วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช

การเป็นเลขานุการมืออาชีพ และการคำนวณหาต้นทุนต่อหน่วยการผลิต


การจัดการความรู้

การเป็นเลขานุการอย่างมืออาชีพ 

จรรยาบรรณการเป็นเลขานุการที่ดี
1. การรักษาความลับได้ดี
2. มีความรับผิดชอบ
3. ซื่อสัตย์ สุจริต ดำรงไว้ซึ่งมโนธรรม บนหลักความถูกต้อง
4. ปฏิบัติตามกฎ/ระเบียบของหน่วยงานอย่างเคร่งครัด
5. ติดตาม ปรับปรุง เรียนรู้ ความก้าวหน้าสิ่งใหม่ๆ
6. มีพฤติกรรมที่ดี ไม่เสียภาพพจน์ของหน่วยงาน
7. มีการติดต่อสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ และคำนึงถึงความต้องการของผู้บังคับบัญชา
ประเด็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
1. การประชุม
    ก่อนการประชุม
     1) ต้องทราบวัตถุประสงค์ ได้แก่ วาระการประชุมมีเรื่องอะไรบ้าง มีกำหนด วันเวลา สถานที่ชัดเจน จำนวนผูเข้าประชุม
     2) จัดลำดับความสำคัญของวาระการประชุม เช่น วาระใดสำคัญควรนำเสนอก่อน หลัง ตามลำดับขั้นตอน
     3) ต้องมีความรอบรู้เกี่ยวกับระบบงานในหน่วยงาน
     4) ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของการประชุมอย่างเคร่งครัด (บทบาทหน้าที่และอำนาจหน้าที่ในการเป็นกรรมการการประชุม)
     5) มีความละเอียดรอบคอบ คล่องตัว และมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี
      6) จัดเตรียมเอกสารการประชุมให้ครบถ้วนเรียบร้อย
      7) จัดเตรียมสถานที่เหมาะสม
      8) จัดเตรียมที่นั่งสำหรับการประชุมให้เหมาะสม โดยมีป้ายชื่อวางตามโต๊ะให้ทราบว่าใครมาจากไหน เพื่อความคล่องตัวในการประชุม
      9) จัดเตรียมอาหารว่างและเครื่องดื่มให้เหมาะสมกับผู้เข้าประชุม
      10) จะต้องมีพื้นฐานความรู้ด้านศัพท์เฉพาะทางงานที่รับผิดชอบ
      มิ้ม: เตรียมเอกสารการประชุมให้กรรมการประชุม และรายงานการประชุมครั้งก่อน 
ส่งให้กรรมการอ่านก่อนประชุม ทางกลูเกิ้ลไดฟ์       
      วิทยากร:  ส่งภาพสวยงามเพื่อดึงดูดความสนใจกรรมการ อ่านเอกสารก่อนการประชุม เอกสารรายงานการประชุมครั้งก่อนและเอกสารที่เตรียมเข้าประชุม ส่งไฟล์ PDF ให้อาจารย์ดูทาง e mail   รายงานการประชุมจะเสร็จเรียบร้อยภายใน 1 วันหลังสิ้นสุดการระชุม โดยมีอาจารย์ตรวจสอบรายงานการประชุมก่อน

     ระหว่างการประชุม
     1. รู้บทบาทหน้าที่ของผู้เข้าประชุม ได้แก่ประธาน กรรมการ ผู้เข้าร่วมประชุม เลขานุการ ผู้ช่วยเลขานุการ ว่ามีหน้าที่อะไร
    2. ไปก่อนเวลาการประชุม เพื่อเตรียมความพร้อมในเรื่องสถานที่ อาหาร เอกสารการประชุม เบี้ยประชุม 
    3. เตรียมเอกสารประกอบด้วยเอกสารแนบ จัดเรียงวาระก่อนหน้าหลัง การประชุมให้เรียบร้อย
    4. เตรียมอุปกรณ์การประชุมให้พร้อม เช่น ปฏิทิน เครื่องคิดเลข โทรศัพท์ เครื่องบันทึกเสียง
    5. ถ้ามีผู้ช่วยเลขาฯหลายคน แบ่งหน้าที่ให้ชัดเจนว่าใครมีหน้าที่ใด
    6. ต้องคอยอำนวยความสะดวกให้ผู้เข้าประชุม
    7. เลขาต้องมีไหวพริบในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี
    8. สรุปมติที่ประชุมให้เสร็จสิ้นในการประชุมครั้งนั้น
   เทคนิคการจดบันทึก/จับประเด็น
    1. ขณะรับฟังให้มีสมาธิ ไม่พลาดในการจดบันทึกสำคัญ/ใจความสำคัญ วิทยากรใช้วิธีการฝึกสมาธิ ด้วยการสวดมนต์ก่อนนอน 5-10 นาที ช่วยให้ความจำดี
    2. อ่านวารสารที่เกี่ยวข้อง หรือติดตาม/สนใจข่าวสารเหตุการณ์ที่แจ้งสม่ำเสมอ เพื่อความเข้าใจ แลสามารถเชื่อมโยงเรื่องราวในการประชุมนั้น
    3. การสรุปประเด็น กระชับ สาระสำคัญครบถ้วน กรณีที่ประชุมสรุปใจความไม่ได้ ขอยึดวาระหรือเรื่องที่พิจารณาว่าเป็นเรื่องอะไร และสรุปให้ตรงวาระหรือหัวข้อนั้นๆ เพราะบางเรื่องไม่ใช่สาระสำคัญ
    หลังการประชุม
   1. ควรสรุปรายงานการประชุม หลังเสร็จสิ้นการประชุมให้เร็วที่สุด เพราะบางเรื่องจะต้องนำรายงานการประชุมไปใช้อ้างอิง ไม่ทิ้งเวลานานเนื่องจากอาจจะลืมประเด็น
   2. รายงานการประชุม แปลงจากภาษาพูดเป็นภาษาราชการ หลีกเลี่ยงการใช้ศัพท์หรือภาษาที่กำกวม เข้าใจยาก ใช้คำเชื่อมประโยคถูกต้อง เช่น ซึ่ง และ โดย 
   3.  ประเด็นต่างๆในการประชุมที่มีการพูดคุยหารือ/ข้อเสนอแนะ ในรูปแบบข้อมูล ตัวเลข สถิติ เปรียบเทียบใช้ กราฟ ตารางนำเสนอ สื่อสารได้เข้าใจง่ายและชัดเจน มากกว่าการจดบันทึกในลักษณะตัวหนังสือ
    4 . กรณีที่การประชุมมีการอภิปรายกันมากและประธานการประชุมไม่ได้สรุปเป็นมติไว้ในช่วงท้ายของวาระ ให้เลขาการประชุมติดตามให้มีการสรุป เพื่อให้เกิดความเข้าใจในทิศทางเดียวกัน และสามารถนำมาบันทึกเป็นมติไว้ในรายงานการประชุมได้ 

    ปัญหาที่พบในการประชุม
   1. ไม่ระบุที่ประชุม  เช่น รับทราบ มอบให้ใคร ดำเนินการเรื่องอะไร
   2. กรณีมีรายงานการประชุมหลายหน้า ให้ใส่เลขหน้าและพิมพ์คำต่อเนื่องของข้อความในหน้าต่อไปแล้วตามด้วยจุดสามจุด  ที่มุมล่างขวา  เช่น วัตถุประสงค์...
   3. ใช้ภาษาพูด ให้ปรับเป็นภาษาราชการ เช่น เทอม เป็น ภาคการศึกษา
   4. ปัญหาในการประชุม ดังนี้
       ก่อนการประชุม  ได้แก่ ขาดการวางแผน  ประสานงาน  ไม่เตรียมอุปกรณ์ให้พร้อม  ไม่มีวาระการประชุม  ผู้เข้าร่วมประชุมไม่เตรียมข้อมูล(แก้ปัญหา โดยขอข้ามวาระที่ยังไม่มีข้อมูลไปก่อน)
       ปัญหาระหว่างประชุม  มาประชุมสาย(โทรตาม) เวลาการประชุมไม่เหมาะสม อภิปรายนอกประเด็น หรือนำเรื่องอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องมาพูด  ประธานไม่สามารถเข้าประชุมได้  เสนอความคิดเห็นไม่เป็นระบบ(เลขาฯยกมือถามที่ประชุม ว่าที่เลขาฯสรุปแบบนี้ถูกต้องหรือไม่) ใช้เวลาการประชุมนาน(ขออนุญาตส่งเอกสารให้ผู้ประชุมอ่านก่อนดีไหมคะ เพื่อกระชับเวลาประชุม) 
       ปัญหาหลังการประชุม  ไม่จดบันทึกการประชุม จดบันทึกการประชุมไม่ตรงกับข้อเท็จจริง(ถ้าไม่แน่ใจ ให้สอบถามผู้ที่นำเสนอให้ตรวจสอบก่อน) 

2. การเขียนคำกล่าวรายงาน
    โครงสร้างคำกล่าวรายงาน
    1. ส่วนหัว
       1.1 กลางหน้ากระดาษคำว่า “คำกล่าวรายงาน”

  1. พิธีเปิด....................../ชื่อโครงการ...............
  2. วันที่......................
  3. สถานที่...............
  4. ส่วนขึ้นต้น
           เรียน/กราบเรียน/อื่นๆ.................
        3. ส่วนเนื้อหา
           3.1 ย่อหน้าที่ 1  ......รู้สึกยินดีที่ประธานให้เกียรติมาเปิดงาน  ชื่องาน.........

  3.2 ย่อหน้าที่ 2 เกริ่นที่มา/ความสำคัญของโครงการ/เหตุผลนโยบาย/วัตถุประสงค์ และข้อมูลอื่นๆที่จำเป็น เช่น รูปแบบการดำเนินงาน ฯลฯ 

  3.3 ย่อหน้าที่ 3 ใครเป็นวิทยากร/ได้รับความช่วยเหลือจากใครบ้าง/งบประมาณได้รับการสนับสนุนจากที่ใด/ขอบคุณผู้ให้การช่วยเหลือ

         4. ส่วนปิดท้าย
             บัดนี้/โอกาสนี้ ได้เวลาอันเป็น................ กระผม/ดิฉัน...ขอเรียนเชิญ...........เปิดโครงการ/งาน ณ บัดนี้ ขอเรียนเชิญ

การเขียนคำกล่าวเปิดงาน
    แบ่งเป็น 4 ส่วน ได้แก่
    1. ส่วนหัว
        1.1 กลางหน้ากระดาษมีคำว่า “คำกล่าวเปิดงาน”
        1.2 พิธีเปิด................./ชื่อโครงการ............
        1.3 วันที่.............
        1.4 สถานที่
   2. ส่วนขึ้นต้น
     เรืยน/กราบเรียน/อื่นๆ................
   3. ส่วนเนื้อหา
      3.1 ย่อหน้าที่ 1 .....รู้สึกเป็นเกียรติหรือยินดีที่ผู้จัดงานเชิญมาเป็นประธาน ชื่องาน...............
      3.2 ย่อหน้าที่ 2 กล่าวถึงความสำคัญ/ความจำเป็นที่ควรจัดงาน/กล่าวสนับสนุนการจัดงาน/ประโยชน์ที่ได้รับจากการจัดงาน
      3.3 ย่อหน้าที่ 4 กล่าวขอบคุณผู้จัด/ให้กำลังใจ/ขอบคุณวิทยากร/ขอบคุณที่อนุเคราะห์ช่วยเหลือจนงานสำเร็จ
     3.4 ย่อหน้าที่ 4 การคาดหวังให้นำไปใช้ประโยชน์/กล่าวอวยพร
   4. ส่วนปิดท้าย
      บัดนี้/โอกาสนี้ได้เวลาอันเป็น................ผม/ดิฉัน ขอเปิด...............ณ บัดนี้

  วพบ.เชียงใหม่ เจ้าหน้าที่ร่างคำกล่าวเอง ให้อาจารย์ตรวจสอบ

  
2. การเขียนข่าวประชาสัมพันธ์
  หลักการการเขียนข่าว เนื้อหา ประกอบด้วย  “ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร อย่างไร”
   ตัวอย่าง

 

   
 
ข่าวประชาสัมพันธ์ ประจำวันที่ ......................วิทยาลัย.................................นำโดย(ตำแหน่ง ตามด้วยชื่อผู้บริหาร)     เข้าร่วม/เป็นประธาน(ใส่ชื่อกิจกรรมหรืองานที่เข้าร่วม).....ณ (ระบุสถานที่)...ทั้งนี้ เพื่อ (ระบุวัตถุประสงค์การดำเนินงาน).........

 

 


 


  ตัวอย่าง
 

ข่าวประชาสัมพันธ์ประจำวันที่ 21 ตุลาคม 2564 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี เชียงใหม่ ประกอบพิธีอาเศียรวาทราชสดุดี สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เนื่องในวันพยาบาลแห่งชาติ ประจำปี 2564 นำโดยผู้อำนวยการวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี เชียงใหม่ ดร.อมาวสี อัมพันศิริรัตน์ พร้อมด้วยตัวแทนอาจารย์ เจ้าหน้าที่และนักศึกษาพยาบาล ณ ลานพระรูปสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี วพบ.เชียงใหม่ โดยวันที่ 21 ตุลาคม ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี จึงถือเอาวันนี้เป็นวันพยาบาล เพื่อเดพระเกียรติในฐานะที่พระองค์ท่าน ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อวิชาชีพการพยาบาลและให้ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล ตระหนักในภาระกิจของวิชาชีพว่าเป็นงานบริการสุขภาพที่มีความสำคัญและมีคุณค่าแก่สังคม

 

 


 

 

 

  ประเด็นการแลกเปลี่ยนเพิ่มเติม ดังนี้

  •  วิทยากร วพบ.ชม.: เจ้าหน้าเป็นผู้ทำข่าวประชาสัมพันธ์ 
    คุณชุลีพร วพบ.พุทธชินราช:  คุณชุลีพร เป็นผู้ทำข่าวประชาสัมพันธ์แบบ onepage 
    -  วิทยากร วพบ.ชม.:  มีไลน์กลุ่ม นักประชาสัมพันธ์ โดย จนท.แต่ละงานเป็นผู้ทำข่าว การเลือกรูปภาพ เทคนิคการถ่ายภาพ มุมกล้อง  เมื่อจนท.ทำข่าวแล้ว ผอ.จะให้คำแนะนำก่อน  
     - วิทยากร: การเขียนข่าวต้องกระชับ มีข้อมูลครบถ้วน หลักการ  “ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร อย่างไร”
    - กานต์:   เตรียมอ่านเอกสารก่อน  พิมพ์รายงานร่างล่วงหน้า ไม่ค่อยมีปัญหาอื่น เพราะอาจารย์จะช่วยดูคำศัพท์ต่างๆ ช่วยในการอ่านรายงาน
    - คุณชไมพร:  กรณีประชุมด่วน เตรียมเอกสารเฉพาะที่สำคัญ ให้กรรมการพิจารณา พิมพ์รายงานการประชุมระหว่าง 
    - วิทยากร รายงานการประชุมประจำเดือน  วพบ.ชม. ให้จนท.สำนักนักงานหมุนเวียนว่าครั้งละ 2 คน มี จนท.รุ่นพี่ 1 คน ช่วยเป็นพี่เลี้ยง  (วพบ.ชม. ประชุมประจำเดือน รวมอาจารย์และเจ้าหน้าที่ทุกคนเข้าประชุม)   
            การเตรียม น้องสังเกตการณ์ล่วงหน้า ปฐมนิเทศน้องล่วงหน้า ให้ตามวาระการประชุม โดยศึกษาข้อมูลล่วงหน้า ตามวาระการประชุม จากนั้นพี่ช่วยการให้คำแนะนำ   น้องได้ทักษะการประสานงาน ทักษะการใช้ภาษาทางราชการ วันจริงพี่อยู่ประกบ เพราะแรกๆจะตื่นเต้น พี่นั่งอยู่ช่วยให้คำแนะนำ เลขาประจำกลุ่มงานใหญ่แต่ละกลุ่มงาน 4 คน เป็นพี่เลี้ยง หมุนเวียนน้องเข้าเป็นเลขา 1 คู่ทำ 2 ครั้ง หมุนเวียนกัน 
             ศัพท์ที่ไม่เข้าใจ  จะศึกษาและถามอาจารย์ในงาน 
             เอกสาร เลือก ถ้าสำคัญให้แจ้งอาจารย์ทางไลน์ด้วย 
             งานอื่นๆ เจ้าหน้าที่ วพบ.เชียงใหม่ เจ้าหน้าที่ร่างโครงการต่างๆตามงานแผนให้อาจารย์ด้วย   
  • น้ำหนึ่ง: วพบ.พุทธ งานกิจการ ร่างโครงการให้อาจารย์เพิ่ม ส่วนความเป็นมา  การประเมิน เขียนให้มากที่สุดที่มีในแผนฯ งานอำนวยการร่างโครงการให้อาจารย์ ตรวจสอบให้   และสรุปโครงการให้อาจารย์ตรวจสอบ
            
             ปัจจัยความสำเร็จ
              ใจนำ  รับผิดชอบสูง เสียสละเวลา เนื่องจากบางครั้งการประชุมเลิกช้า ทักษะการใช้ภาษา มีความใส่ใจในงาน  ลงรายละเอียดในงานที่ได้รับมอบหมาย ดูแลสุขภาพตัวเองเพราะถ้าทำงานไม่ได้ก็กระทบกับคนอื่น 
              อย่ากลัวที่จะทำงานใหม่ บางทีงานใหม่จะเป็นงานที่เราชอบก็ได้  คิดว่าท้าทาย ฝึกฝนตัวเอง 
     

การวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยผลิต

1. งานที่เข้าร่วมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 

          1.1 แม่บ้านหอพัก จำนวน 5 คน 

          1.2 งานสนาม จำนวน 3 คน 

          1.3 แม่บ้านอาคารเรียน จำนวน 9 คน 

          1.4 งานแผนและยุทธศาสตร์ จำนวน 1 คน 

          1.5 งานพัสดุ จำนวน 4 คน 

          1.6 งานการเงิน จำนวน 3 คน 

2. ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน 

          2.1 แม่บ้านหอพัก: ระยะเวลาปฏิบัติงานต่ำสุด 2 ปี สูงสุด 10 กว่าปี 

          2.2 งานสนาม: ปฏิบัติงานมาแล้วมากกว่า 10 ปี 

          2.3 แม่บ้านอาคารเรียน: ระยะเวลาปฏิบัติงานต่ำสุด 2 ปี สูงสุด 30 กว่าปี

          2.4 งานแผนและยุทธศาสตร์: ปฏิบัติงานมาแล้วมากกว่า 5 ปี  

          2.5 งานพัสดุ: ปฏิบัติงานมาแล้วมากกว่า 10 ปี

          2.6 งานการเงิน: ระยะเวลาปฏิบัติงานต่ำสุด 1 ปี สูงสุด 20 กว่าปี

3. ผลงานสำเร็จที่สามารถชี้ชัดได้

          3.1 แม่บ้านหอพัก : หอพักสะอาด ผู้รับบริการพึงพอใจ 

          3.2 งานสนาม : ภูมิทัศน์รอบวิทยาลัยมีความสวยงาม และการทำน้ำหมักชีวภาพเพื่อลดต้นทุนการใช้ปุ๋ยเคมีในการบำรุงต้นไม้

          3.3 แม่บ้านอาคารเรียน : ห้องเรียนสะอาด พร้อมใช้ ผู้รับบริการพึงพอใจ ผู้ให้บริการมีความสุข 

          3.4 งานแผนและยุทธศาสตร์ ปฏิบัติงานมาแล้วมากกว่า 5 ปี 

          3.5 งานพัสดุ : ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างได้ตามแผน ดูแลวัสดุครุภัณฑ์ให้พร้อมใช้งาน

          3.6 งานการเงิน : ระบบการออกเช็ค

4. ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานที่ผ่านมา

4.1 แม่บ้านหอพัก 

     1) จากคน: งานเยอะแต่คนทำงานน้อย

     2) จากอุปกรณ์: ไม่เพียงพอและไม่มีคุณภาพ

     3) จากเวลา: ไม่มี

     4) จากภัยธรรมชาติ: ท่อระบายน้ำตัน เวลาฝนตกหนักน้ำระบายไม่ทัน เกิดน้ำท่วมขัง

     5) อื่น: นกพิราบ แมว และสุนัขจอนจัด

          4.2 งานสนาม 

     1) จากคน: บุคลากรไม่เพียงพอ มีอายุ มีปัญหาสุขภาพ

     2) จากอุปกรณ์: ไม่เพียงพอ เบิกจ่ายช้า

     3) จากเวลา: การขอใช้สถานที่กระชันชิด จัดเตรียมไม่ทัน 

     4) จากภัยธรรมชาติ: ฤดูฝนเป็นอุปสรรคของการตัดหญ้า

     5) อื่น: ไม่มี

          4.3 แม่บ้านอาคารเรียน 

     1) จากคน: ขาดการทำงานเป็นทีม และมนุษย์สัมพันธ์ไม่ค่อยดี 

     2) จากอุปกรณ์: อุปกรณ์ในการทำงานบางอย่างไม่ครบ

     3) จากเวลา: ไม่มี

     4) จากภัยธรรมชาติ: เวลาฝนตกมีน้ำสาด และน้ำรั่ว 

     5) อื่น: ภาระงานที่มากโดย 1 คน รับผิดชอบ 2 ชั้น และทุกวันต้องร่วมกันทำ Big cleaning 

          4.4 งานแผนและยุทธศาสตร์

     1) จากคน: ไม่ได้รับความร่วมมือในการส่งงานตามไตรมาส

     2) จากอุปกรณ์: หมึกเครื่อง Print หมดเร็วเกินไป 

     3) จากเวลา: มักมีงานด่วนแทรกเข้ามาย่อยครั้ง

     4) จากภัยธรรมชาติ: ไม่มี

     5) อื่น: ไม่มี

          4.5 งานพัสดุ 

     1) จากคน: ปัญหาจากการสื่อสาร ทำให้มีความเข้าใจไม่ตรงกัน 

     2) จากอุปกรณ์: วัสดุอุปกรณ์ที่อายุการใช้งานนานมาแล้วมีความชำรุด ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงาน

     3) จากเวลา: การขอจัดซื้อจัดจ้างอย่างเร่งด่วน นอกเหนือจากแผนส่งผลให้มีเวลาในการดำเนินการน้อย

     4) จากภัยธรรมชาติ: ไม่มี

     5) อื่น: ไม่มี

          4.6 งานการเงิน 

     1) จากคน: 

     2) จากอุปกรณ์: 

     3) จากเวลา: 

     4) จากภัยธรรมชาติ: 

     5) อื่น: 

5. แนวทางในการแก้ไขปัญหาเพื่อพัฒนางาน

5.1 แม่บ้านหอพัก: เพิ่มอุปกรณ์ในการทำงานให้เพียงพอ และติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันนก 

          5.2 งานสนาม: หากอุปกรณ์ชำรุด ก็จะดำเนินการซ่อมหรือแก้ไขให้ใช้งานให้ได้ก่อนในระหว่างดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง เวลามีงานเข้ามาหลาย ๆ งานจะบริการจัดการโดยการแบ่งทีมการทำงานตามงานที่ได้รับมอบหมาย

          5.3 แม่บ้านอาคารเรียน: บริหารจัดการงานให้เสร็จในเวลา และเสนอความต้องการใช้วัสดุไปที่งานพัสดุเพื่อจัดซื้ออุปกรณ์ที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน        5.4 งานแผนและยุทธศาสตร์: ดำเนินงานตามระบบและกลไกของงาน ปรับปรุงรูปแบบการทำงานร่วมกับผู้อื่น 

          5.5 งานพัสดุ: จัดทำแผนการจัดซื้อจัดจ้างที่ชัดเจน สำรวจความต้องการใช้วัสดุประจำปี จัดทำคู่มือการปฏิบัติงานของงานพัสดุให้ชัดเจน เพื่อให้ผู้ปฏิบัติสามารถปฏิบัติตามขั้นตอนได้อย่างถูกต้อง

          5.6 งานการเงิน: 

6. สิ่งมุ่งหวังจากงานที่รับผิดชอบ

6.1 แม่บ้านหอพัก: ผสมน้ำยาทำความสะอาดเพื่อลดต้นทุนให้กับหน่วยงาน และการคัดแยกขยะ 

          6.2 งานสนาม: ลดค่าใช้จ่าย-เพิ่มรายได้ โดยการทำปุ๋ยและน้ำหมักชีวภาพ

6.3 แม่บ้านอาคารเรียน: ดูแลรักษาอุปกรณ์ในการทำงาน ช่วยกันประหยัด เช่น น้ำยาถูพื้น ประหยัดน้ำ-ไฟ ปิดเมื่อไม่ใช้ 

          6.4 งานแผนและยุทธศาสตร์: โครงการบรรลุวัตถุประสงค์และตัวชี้วัดทุกตัว

          6.5 งานพัสดุ: ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างเป็นไปตามแผนตามระยะเวลาที่กำหนด 

          6.6 งานการเงิน: ระยะเวลาปฏิบัติงานต่ำสุด 1 ปี สูงสุด 20 กว่าปี

7. คำแนะนำจากวิทยากรเพื่อการพัฒนางาน                                                             

7.1 แม่บ้านหอพัก/แม่บ้านอาคารเรียน:

     - ควรมีการอบรมการทำน้ำยาทำความสะอาดให้กับแม่บ้านเพื่อลดต้นทุน

     - แม่บ้านแต่ละคนควรมีบัญชีสต๊อกของใช้ส่วนตัวเพื่อให้สามารถตรวจสอบการเบิกจ่ายและการใช้วัสดุในการทำความสะอาดได้

     - ควรทำระบบ checklist การทำความสะอาดตามชุดต่าง ๆ เพื่อยืนยันการทำความสะอาด

          7.2 งานสนาม: จัดทำบัญชีรายจ่าย-รายรับการทำปุ๋ยและน้ำหมักชีวภาพเพื่อให้เห็นการลดต้นทุนที่ชัดเจน

          7.3 งานพัสดุ: ประเมินความคุ้มค่าคุ้มทุนของหุ่นการพยาบาลในห้องปฏิบัติการพยาบาล

          7.4 งานการเงิน: จัดทำคู่มือการปฏิบัติงานการเงินที่ผู้อ่านสามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติงานได้ง่าย ๆ ลดข้อผิดพลาดในการทำงานของผู้ปฏิบัติ

 

 

หมายเลขบันทึก: 694103เขียนเมื่อ 14 ธันวาคม 2021 07:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 ธันวาคม 2021 07:24 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ชื่นชมความเป็นมืออาชีพที่ทำให้เกิดผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมนะคะ

สิรารักษ์ เจริญศรีเมือง

การทำงานต้องมีกระบวนการที่ชัดเจนเเละถูกต้องนำไปสู่มืออาชีพ

จากการบรรยายของวิทยากร เรื่อง การเป็นเลขานุการอย่างมืออาชีพ น้องโอ่และน้องนัน ในงานวิจัยสามารถทำงานได้อย่างดีเป็นพิธีกร เตรียมงานการเป็นเลขา การทำงานในทีมได้ดีมีประสิทธิภาพ ยอดเยี่ยมถือว่า Outcomes ดีมากเลยจากการฟังแล้วนำไปสู่การปฏิบัติได้จริงคะ สุดยอด

ได้ความรู้ที่ทำให้การทำงานมีประสืทธิภาพค่ะ การเป็นเลขาเป็นบทบาทหน้าที่เราต้องได้เป็นค่ะ (เป็นทางการและไม่ป็นทางการ) เป็นส่วนหนึ่งในงานของเราค่ะ

ได้ความรู้และได้แนวทางสามารถนำไปปรับใช้และให้คำแนะนำแก่จนท.หรือน้องๆในฝ่ายได้

อธิบายการเป็นเลขาได้ละเอียดทุกขั้นตอนดีคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท