การเร่งรัดหนี้สมาชิกสหกรณ์การเกษตร


ปล่อยเงินกู้ แต่ไม่ให้ทวงหนี้

แล้วจะให้ทำอะไร

...............................

มีคำแนะนำว่า ห้ามทวงหนี้ในที่ประชุมกลุ่ม

ผมเป็นเจ้าเจ้าหน้าที่สินเชื่อ สหกรณ์การเกษตร

ควรจะพูดกับสมาชิกอย่างไรดี

เพราะหนี้ค้างเริ่มมากขึ้นทุกที

ขอคำแนะนำจากอาจารย์ด้วยครับ

.......

น่าเห็นใจครับหนี้ค้างเป็นปัญหาไม้เบื่อ

ไม้เมาของสหกรณ์การเกษตรแทบทุกสหกรณ์

ใกล้สิ้นปีบัญชีทีหนึ่งก็ต้องวิ่งกันผล่าน

เพื่อเร่งรัดหนี้ ไม่ได้เล่ห์ก็ต้องเอาด้วยกล

ไม่ได้ตามวิธิทางศาสตร์วิชาและกฎหมาย

ผมเห็นบางสหกรณ์ก็ใช้ไสยศาสตร์

บนบานสานกล่าวกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์

รวมถึงบรรดาเจ้าพ่อเจ้าแม่ ทวดต่าง ๆ

ที่ตนคิดว่าบนได้ไหว้รับ พอถึงวันปิดบัญชี

ถ้าไม่ได้ตามแผนก็กินไม่ได้นอนไม่หลับ

ยิ่งเจอกฎเหล็กที่เพิ่มขึ้นเรื่องการตั้ง

ค่าเผื่อหนี้สูญ ทั้งเจ้าหน้าที่และกรรมการ

หลายคนเครียดจนเส้นเลือดในสมอง

ทำงานไม่ปกติก็มี ต้องรอลุ้นกันจนวินาทีสุดท้าย

ถ้าได้ตามเป้าที่บนบานสานกล่าว

ก็จะไปก็บนกันสนุกสนาน ไม่ได้ก็เศร้า

กันตาม ๆ ไป

เมื่อมีข้อห้ามทวงหนี้ต่อหน้าสาธารณะชน

ฝ่ายสินเชื่อที่ต้องรับผิดชอบการดำเนินการ

ด้านสินเชื่อ ก็จำเป็นต้องพูดคุยกับสมาชิก

จะปล่อยไว้โดยไม่พูดถึงเลยไม่ได้

จากประสบการณ์ที่ผมเคยทำในการประชุม

กลุ่มทุกครั้ง ในวาระการติดตามเร่งรัดหนี้

สิ่งแรกก่อนจะออกประชุมกลุ่ม

เราจะต้องเตรียมข้อมูลตัวเลข

ของแต่ละกลุ่ม ที่เก็บรายละเอียด

จากบัญชีแยกประเภทแยกเป็น

รายกลุ่ม เรียงตามลำดับกลุ่ม

ลงในสดมภ์ได้แก่

1.จำนวนเงินค่าหุ้น

2.เงินฝากทุกประเภทของกลุ่ม

3.จำนวนเงินกู้ทุกประเภท

4. เงินกู้พึงชำระ

5. ได้รับชำระจริง

6.ต้นเงินค้าง

7. ดอกเบี้ยค้าง

8. ค่าปรับ

9.คำนวณร้อยละข้อมูลของแต่ละกลุ่ม

เปรียบเทียบกับข้อมูลทั้งหมดทั้งสหกรณ์

เพื่อให้เห็นว่า กลุ่มไหน มีเงินฝาก มีหุ้น

มีหนี้ มีหนี้ค้าง มีดอกเบี้ยค้างและค่าปรับ

คิดเป็นร้อยละเท่าไหร่ของทั้งสหกรณ์

และแต่ละกลุ่มแต่ละรายการอยู่ในลำดับ

ที่เท่าไหร่

เมื่อเปรียบเทียบกับยอดรวมทั้งสหกรณ์

เสร็จแล้วพิมพ์แจกสมาชิกทุกคน

ที่มาประชุม

เจ้าหน้าที่สินเชื่อสหกรณ์ ต้องวิเคราะห์

สังเคราะห์ข้อมูลให้เรียบร้อยก่อนประชุม

เมื่อถึงวาระติดตามเร่งรัดหนี้

ก็สามารถพูดชี้แจงให้สมาชิกทราบ

โดยการเปรียบเทียบ ให้เห็นภาพ

ว่ากลุ่มที่กำลังประชุม มีหุ้น มีเงินฝาก

ทั้งหมดเท่าไหร และกู้เงินไปทั้งหมด

มากหรือน้อยกว่าเงินฝากบวกกับหุ้น

และมีต้นเงินค้างชำระรวมดอกเบี้ยและ

ค่าปรับเท่าไหร ถ้ากลุ่มนี้มีเงินกู้มากกว่า

เงินฝากรวมค่าหุ้น แสดงว่ากลุ่มนี้ได้กู้เอาเงิน

ออมของกลุ่มอื่นที่เขาออมมาใช้

สมาชิกในกลุ่มทุกคนจะต้องช่วยกันรับผิดชอบ

และจะมีวิธีการอย่างไร ให้สมาชิกในที่ประชุม

ช่วยกันแสดงความคิดเห็น หาแนวทางปฏิบัติ

ในการดำเนินการด้านเงินฝาก ถ้ามียอดเงินฝาก

หรือมีเงินค่าหุ้นต่ำจนเกินไป กลุ่มนี้ควรจะมี

กิจกรรมอะไรบ้างที่ต้องทำ

ส่วนเงินกู้ปกติ และเงินกู้ค้างชำระถ้ามี ก็ต้องช่วย

กันคิดหาหนทางว่ากลุ่มนี้ จะช่วยกันทำอย่างไร

ไม่ให้มีหนี้ค้าง แต่ละคนนอกจากจะต้องรับผิดชอบ

ต่อการชำระหนี้ของตนเองแล้ว ต้องช่วยกันคิดและ

ติดตามหนี้ที่เพื่อนสมาชิกค้างชำระ เพื่อช่วยกัน

สร้างชื่อเสียงให้กับกลุ่มและหมู่บ้านของเราทุกคน

เจ้าหน้าที่ผู้ประชุมต้องกระตุ้นให้สมาชิก

เสนอแนวทางการปฏิบัติออกมาเป็นประเด็น

เมื่อได้ข้อสรุปออกมาเป็นประเด็นที่ต้องทำแล้ว

เจ้าหน้าที่ก็ ต้องพูดถึงนโยบายและวิธีปฏิบัติ

ด้านสินเชื่อ แนะนำแนวทางที่สหกรณ์ และรัฐบาล

จะให้ความช่วยแก่สมาชิก ที่กำลังจะผิดนัดชำระหนี้

และสำหรับสมาชิกที่ผิดนัดไม่สามารถชำระหนี้ได้

และมีหนี้ค้าง ให้ที่ประชุมทราบ

บทสรุปสุดท้าย จะต้องให้ที่ประชุมลงมติว่า

สมาชิกทุกคนในกลุ่มจะร่วมมือกันปฏิบัติตาม

ข้อสรุปทุกประเด็นของกลุ่มในวันนี้

รวมถึงคำแนะนำและแนวทางการแก้ไขปัญหา

หนี้ของฝ่ายสินเชื่อด้วย และทางฝ่ายสินเชื่อ

จะร่วมมือกับประธานกลุ่มติดตาม รายงาน

ความก้าวหน้าในการปฏิบัติตามข้อตกลง

ให้ที่ประชุมทราบทุกเดือนในที่ประชุม

คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์

ลองทำดูสักปีนะครับ ส่วนผมเคยทำแล้วได้ผล

สหกรณ์ไม่มีหนี้ค้างติดต่อกันมาหลายปี

เลยทีเดียว

หมายเลขบันทึก: 693495เขียนเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2021 17:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2021 17:18 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท