก็เป็ฯสิ่งที่ง่ายๆ  เพียงแค่เลือกเกณฑ์ที่เธอจะใช้วัดนักเรียน และสร้างเกณฑ์ที่อยู่ทางซ้ายมือไปตามลำดับ ต่อมาก็สร้างคอลัมน์ที่อยู่ในทางขวาง เธอควรให้มีแค่ระดับ 4 เพราะเป็นสิ่งที่ง่ายสำหรับคุณหากเป็นคนมือใหม่ คอลัมน์จะแสดงถึงความสามารถของนักเรียน (potential skill)                 สำหรับเกณฑ์ จงคิดถึงระดับที่นักเรียนสามารถทำได้ตั้งแต่ 1-4 เช่นเริ่มจาก มีทักษะในการพูดสูง, มีทักษะในการพูด, เพียงแค่พอพูดได้, และไม่มีทักษะการพูดเลย ยิ่งคุณสร้างรูบริกได้ละเอียดเท่าใด ก็ยิ่งทำให้การพรรณนาละเอียดขึ้นเท่านั้น ต่อมา เมื่อเธอประเมินนักเรียนแต่ละคน ต้องตัดสินใจว่าระดับที่นักเรียนมีอยู่คืออะไร จงสร้างค่าเฉลี่ยกลางสำหรับเกณฑ์แต่ละอัน และเธอสามารถมีเกรดที่เป็นปรนัยพร้อมกับคำแนะนำให้นักเรียนได้พัฒนา 

2. การออกเสียง

การออกเสียงเป็นคุณภาพพื้นฐานในภาษาอังกฤษ  ถึงแม้ว่าผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ 2 จะออกเสียงได้ไม่เหมือนเจ้าของภาษา แต่การออกเสียงที่ไม่ดีย่อมทำให้สื่อสารได้ไม่ชัด และทำให้ไม่สามารถจะสื่อสิ่งที่ออกมาได้ เมื่อต้องประเมินการออกเสียง จงฟังคำศัพท์ที่ชัดเจนไม่ใช่ออกเสียงผิด (articulated words), การออกเสียงของคำที่สะกดแปลกๆอย่างเหมาะสม (unusual spelling), การกลายเสียง (assimilation), และการย่อในที่สมควรจะย่อ นอกจากนี้จงฟังท่วงทำนอง (intonation)  นักเรียนออกเสียงถูกตามประโยคทั้ง 4 ประโยคหรือไม่? พวกเด็ก ๆ ได้รู้ถึงความแตกต่างระหว่างคำถามกับประโยคบอกเล่าหรือไม่? จงฟังการออกเสียงเหล่านี้ และตัดสินใจว่าพวกเด็ก ๆ อยู่ในระดับใด

3. คำศัพท์ 

หลังจากที่ฟังการออกเสียงแล้ว ให้ดูที่คำศัพท์ การเข้าใจคำศัพท์ และการผลิตคำศัพท์เป็นสองสิ่งที่คนใช้ภาษาที่ 1 และคนใช้ภาษาเพื่อการอื่นๆจำเป็นต้องรู้และผลิต ในฐานะครู ควรกระตุ้นทั้งการเข้าใจคำศัพท์และการผลิต ด้วยเหตุผลนี้ เมื่อประเมินเด็กๆ ควรฟังระดับคำศัพท์ที่เด็กๆได้ผลิตและเข้าใจด้วย พวกเด็กๆได้ใช้คำศัพท์ที่เคยสอนไปแล้วหรือไม่? พวกเขาใช้คำศัพท์ที่เหมาะกับบริบทหรือไม่? จงฟังระดับคำศัพท์ที่เด็กๆได้ใช้แบบไม่เตรียมตัวมาก่อน และตัดสินว่าพวกเขาใช้คำศัพท์นั้นได้ดีขนาดไหน? 

4. ความถูกต้อง

สิ่งที่สำคัญที่สุดและคงอยู่ตลอดไปในการสอนวิชาภาษาอังกฤษคือไวยากรณ์ การเขียนอย่างถูกต้องในแบบทดสอบก็ไม่ใช่เรื่องเดียวกับความถูกต้องในการพูด เมื่อนักเรียนของเธอพูด จงฟังเพื่อดูว่าถูกต้องตามไวยากรณ์ และดูเครื่องมือที่เธอได้สอนพวกเด็กๆ พวกเขาสามารถใช้กาลเวลา (tense) ที่หลากหลายได้ถูกต้องหรือไม่? พวกเขามีการตกลงหรือไม่? (agreement) มีการเรียงลำดับคำที่ถูกต้องในประโยคหรือไม่? ทั้งหมดนี้ และประเด็นไวยากรณ์ที่มากกว่านี้ และผู้พูดที่มีประสิทธิภาพจะใช้ประเด็นไวยากรณ์เหล่านี้อย่างประสบผลสำเร็จ

5. การสื่อสาร

นักเรียนอาจประสบปัญหาเรื่องการออกเสียงและไวยากรณ์ แต่หากเธอใช้ภาษาได้อย่างสร้างสรรค์แล้วล่ะก็ สิ่งนี้ก็ไม่ใช่ปัญหา การประเมินการสื่อสารหมายความถึงการดูว่าเด็กๆใช้ภาษาได้สร้างสรรค์ขนาดไหน การใช้ภาษาได้สร้างสรรค์หมายถึงพูดได้ตรงประเด็นขนาดไหน นักเรียนที่มีระดับคำศัพท์และไวยากรณ์ในระดับต่ำ แต่สามารถทำให้เธอเข้าใจเขาได้ เทียบกับนักเรียนที่มีการใช้ภาษาในระดับสูง แต่ยังใช้บทสนทนาที่เตรียมมาอาจไม่แสดงความคิดของเขาได้แจ่มชัด  และมีปัญหาในการสื่อสาร  จงอย่าให้ความไม่คล่องทางภาษามาเป็นอุปสรรคในการให้พวกเขาแสดงออกซึ่งตัวตน  ยิ่งพวกเขาสามารถใช้ภาษาได้อย่างสร้างสรรค์  พวกเขาก็ยิ่งมีวิธีการที่มีลักษณะเฉพาะตนในการแสดงออกซึ่งตัวตนมากขึ้น  และทักษะการสื่อสารจะดีขึ้นเท่านั้น

5. ท่วงทำนอง

การพูดถึงสิ่งที่มีอยู่ในใจเป็นเรื่องหนึ่ง แต่การพูดเพื่อการติดต่อสื่อสารเป็นอีกเรื่องหนึ่ง  จงถามคำถามกับนักเรียน  สังเกตวิธีการที่พวกเขาคุยซึ่งกันและกัน  พวกเขาสามารถเข้าใจกันเองและตอบคำถามกันได้หรือไม่?  พวกเขาสามารถตอบคำถาม เมื่อเธอถามได้หรือไม่? พวกเขาสามารถให้การโต้ตอบที่ถูกต้องตามบทสนทนาได้หรือไม่? ทั้งหมดนี้เป็นองค์ประกอบของการโต้ตอบ และจำเป็นสำหรับการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพและชัดเจน นักเรียนที่มีทักษะการโต้ตอบที่มีประสิทธิภาพจะสามารถตอบคำถาม และเข้าใจบทสนทนารอบๆตัวเขา ทักษะการออกเสียงจะไม่เกิดขึ้นกับคนที่ไม่เข้าใจสิ่งที่คนอื่นๆพูดถึง และตอบอย่างไม่เหมาะสม  จงกระตุ้นให้พวกเขาฟัง ตอนที่คนอื่นๆกำลังพูด และมีการโต้ตอบที่เหมาะสมกับคนอื่นๆในบทสนทนา

6. ความคล่องแคล่ว

ความคล่องแคล่วเป็นสิ่งที่ง่ายที่สุดในการประเมินทักษะการพูดของผู้เรียน เด็กๆพูดอย่างสะดวกสบายขนาดไหน? พวกเขานึกคำขึ้นมาได้ง่ายขนาดไหน? มีการหยุดหรือเว้นตอนพูดบ้างหรือไม่? หากมี ก็แสดงว่านักเรียนของเธอมีปัญหาเรื่องความคล่องแคล่ว  ความคล่องแคล่วแตกต่างทักษะการพูดอันอื่นๆ  เธออาจมีทักษะไวยากรณ์ที่ดี แต่มีปัญหาเรื่องความคล่องแคล่ว เธอต้องการให้นักเรียนมีความคล่องแคล่วเมื่อพูดกับคุณ หรือคนที่ใช้ภาษาอังกฤษอื่นๆ  ความคล่องแคล่วเป็นการประเมินความง่ายในการสื่อสาร  และเป็นเกณฑ์เมื่อวัดทักษะการพูด

เกณฑ์เหล่านี้คือการออกเสียง, คำศัพท์, ความถูกต้อง, การสื่อสาร, การโต้ตอบ, และความคล่องแคล่ว ใช้เป็นมาตรฐานในการวัดทักษะการพูด

นักเรียนสามารถเยี่ยมยอดในบางสิ่ง และอาจแย่ในบางสิ่ง จงให้เด็กๆ คุ้นเคยกับลักษณะของการพูดที่มีประสิทธิภาพ ให้นักเรียนของคุณรู้ว่าเธอจะฟังและตัดสินใจเกณฑ์เหล่านี้ และพยายามปรับปรุงการพูดของพวกเขา  นอกจากนี้ยังต้องฟังสิ่งที่นักเรียนคุยกับคุณ และเมื่อพวกเขาคุยกันเอง ในอนาคตพวกเขายังอาจพูดกับคนที่ไม่ใช่เจ้าของภาษา สุดท้ายแล้ว จงจำไว้ว่าทักษะการพูดมิใช่วัดกันตอนปลายภาคเรียน แต่จงฟังการพูดของนักเรียนตลอดปี จงจดไว้ว่าพวกเขาพัฒนาแค่ไหนในการพูด กระตุ้นให้พวกเขาเป็นทั้งคนฟังและคนพูด และในท้ายที่สุด เธอย่อมได้รับผลเลิศจากการสอนด้วย

แปลและเรียบเรียงจาก

Susan Verner. How to Evaluate Speaking

https://busyteacher.org/4836-how-to-evaluate-speaking.html

หมายเลขบันทึก: 694111เขียนเมื่อ 14 ธันวาคม 2021 12:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 ธันวาคม 2021 12:56 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท