การส่งเสริมสหกรณ์


สหกรณ์ไทยสงสัยต้องสอนกันใหม่

ได้ยินเสียงบ่นทั้ง ฝ่ายบุคลากรสหกรณ์

และฝ่ายเจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์

“ฉันยังเป็นเจ้าหน้าที่ส่งเสริมอยู่อีกไหมนี่”

“อ่านบทความอาจารย์แล้วผมต้องทบทวนตัวเองแล้วหละ”

“แล้วสหกรณ์ที่ทำอยู่ตอนนี้มันผิดตรงไหน”

“ทำงานสหกรณ์นี่อยู่ยากขึ้นทุกวัน”

“อ้างแต่ระเบียบ ๆ จนสหกรณ์กระดิกไม่ได้แล้ว”

.......

ศัตรูตัวฉกาจของระบบสหกรณ์ไม่ใช่อื่นไกล

แท้จริงคือความคิดและทัศนคติของคนที่ทำสหกรณ์

เจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์ บางคนเริ่มงงกับตัวเอง

ว่าส่งเสริมแล้วทำไมสหกรณ์ไม่เข้าใจ

ทำไมสมาชิกไม่มีจิตสำนึกความเป็นเจ้าของ

และมีเจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์ของรัฐ

จำนวนมากที่เข้ากับเจ้าหน้าที่สหกรณ์ไม่ได้

ไม่สนิทใจ หรือถึงขั้นขัดแย้งกันรุนแรงก็มี

เจ้าหน้าที่สหกรณ์เองก็งง ว่าที่ทำอยู่ก็ดีแล้ว

จะมาเอาอะไรกันนักกันหนาวะพวกข้าราชการ

ส่งเสริมสหกรณ์

...

เมื่อมีไฟก็ต้องมีควัน เมื่อมีเหตุก็ต้องมีผล

มีคนสหกรณ์ทั้งสองฝ่าย จำนวนหลายคน

มักมาถามและปรึกษาว่าจะทำอย่างไรดี

ผมเองก็บอกว่าอย่าว่าแต่พวกคุณเลย

ผมเองก็มีคนเข้าใจผิดเยอะ

บางคนถึงกับอเปหิผมเลยก็มี

ที่ไปโพสต์และว่าเอาแรง ๆ

เพราะชุดความคิด สองฝ่ายต่างกัน

ถ้าจะหาคนผิดอย่ามาหาเลย

สุดท้ายก็โยนกันไปโยนกันมา

โทษมึงโทษกู ทั้ง ๆ ที่สองฝ่าย

ก็รักสหกรณ์ทั้งนั้น

..อ้าวแล้วมันเกิดอะไรขึ้นหละ

ผมจะให้พวกเราเห็นอะไรสักอย่างหนึ่ง

แต่จริง ๆ มีหลายอย่างครับ

ตอนนี้เอาหญ้า ปากคอกก่อน

ฝ่ายสหกรณ์เขาก็ถูก ส่วนฝ่ายเจ้าหน้าที่ส่งเสริม

ก็ถูกเหมือนกัน ต่างกันที่ทั้งของฝ่าย

รับนิยามมาไม่เหมือนกัน สหกรณ์ใช้

นิยามสหกรณ์ ตามกฎหมายที่บัญญัติว่า

สหกรณ์”หมายความว่า “คณะบุคคล

ซึ่งร่วมกันดำเนินกิจการ

เพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจ

และสังคมของสมาชิกสหกรณ์

ผู้มีสัญชาติไทย โดยช่วยตนเองและ

ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และ

ได้จดทะเบียนตามพระราชบัญญัตินี้”

เป็นนิยามความหมายที่แคบซึ่งทำได้ง่าย

พอได้รับจดทะเบียน ก็มีฐานะเป็นนิติบุคคล

องค์กรหนึ่ง ก็ดำเนินการทำธุรกิจทันที

เหมือนธุรกิจทั่วไป ต่างกันที่มีสมาชิก

เป็นลูกค้าและเป็นเจ้าของพร้อมกัน

ธุรกิจที่ทำนั้น ถ้าสนองผลประโยชน์

ของสมาชิก เป็นไปตามวัตถุประสงค์

ของกฎหมายและข้อบังคับแล้ว

ก็ถือว่าสหกรณ์ทำถูกต้อง

สหกรณ์ไทยส่วนใหญ่ก็จะเน้นที่ธุรกิจ

มากกว่าเน้นหลักการสหกรณ์

สหกรณ์จะส่งเสริมผลประโยชน์

คือ สร้างรายได้หลัก รายได้รองหรือเสริม

ทั้งที่เป็น active income และ passive income

มุ่งไปที่เงินกำไร บริโภคนิยม และวัตถุนิยม

เพื่อความมั่งคั่ง ร่ำรวยแล้วนำกำไรมาแบ่งปันกัน

ดูได้จากการปล่อยเงินกู้ ดอกเบี้ยจะสูง

ดอกเบี้ยเงินรับฝากก็สูง และ

ให้ความสำคัญกับเงินปันผลในอัตราที่สูงเช่นกัน

ไม่เน้นที่เงินเฉลี่ยคืน ส่วนใหญ่จะอยู่ในอัตราที่ต่ำ

ทั้งที่ควรจะเป็นตามหลักคิดของสหกรณ์

ที่มุ่งให้เงินเฉลี่ยคืนกลับตามส่วนที่สมาชิก

ได้มาอุดหนุนและใช้บริการ

จากการดำเนินการต่าง ๆ ของสหกรณ์

ส่วนการปันผลนั้น เป็นหลักคิดของระบบทุนนิยม

ก็พอจะพูดได้ว่า สหกรณ์ที่ทำอยู่ตามกฎหมาย

ส่วนใหญ่เป็นสหกรณ์ทุนนิยมประชาธิปไตย

ไม่ใช่สหกรณ์ตามสารัตถะแก่นแท้ที่เป็น

สังคมนิยมประชาธิปไตย ที่มุ่งลดความเหลื่อมล้ำ

..

มาดูทางฝ่ายเจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์

ส่วนใหญ่ถูกให้องค์ความรู้และนิยามมา

แบบสหกรณ์สังคมนิยม คือเน้นไปที่

นิยามสหกรณ์ ที่จะต้องดำเนินการวิสาหกิจ

ตามอุดมการณ์ ยึดมั่นในค่านิยม

หลักการ และวิธีการสหกรณ์

ซึ่งแตกต่างจากฝ่ายสหกรณ์ที่ยึดเอา

นิยามสหกรณ์ตามกฎหมายเน้นธุรกิจ

และกำไร

เวลาส่งเสริมสหกรณ์ก็จะมุ่งไปที่

สหกรณ์ต้องไม่แสวงหากำไร

พัฒนาคุณภาพชีวิตสมาชิกด้านจิตใจ

ค่านิยมและคุณธรรม มากกว่าทาง

ธุรกิจ บริโภคนิยมและวัตถุนิยม

เน้นการเฉลี่ยคืนแก่สมาชิกผู้ใช้บริการ

และอุดหนุนการดำเนินงาน ไม่ใช่

มุ่งปันผลสูงให้กับสมาชิกที่ถือหุ้นมาก

แต่ไม่อุดหนุนสหกรณ์ ไม่กู้ไม่ซื้อไม่ขาย

คอยรับเงินปันผลและดอกเบี้ยฝากเงิน

ในอัตราสูง โดยได้รับอานิสงค์จากการ

ใช้ชื่อสหกรณ์โดยไม่ต้องเสียภาษีให้รัฐ

ที่บอกว่าเจ้าหน้าที่ส่งเสริมเน้น

ตามอุดมการณ์ ค่านิยม หลักการ

และวิธีการมากกว่าทำธุรกิจเพื่อกำไร

มีหลักฐานอ้างอิงจากการใช้ภาษา

ของชาวสหกรณ์ให้เห็นอยู่ตามเอกสาร

ประวัติศาสตร์ความคิดสหกรณ์

เช่น คำว่ากำไร ชาวสหกรณ์จะไม่ใช้

แต่ไปใช้คำว่า เงินส่วนเกิน คำว่าธุรกิจ

เช่นธุรกิจสินเชื่อ ธุรกิจการค้าการขาย

ก็จะใช้คำว่า การดำเนินงานด้านสินเชื่อ

ด้านรวมซื้อรวมขาย และเรียกผู้ถือหุ้น

ในส่วนของเจ้าของสหกรณ์ว่า สมาชิก

ไม่เรียกลูกค้า เหมือนธุรกิจทั่วไป

...

เท่านี้ก็พอจะเห็นแล้วว่าทำไม

เจ้าหน้าทีส่งเสริมเจ้านวนมาก

ถึงบ่นว่าอยู่ยาก ทำงานลำบาก

สหกรณ์ไม่ยอมรับ

นี่คือปัญหาระหว่างฝ่ายส่งเสิรม

กับสหกรณ์ เพราะสหกรณ์ยึดนิยาม.

ตามกฎหมาย ปัญหาที่ตามมาคือ

สหกรณ์ทำธุรกิจไม่ต่างกับธุรกิจทั่วไป

สมาชิกไม่มีสำนึกการเป็นเจ้าของ

สหกรณ์อย่างแท้จริง คิดแต่เพียงว่า

ตนเป็นแค่เพียงลูกค้าที่มาใช้สิทธิ

กับสหกรณ์ และต้องปฏิบัติตาม

กฎ กติกา ข้อบังคับและระเบียบ

ก็พอแล้ว สำนึกความรับผิดชอบ

ต่อสหกรณ์จึงไม่เกิดขึ้น ถือว่า

เป็นหน้าที่ของกรรมการและ

เจ้าหน้าที่ฝ่ายจัดการสหกรณ์

จึงเกิดปัญหาหนี้ค้าง การฟ้องร้อง

ดำเนินคดีกับสมาชิก และ

ทำให้ผู้ผู้ค้ำประกันเดือดร้อน

การทำประกันหนี้ ประกันชีวิต

ฌาปนกิจสงเคราะห์และอื่น ๆ

ตามมามากมายเพื่อนำเงิน

เหล่านี้มารับผิดชอบหนี้

สุดท้ายก็มีหนี้เสียหนี้สูญ

ตลอดจนเป็นช่องว่างให้เกิดการทุจริต

ในสหกรณ์หลาย ๆ ด้าน

เริ่มจากความเสียหายเล็กน้อยและ

บานปลายเป็นการเสียหายระดับ

หมื่นล้านบาท

เป็นเหตุให้ฝ่ายส่งเสริมดูแลสหกรณ์

จำเป็นต้องออกกฎหมาย คำสั่ง

เพิ่มมากขึ้น เพื่อให้สหกรณ์อยู่ในกรอบ

ของระบบสหกรณ์ที่แท้จริง

....

ถึงเวลาหรือยังที่

สหกรณ์ไทยต้องสอนกันใหม่

สหกรณ์ควร หมายถึง

“องค์กรของคณะบุคคลซึ่งร่วมกันดำเนินกิจการ

ตามความสมัครใจเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจ

สังคมและวัฒนธรรมของสมาชิกสหกรณ์

ผู้มีสัญชาติไทย โดยช่วยตนเองและ

ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ตามอุดมการณ์

ค่านิยม หลักการ และวิธีการสหกรณ์

และได้จดทะเบียนตามพระราชบัญญัตินี้”

 

หมายเลขบันทึก: 693492เขียนเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2021 15:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2021 15:07 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท